สัญญาณไฟบนหน้าปัด คนใช้รถต้องดูให้เป็น

0

สัญญาณไฟบนหน้าปัด คนใช้รถต้องดูให้เป็น

สัญญาณไฟที่หน้าปัดรถยนต์ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถช่วยตรวจสอบความผิดปกติของรถยนต์ และแจ้งเตือนให้เราทราบได้ว่าเครื่องยนต์ของเราเป็นอย่างไรในตอนนี้ และเราควรรู้ถึงความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆที่ขึ้นบนหน้าปัดของรถคันของเรา

ควรรู้นะครับ ข้อมูลดีๆแบบนี้

สัญญาณต่างๆมีการแบ่งประเภทด้วยสี 4 ประเภทดังต่อไปนี้

1 สัญญาณสีเขียว หมายถึง อุปกรณ์ที่กำลังใช้งานอยู่

2 สัญญาณสีน้ำเงิน หมายถึง อุปกรณ์ที่กำลังใช้งานอยู่แต่ไม่ได้เป็นการตั้งค่าจากโรงงาน อย่างเช่นสัญญาณการเปิดไฟสูง

3 สัญญาณสีเหลือง หมายถึง การเตรียมให้เราตรวจสอบ แต่รถสามารถวิ่งใช้งานได้อยู่

4 สัญญาณสีแดง หมายถึง ให้เราตรวจสอบโดยทันที หยุดรถตรวจสอบโดยทันที

นอกจากสัญญาณที่อยู่บนแผงหน้าปัดรถยนต์จะมีประโยชน์แล้ว เราควรที่จะรู้ถึงสัญลักษณ์ต่างๆบนแผงหน้าปัดรถยนต์เราด้วยว่ามีอะไรบ้าง

ไฟเครื่องยนต์

หากไฟหน้าตาแบบนี้ขึ้นมา แสดงว่าเครื่องยนต์มีปัญหา ให้ลองเช็กเข็มบอกอุณหภูมิของเครื่องยนต์ว่าสูงหรือไม่ ถ้าไม่สูงก็สามารถขับต่อได้ แต่ควรจะขับอยู่ที่ 1,500-2,000 รอบต่อนาที แล้วเข้าศูนย์ หรืออู่เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เนื่องจากไฟเตือนนี้ไม่ได้บอกว่าปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นนั้นหนักแค่ไหน ถ้าหากว่าเป็นปัญหาใหญ่แล้วคุณยังคงขับต่อไป นั่นอาจทำให้ส่วนอื่นๆ เสียหายตามไปด้วย

ไฟกาน้ำมันเครื่อง

ปกติไฟนี้จะขึ้นมาตอนที่เราสตาร์ทรถ แล้วดับไป แต่ถ้าเครื่องยนต์ติดแล้ว แต่ไฟนี้ยังคงขึ้นอยู่ คุณควรดับเครื่องยนต์ทันที หรือถ้าหากไฟนี้ขึ้นระหว่างขับรถ ให้ตรวจเช็กอุณหภูมิของรถว่าขึ้นสูงหรือไม่ หากปกติ หรือสูงขึ้นนิดหน่อย คุณยังพอมีเวลาน้ำรถเข้าข้างทางแล้วดับเครื่อง จากนั้นให้เช็กว่าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ โดยดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องขึ้นมาดูว่าระดับน้ำมันถึงขีดที่อยู่บนก้านหรือไม่ ซึ่งที่ก้านจะมีสองขีด ได้แก่ ขีดเกณฑ์ระดับน้ำมันเวลาเครื่องไม่ร้อน และขีดเกณฑ์ระดับน้ำมันเวลาเครื่องร้อน หากระดับน้ำมันเครื่องพร่องไป คุณสามารถเติมเองได้ แต่ก็ควรตรวจเช็กเพิ่มเติมว่ามีปัญหาอื่นอีกหรือไม่ เช่น น้ำมันเครื่องเสีย

แต่ถ้าไม่มีน้ำมันเครื่องเลย แสดงว่าอาจมีรอยรั่ว ให้ลองตรวจหารอยรั่ว ถ้าหากหาไม่เจอก็อาจเกิดจากประเก็นฝาสูบแตก ทำให้น้ำมันเครื่องรั่วเข้าห้องเผ า ไหม้ซึ่งจะทำให้ควันปลายท่อเป็นสีขาว หรืออาจรั่วเข้าระบบระบายความร้อน ซึ่งกรณีนี้จะต้องให้เครื่องเย็นก่อน จึงจะเปิดหม้อน้ำเพื่อตรวจดูสีของน้ำ หากเป็นสีกาแฟขุ่น แสดงว่ามีน้ำมันเครื่องรั่วเข้าระบบระบายความร้อน

ไฟแบตเตอรี่

ปกติไฟแบตเตอรี่จะติดเวลาสตาร์ทรถแล้วดับไปเมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว แต่ถ้าตอนสตาร์ทไฟนี้ไม่ขึ้น แต่ขึ้นหลังจากที่เครื่องยนต์ติดแล้ว หรือระหว่างขับรถ นั่นแสดงว่าแบตเตอรี่ของคุณเก็บไฟไม่ได้ ซึ่งอาจเกิดจากแบตเตอรี่เสื่อม ไดชาร์ทหย่อน ขาด เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุ

เมื่อไฟเตือนนี้สว่างขึ้น ให้คุณปิดวิทยุ แอร์ และระบบไฟฟ้าอื่นๆ เพื่อให้แบตเตอรี่ยังพอมีไฟฟ้าอยู่ แล้วหาศูนย์ หรืออู่ที่ใกล้ที่สุด หากไม่มีก็ควรนำรถจอดเข้าข้างทางโดยเร็ว เพราะไม่นาน รถก็จะดับเนื่องจากไม่มีไฟฟ้าเลี้ยงระบบ

ไฟเบรกมือ

ไฟนี้จะขึ้นเมื่อเราดึงเบรกมือ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราไม่ได้ดึงเบรกมือแต่ไฟนี้สว่างขึ้นมา แสดงว่าระดับน้ำมันเบรกต่ำ อีกกรณีคือ เวลาที่เราเลี้ยวรถแรงๆ ไฟนี้ก็อาจกระพริบขึ้นมาได้เพราะระบบช่วยทรงตัวของรถกำลังทำงาน พอรถทรงตัวได้แล้ว ไฟนี้ก็จะหยุดกระพริบ แต่ถ้าไม่หยุดกระพริบ ก็ควรนำรถไปเช็กการทรงตัว

ไฟ ABS

ไฟนี้ก็เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่ติดตอนก่อนที่เราจะสตาร์ทรถ และอาจจะกระพริบระหว่างขับถ้าหากเราเบรครถแรงๆ เพื่อบอกให้เรารู้ว่าระบบเบรค ABS กำลังทำงานอยู่ แต่ถ้าไฟเอบีเอสนี้สว่างขึ้นมาทั้งๆ ที่ไม่ได้เบรกแรง แปลว่าระบบอาจจะมีปัญหา แต่ก็ยังสามารถขับต่อไปได้ แต่ไม่ควรใช้ความเร็ว และให้ลองตรวจเช็กจากคู่มืออีกทีเนื่องจากรถบางรุ่นอาจมีสัญลักษณ์ที่คล้ายกัน

ไฟเตือนอุณหภูมิเครื่องยนต์

อีกไฟที่ต้องระวังคือไฟนี้ เพราะเมื่อไหร่ที่ไฟนี้สว่างขึ้นมาแสดงว่าเครื่องยนต์มีอุณหภูมิที่สูงเกินไป และอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นคุณควรนำรถจอดเข้าข้างทางทันที รอให้อุณหภูมิรถยนต์เย็นลงแล้วค่อยตรวจเช็กระบบหล่อเย็น ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่จะมาจาก การอุดตัน การรั่ว หรือระดับของน้ำยาหล่อเย็น แต่ถ้าคุณยังฝืนขับต่อหรือปล่อยให้อุณหภูมิสูงต่อไปเรื่อยๆ เครื่องจะดับ และอาจทำให้ฝาสูบโก่ง หรือเสื้อสูบบิด ร้าวได้

เพื่อความชัวร์ในการขับรถ การใช้รถใช้ถนน ทุกคนควรที่จะตรวจสอบ เช็คสภาพของรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเวลาที่ขับรถในทางไกล เมื่อเกิดเหตุขึ้นมาควรตั้งสติและใจเย็นๆ พยายามนำรถเข้าที่ข้างทางดูซ้ายดูขวา เลือกจุดที่รู้สึกว่าปลอด ภัยเสมอ

เรียบเรียงโดย : Postsod

ขอขอบคุณ : silkspan

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่