สาวเป็นม่ายตอนอายุ 40 แต่สามารถเลี้ยงดูทั้ง 13 คนจนได้เป็น “ดอกเตอร์” ทุกคน
มีหลากหลายเรื่องราวที่มีการเล่าต่อกันมาให้ได้ฟัง ได้เห็น ได้เป็นแรงบันดาลใจ มีทั้งเรื่องราวที่ดีที่ให้เราทำตาม และมีทั้งเรื่องที่ไม่ดี ไว้เป็นบทเรียนให้ไม่ทำผิดพลาด วันนี้เราจึงมาเล่าเรื่องราวที่จะเป็นข้อคิดให้ได้ฟังกัน
ปี 1897 ที่เมือง Rugao จังหวัด Jiangsu มณฑล Nantong มีสตรีชื่อ Wang Shuzhen ถือกำเนิดขึ้นมา เธอจบชั้นมัธยมต้น ชอบเขียนบทความ กลอน เพลง ถือว่าเป็นสตรีที่มีความรู้ในสมัยนั้น
ตอนเธออายุ 19 ปี เธอแต่งานกับ Li Haomin ลูกชายของเศรษฐีในเมืองเดียวกัน นับจากนั้นก็ใช้ชีวิตดูแลสามีเลี้ยงดูลูก สมัยนั้นทุกบ้านมีความเชื่อว่าต้องมีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมืองเป็นเรื่องดี บ้านตระกูล Li ก็ไม่แตกต่าง Wang Shuzhen ก็เลยมีลูกสาว 8 คนลูกชาย 5 คน
รูปปั้นทองสัมฤทธิ์ของ Wang Shuzhen
Wang Shuzhen นับถือศาสนาพุทธมาตั้งแต่เด็กๆ และมีโอกาสได้ร่วมหล่อพระพุทธรูปของสองตระกูล ทำให้เป็นที่อิจฉาของคนทั่วไปมาก แต่ฟ้าก็ยังทดสอบคนเสมอ ปี 1948 ทั้งครอบครัวก็อพยามย้ายมาอยู่ไต้หวัน ปี 1949 Li Haomin ไปทำธุรกิจอีกเมืองหนึง แต่โชคร้ายโดนทำร้ายจนเสียชีวิต ตอนอายุประมาณ 50 ปี
Li Haomin สามี
เมื่อได้ยินข่าวร้าย ทั้งครอบครัวก็ตกใจ แต่ Wang Shuzhen ไม่ถอดใจ เธอบินตามไปตามหาสามี แต่หลังเรื่องราวจบสิ้นลง กลับกลายเป็นว่าสูญเสียทั้งคน และฐานะทางเศรษฐกิจก็แย่ลง
ตอนนั้นครอบครัวนี้เพิ่งมาถึงไต้หวันได้ไม่นาน แล้วสามียังมาจากไป บ้านก็เลยเหลือแต่แม่ม่ายกับลูกๆที่กำพร้าพ่อท่ามกลางบ้านเมืองที่แทบไม่รู้จักไร้ซึ่งญาติมิตร แต่ Wang Shuzhen ไม่ยอมแพ้ เธอกัดฟันเลี้ยงดูครอบครัวมาด้วยตัวเอง
ตอนนั้น Wang Shuzhen กับลูกๆ 13 คนอาศัยอยู่ในเขต Taoyuan ซึ่งถือเป็นเขตชนบทมากๆ แถมเด็กๆเรียนหนังสือในเมือง ทำให้ต้องเดินกว่า 10 กิโลไปเรียนทุกวัน แม้ว่าจะแทบไม่มีกินแล้ว แต่เธอก็ยังยืนที่จะส่งลูกไปเรียนทุกคน
ตอนแรกๆ ลูกๆ ที่ยังเล็กไม่รู้สึกถึงผลกระทบของการที่พ่อจากไป แต่ต่อมาก็เริ่มรู้ว่าที่บ้านลำบากลงเรื่อยๆ พวกเขาต้องเดินเท้าเปล่าไปโรงเรียน น้องๆต้องนั่งเบียดบนโต๊ะหนังสือกับพี่ๆ นอนเบียดบนเตียงเดียวกัน และใส่เสื้อผ้าด้วยกัน เวลาถึงวันหยุดก็ต้องไปขายหนังสือพิมพ์หาเงินมาช่วยครอบครัว
Wang Shuzhen ในวัยชรา
เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว Wang Shuzhen ต้องเปลี่ยนจากสถานะคุณนายน้อย มาเป็น “หญิงรับใช้” รับจ้างเลี้ยงเด็ก ซักผ้า ทำกับจ้าว สอนดนตรี ในบ้านเศรษฐี อะไรก็ตามที่ทำได้ เธอทำหมด
เธอเคยบอกกับลูกๆ ว่า “ต้องเป็นคนดี ทำอะไรต้องตั้งใจ ไม่ต้องพูดเยอะ ลงมือทำให้เยอะ” และเพราะความเป็นผู้ให้ ในความทรงจำของลูกๆ แม่เป็นคนประเภทที่ถึงจะยังไม่มีกินมื้อต่อไป แต่ถ้ามื้อนี้มีข้าวเหลือแล้วมีคนมาขอก็จะให้ คำพูดติดบากของเธอคือ เป็นคนต้องอดทน เข้มแข็ง มีน้ำใจ
ธอกัดฟัดเลี้ยงดูลูกๆ จนเติบโต และบอกเด็กๆ ว่า “ในอนาคตต้องเติบโตในหน้าที่การงาน” ซึ่งในจุดนี้ Wang Shuzhen เข้มงวดจนดูไม่มีเหตุผล Li Changyu ลูกชายคนหนึ่งของเธอจบโรงเรียนตำรวจ เป็นผู้ตรวจการที่หน้าที่การงานไม่เลว แต่เธอก็ยังบอกลูกว่า “เจ้าต้องเรียนต่อไป ปริญญาโทไม่พอ ต้องต่อเอกด้วย”
ถ่ายกับลูกชาย Li Changyu
เธอปรารถนาให้ลูกๆทุกคนเป็นยอดคน ไม่เพียงแค่โตขึ้นมา แต่ต้องโตมาแบบมีคุณภาพ ทำให้วันนี้ลูกๆทั้ง 13 คนก็เธอเป็นดอกเตอร์ ทุกคนกลายเป็นความมหัศจรรย์ของโลก
ลูกๆ ของเธอประกอบอาชีพหลากหลายสาขา : นักธุรกิจ, นักออกแบบ, วิศวกร, ศิลปิน, นักโฆษณา, พนักงานด้านหลักทรัพย์ , IT และอื่นๆ ดังนี้
Li Changquan (ชาย): บัณฑิตวิทยาลัยธุรกิจในเซี่ยงไฮ้, ทำธุรกิจ
Li Changduo (ชาย): จบการศึกษาจาก Taiwan Agricultural College, New York University เข้าร่วมในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
Li Changgang (ชาย): ที่ปรึกษาด้านการเกษตรของสหประชาชาติในแอฟริกา, วิศวกรด้านการอนุรักษ์น้ำในสหรัฐอเมริกา
Li Changyun (หญิง): จบการศึกษาจากโรงเรียนการเมืองกลางไต้หวัน, ทำงานในบริษัทเครื่องเขียนสหรัฐอเมริกา
Li Changlong (หญิง): จบการศึกษาจากเซี่ยงไฮ้, ทำงานออกแบบแฟชั่นในสหรัฐอเมริกา
Li Xiaofeng (หญิง): จบการศึกษาจากเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน, ปริญญาโท Edward University, ปริญญาเอก University of Pittsburgh สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นอาจารย์ที่ New York University ประเทศสหรัฐอเมริกา
Li Changni (หญิง): จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Soochow University ในไต้หวัน, จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก, ดำรงตำแหน่งรองประธานของ United States Berlin Securities, ประธาน บริษัท ปิโตรเคมีแห่งสหรัฐอเมริกา
Li Changxia (หญิง): จบการศึกษาจาก Touro University California นักออกแบบไอทีในบริษัทประกันภัยในสหรัฐอเมริกา
Li Changping (หญิง): จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Soochow University ในไต้หวัน, ผู้พิพากษาศาล
Li Changxin (ชาย): จบการศึกษาจาก University of Maryland, Ph.D. , รองคณบดีมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย
Li Changyu (ชาย): จบการศึกษาจาก New York University, Ph.D. , ผู้อำนวยการสถานีตำรวจรัฐ Connecticut ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติเป็นที่รู้จักในนาม “นักสืบ”
Li Changru (หญิง): จบการศึกษา National Defense Medical Center, พยาบาล
Li Changzhi (หญิง): จบการศึกษา Taiwan Institute of Journalism, Fashion Advertising Academy สหรัฐอเมริกา, ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบโฆษณาที่รู้จักกันดีในสหรัฐอเมริกา
ลูกสาว Li Xiaofeng ลูกชาย Li Changyu
ช่างเป็นผลงานที่น่าประทับใจ ซึ่งคุณแม่คนนึงภาคภูมิใจที่ทำได้ นอกจากการสั่งสอนที่เข้มงวดแล้ว รายละเอียดในชีวิต Wang Shuzhen ก็ให้ความสำคัญ ปกติเวลาอยู่ที่บ้าน เธอจะบังคับให้ลูกพูดสำเนียงของบ้านเกิด เพื่อให้พวกแกไม่ลืมถิ่นกำเนิดตัวเอง Wang Shuzhen ไม่ได้ไปอยู่สหรัฐอเมริกากับลูกๆตั้งแต่แรก เมื่อปี 1959 ตอนอายุได้ 62 ปีเธอถึงตัดสินใจไปอยู่ที่นู่น ที่น่าอัศจรรย์ก็คือ เธอที่ไม่เคยพูดภาษาอังกฤษเลย สามารถใช้เวลาอันสั้นเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองจนสอบผ่านเกณฑ์สามารถได้รับกรีนการ์ดได้ นี่คงเป็นการบอกย้ำอีกครั้งว่าเธอเป็นคนมุ่งมั่นและฉลาดแค่ไหน
จากลูกๆ 13 คนของเธอ มี 3 คนที่ได้รับรางวัล “Ten Outstanding Young Americans” เนื่องจากผลงานอันยอดเยี่ยมของเธอ ประธานาธิบดีคลินตัน และประธานาธิบดีบุช ได้เขียนจดหมายถึงเธอในวันแม่ว่าเธอเป็น “แม่ที่ยิ่งใหญ่”
Wang Shuzhen กับนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก
ตอนที่เธออายุครบ 100 ปี ประธานาธิบดีคลินตันพร้อมภรรยาของเขา และนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กเดินทางไปร่วมอวยพรวันเกิดเพื่อแสดงความยินดีกับผู้สูงอายุ ในงานวันเกิดลูกๆถามเธอว่าเธออยากได้อะไรเป็นของขวัญ “แม่อยากกลับไปสร้างโรงเรียนให้เด็กๆในเมืองจีน” ประโยคง่ายๆที่บอกว่าเธอรักประเทศแค่ไหน
วันที่ 6 เดือนมีนาคมปี 2003 Wang Shuzhen เสียชีวิตที่นิวยอร์ก ด้วยวัย 103 ปี งานถูกจัดอย่างยิ่งใหญ่ อาจจะเป็นเพราะ Li Changyu ลูกชายคนนึงของเธอเป็นผู้มีชื่อเสียงจนได้รับสมญานามว่า “Sherlock Holmes ร่วมสมัย” ดังนั้นตำรวจสหรัฐจึงมาร่วมงานอย่างหนาแน่น
ในพิธีมีรถจักรยานยนตร์นำหน้าปิดถนน คนอเมริกันมากมายยืนเคารพสตรีสูงวัยชาวจีน แม้แต่ผู้จัดงานยังบอกว่า “พวกเราทำหน้าที่จัดงานมา 3 ชั่วอายุคน ไม่เคยจัดงานไหนใหญ่ขนาดนี้มาก่อน ชาวจีนโพ้นทะเลหลายๆคนต่างภูมิใจในชาติ”
สตรีที่ใช้ชีวิตใน 3 ศตวรรษ เป็นแม่ที่สมควรได้รับคำสรรเสริญ และเอาเป็นแบบอย่าง แม้ว่าเธอจะจากไปแล้ว แต่ตำนานของเธอยังอยู่
ขอบคุณข้อมูลจาก : liekr