เตือน! งูพิษร้ายแรงในไทยที่ควรหลีกเลี่ยง และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

0

เตือน! งูพิษร้ายแรงในไทยที่ควรหลีกเลี่ยง และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

งูในประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆได้ 2 ประเภท คือ งูมีพิษและงูไม่มีพิษ ซึ่งงูที่มีพิษนั้นมีอยู่ไม่กี่ชนิด ในขณะที่งูไม่มีพิษนั้นสามารถพบได้จำนวนมากกว่า และมีหลายหลายสายพันธุ์ (ในประเทศไทยพบงูประมาณ 300 สายพันธุ์ เป็นงูไม่มีพิษ 90%)

งูพิษเมืองไทยมีกี่ชนิด

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนมีทั้งพื้นที่ลุ่ม ป่า และภูเขาจึงทำให้มีงูชุกชุม ส่วนใหญ่เป็นงูไม่มีพิษ งูพิษที่มีความสำคัญทางการแพทย์เพราะมีคนถูกพวกมันกัดบ่อยๆ มีอยู่ 7 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

1. งูเห่า เป็นงูขนาดกลาง ความยาว 1-2 เมตร ปริมาณน้ำพิษน้อยแต่มีพิษร้ายแรงมาก โดยพิษจะเข้าไปทำลายระบบประสาท ผู้ถูกกัดจะมีอาการง่วงซึม อยากหลับ ถ้าหลับก็จะไม่ตื่นอีกเลย ผู้ที่ถูกงูเห่ากัดถ้าไม่ได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องและไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็ว มักจะเสียชีวิตทุกราย งูเห่าเป็นงูที่พบได้ทั่วไปทั่วประเทศ

2. งูจงอาง งูจงอาง เป็นงูมีพิษขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวยาว 3-5 เมตร มีพิษร้ายแรงและปริมาณน้ำพิษมาก สามารถกัดคนและสัตว์ทุกชนิดให้ตายได้ในเวลาไม่กี่นาที งูจงอางสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของไทย และเป็นงูประเภทกินงูด้วยกันเป็นอาหาร

3. งูกะปะ งูกะปะเป็นงูพิษที่พบได้ทุกภาคของไทย โดยเฉพาะในภาคใต้ มีลำตัวอ้วนสั้น คอเล็กแต่หัวโต เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 1 เมตรเท่านั้น กินสัตว์เล็กๆพวกนห หนู กบ เขียน เป็นอาหาร จัดเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงที่สุดของไทย ผู้ที่ถูกกัดจะเกิดอาการบวมไปทั้งตัว เลือดไหลไม่หยุด บริเวณที่ถูกกัดจะบวมเขียวและเน่า และเสียชีวิตในที่สุด

4. งูเขียวหางไหม้ งูเขียวหางไหม้ (Green pit viper) จัดเป็นงูพิษชนิดไม่รุนแรง กัดแล้วไม่ตาย พบได้ทั่วไปและมีหลายสายพันธุ์ในประเทศไทย มีลำตัวอวบสั้น ผิวลำตัวมีสีเขียวอมเหลือง หางสีแดงจนถึงน้ำตาลเข้ม (เป็นที่มาของชื่อ) เป็นงูที่เคลื่อนไหวช้า มีนิสัยดุร้ายฉกกัดได้เร็ว ผู้ถูกกัดจะเจ็บปวดที่แผลมาก มีอาการบวมอยู่ 2-5 วัน จากนั้นแผลจะยุบและหายเป็นปกติ

5. งูแมวเซา เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง ลักษณะลำตัวอ้วนป้อม ลำตัวสั้น (เมื่อโตเต็มที่จะยาวเพียง 1-1.5 เมตร) เมื่ออยู่ในลักษณะตื่นตัวมันจะสูบลมเข้าไปจนลำตัวพอง ทำเสียงร้องเหมือนแมวและส่งเสียงขู่ตลอดเวลา สามารถฉกกัดได้เร็วมาก ผู้ถูกกัดจะมีอาการเลือดไม่แข็งตัวและเลือดไหลไม่หยุด เกิดอาการไตวายเฉียบพลัน และเสียชีวิต งูแมวเซาสามารถพบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย

6. งูสามเหลี่ยม งูสามเหลี่ยม หรือ งูทับทางเหลือง เป็นงูพิษที่พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ลำตัวยาว 1-2 เมตร ลำตัวมีลักษณะท้องแบนและเป็นสันด้านหลัง ทำให้มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ) พบมากในภาคใต้ของไทย (ภาคอื่นพบไม่มากนัก) กินสัตว์เล็กๆพวก นก หนู กบ เขียด เป็นอาหาร

7. งูทับสมิงคลา งูทับสมิงคลาเป็นงูที่มีพิษรุนแรง พิษจะทำลายระบบประสาทและระบบโลหิต มีนิสัยดุ เมื่อถูกกัดจะมีอาการชักกระตุก ปวดช่องท้อง มีเลือดออกเป็นจุด ๆ ใต้ผิวหนัง และมีเลือดออกตามไรฟัน รวมถึงไอเป็นเลือด

เมื่อถูกงูกัด จะรู้ว่างูนั้นมีพิษหรือไม่ ให้สังเกตที่รอยเขี้ยว ถ้างูไม่มีพิษ รอยฟันบนผิวหนังจะเรียงเป็นแถว แต่ถ้าเป็นงูพิษ จะมีรอยเขี้ยว 2 จุดชัดเจน หรือมีเลือดซึมออกจากแผล และบริเวณรอบๆ รอยเขี้ยวมีสีคล้ำ หรืออาจพองเป็นถุงน้ำ ซึ่งพิษของงูจะส่งผลต่อร่างกาย แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. พิษต่อระบบประสาท ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม และงูทับสมิงคลา อาการ เริ่มจากแขนไม่มีแรง กระวนกระวาย ลิ้นเกร็ง พูดจาอ้อแอ้ ตามัว น้ำลายฟูมปาก เนื่องจากกล้ามเนื้อการกลืนเป็นอัมพาต หยุดหายใจ และเสียชีวิตในที่สุด

2. พิษต่อระบบการแข็งตัวของเลือดได้แก่ งูเขียวหางไหม้ งูแมวเซา และงูกะปะ อาการ เริ่มจากปวดแผลมาก มีเลือดซึมออกจากแผล เลือดออกจากอวัยวะต่างๆ เช่น เลือดกำเดา เหงือก ไอ อาเจียน ปัสสาวะและอุจจาระเป็นเลือด เกิดจาก

3. พิษต่อกล้ามเนื้อ ซึ่งมักจะไม่พบในภาวะน้ำท่วม เนื่องจากเป็นงูทะเล แต่ไม่ว่าจะถูกงูมีพิษประเภทใดกัด สิ่งแรกคือ ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้ น้อยที่สุด เพราะจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ พลอยให้พิษงูถูกสูบฉีดแล่นเข้าสู่หัวใจได้เร็วขึ้น ซึ่งอาการของพิษงูจะเริ่มแผ่ซ่านตั้งแต่ 15 – 30 นาที หรืออาจนานถึง 9 ชั่วโมง จึงต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง จากนั้นจึงทำการ

ปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน ขี้เถ้าทาแผล หรือสมุนไพรใดๆ
  2. บีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรใช้ปากดูดหรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม
  3. การรัด ควรรัดเหนือและใต้บาดแผลประมาณ 3 นิ้วมือ ไม่ควรรัดเหนือบาดแผลให้แน่นมาก เพราะจะทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือดและเน่าตาย ควรคลายความแน่นพอสอดนิ้วมือได้ 1 นิ้ว จุดประสงค์เพื่อให้อวัยวะนั้นอยู่นิ่ง ไม่ใช่เป็นการห้ามพิษเข้าสู่หัวใจตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจไม่ถูกต้อง
  4. ใช้ผ้าสะอาดห้ามเลือดด้วยการกดแผลโดยตรง ถ้าสามารถใช้แอลกอฮอล์หรือเบต้าดีนทาแผลได้ก็จะเป็นผลดีต่อการทำลายเชื้อโรคต่างๆ
  5. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด เพราะหากเคลื่อนไหวมาก จะทำให้พิษของงูเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น
  6. วางอวัยวะส่วนนั้นให้ต่ำกว่าหรือระดับเดียวกับหัวใจ
  7. รับประทานยาแก้ปวดหากรู้สึกปวด แต่ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์แอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาดองเหล้า เป็นต้น
  8. รีบนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลใกล้บ้าน ไม่จำเป็นต้องนำซากงูมาให้แพทย์ตรวจดูว่าเป็นงูประเภทใด เนื่องจากอาจจับได้ในบริเวณใกล้เคียงซึ่งไม่ใช่เป็นตัวที่กัด ปัจจุบันใช้การดูรอยกัดและลักษณะแผลเพื่อกำหนดการใช้เซรุ่มต้านพิษงูฉีดให้เหมาะสม
  9. ให้ระลึกเสมอว่างูที่กัดทุกตัวเป็นงูมีพิษ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ผศ.นพ.ธีระ กลลดาเรืองไกร www.siamhealth.net ,www.เกร็ดความรู้.net

ขอขอบคุณ : sharelnw

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่