ปวดร้อน!! กระเพาะอาหาร..เวลาหิวข้าว กระเพาะเป็นแผล ต้องรักษาด้วยกล้วยน้ำว้าดิบ

0

ปวดร้อน!! กระเพาะอาหาร..เวลาหิวข้าว กระเพาะเป็นแผล ต้องรักษาด้วยกล้วยน้ำว้าดิบ

กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ น้ำว้าแดง น้ำว้าขาว และน้ำว้าเหลือง คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้าทั้งผลสด ต้ม ปิ้ง และนำมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีกล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว สำหรับกล้วยตีบเหมาะที่จะรับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสฝาด

แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) คือ แผลที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุของกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น อาการที่พบได้บ่อยคือปวดท้อง มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร หรือการใช้ยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดเป็นเวลานาน เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน เป็นต้น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดอาจทำให้อาการแย่ลงได้ แผลในกระเพาะอาหารพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้

อันที่จริงแล้ว มีอีกหนทางในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารที่แสนง่าย ถูก และดี จะเรียกได้ว่าเป็นเรื่องกล้วยๆ ก็ว่าได้ เพราะงานนี้พระเอกก็คือผลไม้ใกล้ตัว คู่ครัวคนไทยมาตั้งแต่ไหนแต่ไรอย่าง “กล้วยน้ำว้า” นี่เอง

ด้วยภูมิปัญญาของปู่ย่าตายาย “กล้วยดิบ” ถูกนำมาใช้รักษาอาการแผลในกระเพาะอาหารมานานแล้ว และในปัจจุบันยังมีการค้นพบว่า ในกล้วยดิบมีสารสำคัญที่ให้รสฝาดและช่วยสมานแผลชื่อ “แทนนิน” ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่วยป้องกันผนังกระเพาะอาหารไม่ให้เชื้อโรคต่างๆ และรสที่เผ็ดร้อนเกินไปทำอันตรายกับผนังกระเพาะอาหารของเราได้

สารสำคัญอีกอย่างหนึ่งในกล้วยทุกชนิดคือ “เซโรโทนิน” ช่วยกระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างเยื่อเมือกตามธรรมชาติออกมาเคลือบแผล แต่จะไม่กระทบกับการหลั่งน้ำย่อย ซึ่งจะช่วยลดการระคายเคืองและอาการแสบร้อนท้องโดยที่ไม่ทำให้การย่อยลดประสิทธิภาพลง ในขณะที่ยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร โดยมากออกฤทธิ์เพียงเคลือบป้องกันแผล แต่กล้วยมีฤทธิ์ทั้งป้องกันและสมานแผลในกระเพาะอาหารควบคู่ไปด้วย

“กล้วย จึงเป็นยาสมานแผลกระเพาะอาหารที่มีคุณภาพดีและราคาถูก”

ที่ ดิ อโรคยา จึงแนะนำคนไข้ที่มีปัญหาแสบร้อนท้อง มีแผลในกระเพาะ ให้ทานกล้วยน้ำว้าดิบเพื่อรักษาแผล วิธีการทานนั้นก็ไม่ยากอย่างที่หลายท่านคิด

วิธีแรก แบบทานสด

1. เพียงแค่นำกล้วยน้ำว้าดิบมาปอกเปลือกออก หั่นเป็นแว่นบางๆ 2-3 แว่น

2. จุ่มน้ำผึ้งเคี้ยวทานก่อนมื้ออาหารทุกมื้อ ประมาณ 30 นาที การเคี้ยวก่อนกลืนจะช่วยให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น หากไม่ได้จุ่มน้ำผึ้งจะทำให้เวลาเคี้ยวติดฟัน

วิธีนี้ค่อนข้างเห็นผลได้เร็วไม่เกิน 1 เดือนแผลในกระเพาะอาหารก็จะหายได้สนิท

วิธีที่สอง แบบแปรรูป

หากใครไม่สะดวกในการเตรียมทุกมื้อ ก็สามารถนำกล้วยดิบมาแปรรูปให้เก็บไว้ทานได้ง่ายๆ ดังนี้

1. นำกล้วยน้ำว้าดิบมาล้างให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) แล้วหั่นเป็นแว่นบางๆ แผ่ในถาด ไม่ให้ชิ้นกล้วยซ้อนกัน

2. ตากลมหรือแดดสัก 3 แดด แต่ควรระวังไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป ตากจนกล้วยกรอบและแห้งสนิท

3. นำมาตำจนละเอียดเป็นผงแล้วเก็บใส่โหล เมื่อจะนำมาทานก็ใช้ผสมกับน้ำอุ่นๆ หรือน้ำผึ้งทานก็ยิ่งดี ก่อนอาหารทุกมื้อ 30 นาที ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีที่สาม แบบยาลูกกลอน

หากไม่สะดวกในการแปรรูปด้วยตนเอง เราก็ยังสามารถหาซื้อกล้วยดิบผงหรือแบบที่ปั้นเป็นลูกกลอน (แนะนำให้ทานแบบลูกกลอนเพราะจะออกฤทธิ์ในกระเพาะอาหารได้ง่าย) ตามร้านขายยายาสมุนไพรมาทานได้เช่นกัน ทานตามที่ฉลากยาแนะนำ ให้ได้ต่อเนื่อง 1-2 เดือน อาการแผลในกระเพาะก็จะหายไป ระบบย่อยจะกลับมาทำงานได้ดีอีกด้วย ที่สำคัญคือต้องไม่ลืมว่า นี่เป็นเพียงปลายทางในการรักษาอาการที่เกิดขึ้นแล้ว การรักษาโรคที่ถูกต้องที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมการกินอยู่ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของร่างกาย

ใครอยากจะโบกมือเซย์กู๊ดบายจากโรคกระเพาะอย่างจริงจัง ดิ อโรคยา ก็มีคำแนะนำเบื้องต้นดังนี้

1. ทานอาหารให้ตรงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมื้อเช้า ควรทานไม่เกิน 9:00 น. เพราะเป็นเวลาการทำงานของลมปราณกระเพาะอาหารตามนาฬิกาชีวิต น้ำย่อยจะหลั่งออกมาเต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงที่สุด ควรทานอาหารที่มีคุณภาพ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวแกง กับข้าวสดใหม่ ก๋วยเตี๋ยว เพราะอาหารเช้า คือขุมพลังในการทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดทั้งวัน

2. หากไม่จำเป็น ควรงดการทานอาหารมื้อดึกเกิน 3 ทุ่ม เพราะเป็นเวลาที่ระบบต่างๆ ในร่างกายต้องการพักผ่อน

3. ไม่รังแกระบบย่อยอาหารด้วยการดื่มน้ำในเวลาทานอาหารมากเกินไป การดื่มน้ำมากในมื้ออาหารจะทำให้น้ำย่อยเจือจาง การย่อยจะไม่มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดขยะตกค้างในลำไส้ได้มาก

4. ลดการทานอาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์เหนียวๆ ของทอด ของมัน เครื่องดื่มเย็นจัด หวานจัด เพื่อลดภาระของระบบย่อยอาหาร

ลองทำดูสัก 1 เดือน แล้วคุณจะยกมือขึ้นได้สุดแขน “มาช่วยกันทำให้คนป่วยน้อยลง”

เพิ่มเติมประโยชน์

1.กล้วยดิบ

เปลือกภายนอกสีเขียวเข้ม ช่วยแก้โรคกระเพาะได้ดีเนื่องจากมีสารแทนนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบรักษากระเพาะและลำไส้ป้องกันการติดเชื้อ และด้วยตัวกล้วยดิบเองซึ่งมีฤทธิ์ในการลดกรดในกระเพาะ จึงเป็นยาทางธรรมชาติที่รักษาโรคกระเพาะที่ดีกว่ายาแผนปัจจุบันทั่วไป กล้วยดิบไม่สามารถรับประทานสดๆได้ วิธีการจึงต้องนำกล้วยมาฝานเป็นแว่นๆแล้วอบด้วยความร้อนต่ำไม่เกิน 50 องศา จนแห้งแล้วนำมาบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา 3 ครั้งก่อนอาหาร โดยสามารถผสมกับน้ำผึ้งเพื่อให้รสชาติดีขึ้นง่ายต่อการรับประทาน

2.กล้วยห่าม

หรือกล้วยกึ่งดิบกึ่งสุก เปลือกภายนอกสีเหลืองแต่มีสีเขียวประปราย สามารถรับประทานได้สดๆ รสชาติไม่หวานจัดอาจติดรสฝาดเล็กน้อย กล้วยห่ามมีโพแทสเซียมสูง จึงให้ผลดีกับผู้มีอาการท้องเสียเนื่องจากผู้ป่วยจะสูญเสียโพแทสเซียมออกจากร่างกายมาก ซึ่งหากขาดมากอาจมีผลกระทบกับการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้กล้วยห่ามยังช่วยหล่อลื่นลำไส้ และเพิ่มกากใยในการขับถ่ายให้กับผู้ป่วย สารเซโรโทนินในกล้วยห่ามยังช่วยออกฤทธิ์ กระตุ้นให้ผนังกระเพาะอาหารสร้างเยื่อเมือกมากขึ้น ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

3.กล้วยสุก

สีเหลืองสด รสชาติอร่อยที่ปกติเราชอบรับประทานกัน ให้ผลตรงกันข้ามกับกล้วยห่าม เนื่องจากเป็นยาระบายอ่อนๆให้ผลดีกับคนที่มีอาการท้องผูก เพราะมีสารเพ็กตินอยู่มาก เพ็กตินเป็นเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ ช่วยเพิ่มกากใยในระบบทางเดินอาหารและที่สำคัญเป็นอาหารของแบ็คทีเรียในลำไส้ หรือ prebiotic ตามธรรมชาติ จึงช่วยในการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกมากๆต้องรับประทานวันละ 5-6 ลูกเพื่อให้ได้ผลดี

4.กล้วยงอม

กล้วยสุกจัดผิวคล้ำไม่สดสวย ที่หลายๆคนไม่ชอบรับประทาน แต่กลับให้ผลดีอย่างมากมายในการเพิ่มภูมิต้านทานโรคภัยต่างๆ เพราะช่วยเพิ่มเซลเม็ดเลือดขาว และมีสารที่เรียกว่า TNF (Tumor Necrosis Factor) ซึ่งมีความสามารถในการต่อสู้กับเซลล์ที่ผิดปกติ และยิ่งกล้วยสุกมากเท่าไหร่ มีจุดสีดำที่เปลือกมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้เกิดสารเสริมภูมิต้านทานนี้มากขึ้น การรับประทานกล้วยสุกจัดเป็นประจำวันละ 1-2 ลูกยังช่วยเสริมภูมคุ้มกันโรคหวัด ไปในตัวค่ะ

แหล่งที่มา : sharesidotcom.blogspot.com/2017/08/blog-post_39.html, www.pobpad.com/แผลในกระเพาะอาหาร

 

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่