กินมันเทศ ตามเวลา ลดพุง น้ำหนักได้ 3 กิโลกรัม ไม่กี่วัน
นักธรรมชาติบำบัดชื่อดังคนหนึ่ง ที่ชื่อว่าอาจารย์ สุธิวัสส์ คำภา ได้ออกมากล่าวว่า มันเทศมีประโยชน์ช่วยในเรื่องของการทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ โดยให้รับประทานในช่วงเวลา 09:00 น ถึง 11:00 น จะเป็นประโยชน์สูงสุด
และยังบอกอีกว่า มันเทศมีประโยชน์อย่างไร เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้ร่างกายของเราได้รับประโยชน์ในด้านใดบ้าง โดยมีดังต่อไปนี้
1 กินมันเทศ เวลา 9.00 – 11.00 น. จะทำให้อิ่มท้องโดยไม่เพิ่มเอว-สะโพก หลายคนคิดว่า “มันเทศ” เป็นอาหารประเภทแป้งยิ่งกินยิ่งเพิ่มน้ำหนัก ขอให้ลองอ่านบทความนี้ดูก่อน จะพบว่ามันเทศกลับกลายเป็นอาหารลดพุง น้ำหนัก ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก
2 มันเทศเป็นคอมเพล็กซ์คาร์โบไฮเดรต ซึ่งปล่อยพลังงานช้า มีกากใยมาก ทำให้อิ่มท้องอยู่ได้นาน โดยไม่เพิ่มเอวหรือสะโพก ทำให้ตับอ่อนแข็งแรงเป็นแหล่งวิตามินบี 6 ช่วยบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน ช่วยให้ร่างกายผลิตพลังงานจากอาหารได้มากขึ้น และเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการลดพุง
3 มันเทศมีวิตามินบี วิตามินบีส่งผลโดยตรงกับการลดหน้าท้อง และยังมี วิตามินซี ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสวยงาม และทำให้ร่างกายแข็งแรง นอกจากนี้มันเทศยังมีวิตามินเอสูง ช่วยในเรื่องการมองเห็นได้เป็นอย่างดี มีสารอาหารทรงคุณค่าที่ทำให้ตับอ่อนแข็งแรง มีสารต้าน อนุมูลอิสระ มีวิตามินบี 5 วิตามินบี 6
4 มันเทศมีเส้นใยอาหาร หรือไฟเบอร์ ในปริมาณสูงมาก ทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว จึงเหมาะมากกับการใช้เป็นอาหารลดปริมาณน้ำหนัก นอกจากนี้มันเทศยังมีโพแทสเซียม คอปเปอร์ แมงกานีส สารอาหารที่ป้องกันโรคมากมาย รวมถึงมะ เร็ง
5 ในมันเทศ 100 กรัมจะได้แคลอรี่ประมาณ 90-93 แคลอรี่ (ปริมาณความต้องการพลังงานของมนุษย์วันละ 1,800 – 2,000 กิโลแคลอรี่) อีกทั้งคนส่วนใหญ่จะกินมันเทศได้ไม่มากนัก เพราะมันเทศมีคุณสมบัติไปฟูในท้องทำให้อิ่มเร็ว
ทางด้าน ดร. กิลเลียน แมคคีธ นักโภชนาการอาหาร นักเขียน และพิธีกร รายการ You are what you eat ได้จัดให้มันเทศนั้นเป็นอาหารที่สามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้มากที่ 3 กิโลกรัมภายในชั่วข้ามคืน
และมันเทศนั้นมีหลายสี มีสีเหลืองอ่อน สีเหลืองจัด สีเหลืองส้ม สีม่วง ทุกสีของมันเทศนั้นเป็นแหล่งรวมของวิตามินซี มีกากใยอาหารสูง มีสารอาหารสูง และมีข้อมูลพบว่า หัวมันเทศชนิดที่เป็นสีเหลือง จัดเป็นแหล่งเบต้าแคโรทีนชั้นเยี่ยม มีวิตามินเอสูงอีกด้วย
เรียบเรียงโดย : Postsod
ขอขอบคุณ : ดร. กิลเลียน แมคคีธ, อาจารย์ สุธิวัสส์ คำภา