แผลเน่า แผลเบาหวาน แผลกดทับ รักษาได้ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยไม่ต้องพึ่งหมอ!
แผลกดทับ หมายถึง ช่วงบริเวณเนื้อเยื่อ หรือเซลล์ที่มีการตาย เนื่องจากขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง จากการถูกกดทับเป็นเวลาอันนาน สำหรับส่วนที่พบแผลกดทับบ่อยนั้นคือ บริเวณเนื้อเยื่อหรือส่วนปุ่มกระดูก ที่พบส่วนมากคือบริเวณปุ่มกระดูกก้นกบ ตามตุ่ม และส้นเท้า อีกสิ่งหนึ่ง คือ ผู้ที่เป็นเบาหวาน ไทรอยด์ หรือมีการบวมซึ่งจะขัดขวางการไหลเวียนเลือด อาหารที่ไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ เมื่อสารอาหารและออกซิเจนน้อยลงก็จะเกิดส่วนที่เป็นแผลกดทับได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะโลหิตจางก็ควรระวัง สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับด้านโภชนาการไม่ดี วันนี้เลยขอแนะนำสูตรรักษา
สูตรยารักษาแผลเบาหวาน ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว ที่คนเป็นเบาหวานควรรู้!
- น้ำมันมะพร้าว 1000 ซีซี หรือ 1 ลิตร
- ไข่แดง 4-6 ฟอง (ถ้าได้ไข่เป็ดยิ่งดี เอาเฉพาะไข่แดงนะคะ ขนาดเบอร์ 0 ดูไข่ที่มีลักษณะกลมๆ ป้อมๆ จะมีน้ำมันเยอะ)
- ลูกหมากสดแก่ๆ 2 ลูก (ใช้เฉพาะเนื้อแดงๆ ข้างใน)
- สารส้มสตุ 1 หัวแม่โป้ง (วิธีสตุ คือ นำสารส้มมาทุบๆให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วใส่ตะหลิว ตั้งบนไฟ ให้สารส้มระเหยเป็นผงๆขุ่นๆ)
วิธีทำ
- ใช้ผ้าขาวบาง ปูบนชามแกง บ้านเรานี่แหละ
- เอาไข่แดงที่แยกเรียบร้อยแล้ว ใส่ลงบนผ้าขาวบาง แล้วตีให้เป็นเนื้อเดียวกันเบาๆ
- ทุบเนื้อหมาก ให้แตกๆ ใส่ลงไปในผ้าขาวบางที่มีไข่ตีแล้ว
- ใส่สารส้มสตุ ลงไป แล้วผูกผ้าขาวบางให้เรียบร้อย
- เอาน้ำมันมะพร้าวตั้งไฟอ่อนๆ
- เอาผ้าขาวบาง หย่อนลงไป
- รอจนน้ำมันมะพร้าวเดือดปุดๆ แล้วมีน้ำมันไข่แดงออกมา
- สังเกตว่าจะเริ่มมีฟอง ก็ใช้ได้
- น้ำมันยาที่ได้จะมีสีเหลืองๆ อมส้ม
- เอาน้ำมันที่ได้ กรอกใส่ขวดไว้เป็นยาใส่แผล
ซึ่งข้อดีของการใส่แผลด้วยยาจากน้ำมันมะพร้าวผสมไข่แดงนั้น คือ ไม่ต้องล้างและคว้านแผล แผลจะค่อยๆดูดน้ำมันยา เข้าไปหล่อเลี้ยงและฟื้นฟูแผล ตัวที่ประสานแผลคือหมาก สารส้มจะมีฤทธิ์ช่วยดูดหนอง ไข่แดงคือเลซิตินที่ทำให้เซลส์ประสาทงอกขึ้นมาและดึงออกซิเจนเข้าแผลได้มาก ยิ่งขึ้นแผลจะตื้นขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วไม่เป็นแผลเป็น
สำหรับพ่อแม่พี่น้อง ที่ต้องดูแลผู้ป่วยมีแผลเบาหวาน แต่ไม่มีกำลังทรัพย์ ไปปลูกถ่ายสเตมเซลส์ ก็ลองวิธีนี้ดู อาจารย์บอกว่า รักษาดีกว่าแผนปัจจุบัน ที่ต้องขูดแผล ล้างแผลทุกวัน อันนี้ล้างครั้งแรก แล้วหยอดยาได้ตลอด แผลจะค่อยๆ ตื้นขึ้นมา
เพิ่มเติมประโยชน์ของหมาก
- เมล็ดใช้เป็นยาถ่ายพยาธิในสัตว์ เช่น สุนัข ไก่ชน และแกะ ด้วยการนำผลแก่มาบดให้สัตว์กิน
- ใช้กำจัดหนอน ในเวลาที่วัวหรือควายเป็นแผลมีหนอน จะทำให้หนอนตายหมด
- ส่วนยอดอ่อนของลำต้นสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารจำพวกผักได้ ส่วนจั่นหมากหรือดอกหมากเมื่อยังอ่อนอยู่ก็ใช้รับประทานเป็นอาหารได้เช่นกัน
- ช่อดอกซึ่งมีกลิ่นหอมจะถูกนำมาใช้ในงานแต่งงานและงานศพ
- ใบหมากหรือทางหมาก (รวมกาบ) มีประโยชน์อย่างมากต่อความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวสวน เพราะชาวสวนจะใช้ก้านทางที่มีใบมาผูกห้อยตรงช่องทางเข้าออกของซึ่งเป็นที่จับถ่ายของชาวสวน เพราะช่วยบังตาได้เป็นอย่างดี และชาวสวนยังใช้ทางหมากแห้งนำมาทำเป็นเสวียนขนาดใหญ่สำหรับรองรับกระทะใบบัวขนาดใหญ่ในขณะที่กวนน้ำตาลองุ่นให้เป็นน้ำตาลปี๊บอีกด้วย
- กาบใบนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการทำภาชนะ เครื่องจักสาน หรือวัสดุห่อหุ้มสิ่งของได้ ปลอกมีด ในสมัยก่อนเด็ก ๆ จะนำมาทำเป็นของเล่น คือ รถลาก โดยให้เด็กคนหนึ่งนั่งลงบนกาบใบ มือจับไว้ที่โคนทาง แล้วให้เด็กอีกคนหนึ่งจับที่ปลายทางส่วนที่เหลือใบไว้ แล้ววิ่งลากไป นอกจากนี้ยังสามารถนำมาดัดหรือเจียนทำเป็นเนียนสำหรับขูดน้ำพริกที่สากและคดน้ำพริกจากครก ซึ่งคุณสมบัติที่ดีมากของเนียนก็คือ ความนิ่งของกาบหมากนั่นเอง และกาบหมากยังสามารถนำมาทำเป็นที่จับกระทะเคี่ยวตาล เวลายกขึ้นยกลงจากเตาตาลแทนการใช้ผ้าได้อีกด้วย
- กาบหมากยังสามารถนำมาใช้ทำพัดสำหรับพัดคลายร้อนในหน้าร้อนได้เป็นอย่างดี โดยนำกาบใบมาเจียนให้เป็นรูปวงกลมหรือรูปวงรี มีที่สำหรับมือจีบยื่นออกมา ซึ่งก่อนใช้จะต้องใช้ก้นของครกตำข้าวทับให้แบนเรียบเสียก่อน
- เนื้อในเมล็ดสามารถนำมาใช้ในการผลิตสีย้อมผ้าได้
- เปลือกผลสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้
- ลำต้นสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างได้ เช่น ใช้ทำสะพาน เฟอร์นิเจอร์ ทำเสาตอม่อ ฟากสับ แม่บันได ลูกบันได ส่วนโคนแก่ใช้ทำชั้นพะองเพื่อทอดทำสะพานข้ามกระโดง ท้องร่อง และเมื่อนำลำต้นมาทะลวงไส้ออก จะสามารถใช้เป็นท่อระบายน้ำได้ นอกจากนี้ยังใช้ทำไม้คานแบกของ ทำคร่าวสำหรับยึดฝาฟากสับ และยังใช้ต้นหมากนำมากั้นคันดินและทำเป็นตอม่อเพื่อป้องกันคันดินที่กั้นน้ำเข้าสวนพังได้อีกด้วย
- ปัจจุบันมีการปลูกต้นหมากไว้เป็นไม้ประดับทั่วไป เนื่องจากมีลำต้นและทรงพุ่มที่ดูสวยงาม
- ชาวไทยนิยมกินหมากร่วมกับพลูและปูนแดง โดยมากจะเอาใบพลูที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปมาทาด้วยปูนแดง แล้วใช้กินกับหมากที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เคี้ยวด้วยกัน ก็จะมีน้ำหมากสีแดง ซึ่งจะต้องบ้วนทิ้ง (การกินหมากจะทำให้ฟันดำและปากแดง เมื่อเคี้ยวติดต่อกันหลายปีฟันจะเปลี่ยนเป็นสีดำ) ในสมัยก่อนชาวไทยทั้งชายและหญิงตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยชราก็ล้วนแต่กินหมากกันทั้งสิ้น และการเคี้ยวหมากหลังการรับประทานอาหาร จะช่วยทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น ช่วยดับกลิ่นปาก แก้แมงกินฟัน ช่วยทำให้เหงือกแข็งแรง และช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย กระตุ้นการสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ทำให้มีการย่อยอาหารที่ดีขึ้น และยังช่วยเพิ่มความอยากอาหารได้อีกด้วย (แต่หมากบางต้นเมื่อนำมากินแล้วจะทำให้เกิดอาการวิงเวียน ใจสั่น และขับเหงื่อ เรียกว่า “หมากยัน”)
- ในยุโรปมีการใช้ผลหมากเป็นส่วนผสมของยาสีฟัน เพราะเชื่อว่าจะทำให้ฟันขาวขึ้นได้
- เมื่อการกินหมากกลายเป็นธรรมอย่างหนึ่ง จึงทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่วัฒนธรรมหมากอย่างจริงจัง นั่นก็คือ การใช้หมากเป็นเครื่องต้อนรับแขก (แต่ในปัจจุบันคนไทยกินหมากน้อยลงมาก), การนำมาใช้ในพิธีทางศาสนา (เช่น พิธีกรานกฐินเมื่อออกพรรษา), ใช้หมากในพิธีไหว้ครูและพิธีบายศรีสูขวัญ หรือนำมาจัดเป็นหมากพลูไว้เป็นชุดขายเพื่อนำไปเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ส่วนในต่างประเทศอย่างมาเลเซียจะมีประเพณีที่ว่า หากฝ่ายหญิงเคี้ยวหมากไปพร้อม ๆ กับฝ่าย นั่นแสดงว่าเธอยินดีที่จะเป็นคู่ครอง ส่วนคนจีนไหหลำจะเชื่อว่า เจ้าสาวที่จะมาไหว้ว่าที่แม่สามีจะต้องนำหมากพลูมากไหว้ ส่วนคนญวนจะมีประเพณีที่ว่าคู่บ่าวสาวจะต้องกินหมาก 120 คำให้หมด ถึงจะแต่งงานกันได้ ส่วนคนพม่านั้นถือว่า สาวใดยื่นหมากให้ฝ่ายชาย นั่นหมายถึงเธอกำลังทอดสะพานให้แก่ฝ่ายชาย เป็นต้น
- คุณค่าทางโภชนาการของผลหมากสุกที่ยังสดต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วยน้ำ 21-30 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 35-40 กรัม, ไขมัน 5-10 กรัม, ใยอาหาร 11-15 กรัม, โพลีฟีนอล 11-18 กรัม มีสารประกอบอัลคาลอยด์ 0.1-0.2%
- ในด้านการนำมาใช้ทางอุตสาหกรรม ผลหมากเมื่อนำมาสกัดจะได้ไขมัน เมือก ยาง และสาร Arecoline ซึ่งมีสารแทนนินสูง จึงสามารถนำมาใช้ในทางอุตสาหกรรมได้หลายชนิด เช่น การใช้ทำสีต่าง ๆ ใช้ย้อมแห อวน ทำให้แหหรืออวนนิ่มอ่อนตัว เส้นด้ายไม่เปื่อยเร็ว ช่วยยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น และยังใช้สกัดเป็นน้ำยาฟอกหนัง ทำให้หนังนิ่มมีสีสวย หรือใช้สกัดทำเป็นยารักษาโรค เช่น ยาขับพยาธิในสัตว์ ยาแก้ท้องเสีย ท้องเดิน ยาขับปัสสาวะ ยาสมานแผล ยาขับพิษ ยาทาแก้คัน น้ำมันนวด และยาแก้ปากเปื่อย เป็นต้น
- หมากเป็นพืชที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านความเป็นอยู่ของคนไทยในอดีต เพราะคนไทยนิยมกินหมากตั้งแต่เจ้านายถึงชาวบ้านคนธรรมดา แต่ในปัจจุบันคนนิยมกินหมากลดน้อยลงมาก หมากจึงมีบทบาทในแง่ทางอุตสาหกรรมมากกว่า เพราะมีการส่งออกเพื่อจำหน่ายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาทต่อปี หมากจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นพืชที่เพาะปลูกง่าย ดูแลรักษาไม่ยาก โรคและแมลงรบกวนน้อย การลงทุนไม่สูงนัก สามารถทำรายได้อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานานนับสิบปี
ขอขอบคุณสำหรับเนื้อหาจาก : วัดหนองรั้ว พระอธิการ นพดล กันตสีโล ,medthai
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หมาก (Mak)”. หน้า 328.
- หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หมาก Areca Plam, Betelnut Palm”. หน้า 41.
- หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หมาก”. หน้า 612.
- ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “หมาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [19 ก.ค. 2014].
- สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา. “หมาก (Betel Nuts)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.chachoengsao.doae.go.th. [19 ก.ค. 2014].
- การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 วันที่ 3-5 ก.พ. 2553. (ศานิต สวัสดิกาญจน์, สุวิทย์ เฑียรทอง, เนาวรัตน์ ประดับเพ็ชร์, สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์, วริสรา ปลื้มฤดี). “ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า”. หน้า 412-421.
- บ้านจอมยุทธ์. “หมาก ( areca palm ) Areca catechu L.”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.baanjomyut.com. [19 ก.ค. 2014].
- ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “หมาก แก้น้ำกัดมือเท้า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [19 ก.ค. 2014].
- ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “หมาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [19 ก.ค. 2014].
- จุฬาวิทยานุกรม. “ต้นหมาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.chulapedia.chula.ac.th. [19 ก.ค. 2014].
- ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช กรมวิชาการเกษตร. “หมาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: th.apoc12.com. [19 ก.ค. 2014].
- โครงการรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่ประชาชนทั่วไป, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. “หมาก”. อ้างอิงใน: หนังสือพฤกษาพัน (เอื้อมพรวีสมหมาย และคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.natres.psu.ac.th. [19 ก.ค. 2014].
- ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “หมาก แก้เบาหวานแผลหายเร็ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [19 ก.ค. 2014].
- รักบ้านเกิด. “การใช้หมากรักษาหูด”. อ้างอิงใน: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rakbankerd.com. [19 ก.ค. 2014].
- ผู้จัดการออนไลน์. (นายเกษตร). “หมากกับมะเร็งปาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [19 ก.ค. 2014].