การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง สร้างรายได้ให้ครัวเรือน และภาคเกษตรกรรม

0

การนำลูกปลาลงปล่อยในบ่อ เราต้องนำถุงบรรจุลูกปลามาแช่น้ำในบ่อที่เราจะปล่อยประมาณ 30 นาทีก่อน เพื่อให้ลูกปลาปรับสภาพเสียก่อน ซึ่งมีหลายคนปล่อยปลาลงเลย ทำให้ปลาน็อคน้ำและตายในเวลาต่อมา หลังจากแช่ไว้ประมาณ 30 นาที ก็สามารถปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อได้เลย

ลักษณะเด่นปลาทับทิม

  1. มีอัตราเจริญเติบโตเร็ว
  2. มีปริมาณเนื้อที่บริโภคได้ต่อนํ้าหนักสูง ประมาณร้อยละ 40 และมีสันหนามาก
  3. มีส่วนหัวเล็ก โครงกระดูกเล็ก และมีก้างน้อย
  4. มีเส้นใยกล้ามเนื้อละเอียด และแน่น ทำให้มีรสชาติดี
  5. เป็นปลาที่ปราศจากกลิ่นคาว
  6. มีความทน และเจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำที่มีความเค็มสูง
  7. สามารถเลี้ยงได้ในกระชังที่มีความหนาแน่นสูงได้ โดยไม่มีผลต่อน้ำหนัก
  8. มีสีผิวแดงส้มอมชมพู เนื้อปลามีสีขาว น่ารับประทาน
  9. เป็นปลาที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม และมีความต้านทานต่อโรคได้ดี

หลายคนอาจสงสัย เลี้ยงในบ่อดิน ทำไมต้องมาเสียเงินทำกระชัง ข้อดีคือ เลี้ยงในกระชังถึงเวลาจับขายทำได้ง่าย ไม่ต้องเปลืองค่าแรง ค่าน้ำมันสูบน้ำจับปลา ข้อดีอีกอย่าง เลี้ยงในกระชัง ปลาอยู่ในวงจำกัด การใช้อาหาร วิตามินเสริม ปลาได้กินทั่วถึง ไม่ต้องเหวี่ยงกระจายไปทั่วบ่อ…อัตราสูญเปล่าแทบไม่มี

ถึงบ่อดินน้ำขังจะมีเศษอาหารปลาตกหล่นทำให้น้ำเน่าเสีย ปลาเจ็บป่วยได้ ไม่ต้องกังวล เพราะสามารถควบคุมได้ด้วยการเลี้ยงแบบโปรไบโอติกฟาร์มมิ่ง (Probiotic Farming) ใช้จุลินทรีย์ชนิดดีจากธรรมชาติมาช่วยกำจัดจุลินทรีย์ตัวร้ายที่ก่อโรค และช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดแก๊สแอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟที่ก้นบ่อ

และผลการจากเปรียบเทียบการเลี้ยงปลาในกระชังทั้ง 2 แบบ เลี้ยงปลาทับทิมในกระชังตามแม่น้ำ เลี้ยงได้ปีละ 2 รุ่น (4-5 เดือน/รุ่น) ปลาโตช้า เนื่องจากน้ำมีปัญหาความสกปรก เชื้อโรค โปรโตซัวปนเปื้อนตลอดเวลา แถมมีอัตรารอดเฉลี่ยอยู่ที่ 60%

ส่วนเลี้ยงกระชังในบ่อดิน เลี้ยงได้ปีละ 3 รุ่น (3–4 เดือน/รุ่น) คุณภาพน้ำดีกว่า ปลาโตเร็ว มีอัตรารอดเฉลี่ย 70% แต่ในรายที่ทำได้ดี อัตรารอดมีสูงถึง 80–90% นั่นเป็นเพียงข้อดีเบื้องต้น…ข้อดีอีกประการ ปลาถูกเลี้ยงในกระชัง พื้นที่ว่างในบ่อยังเหลืออีกเยอะ

เราสามารถต่อยอดนำกุ้งหรือปลาอื่นๆมาปล่อยเลี้ยง ปล่อยลงบ่อดิน กลายเป็นนวัตกรรมเลี้ยงสัตว์น้ำ ระบบโคคัลเจอร์ (Co-Culture) ปล่อยกุ้งขาว เลี้ยงผสมร่วมกับกุ้งก้ามกราม…ไม่ต้องกังวลว่ากุ้งต่างพันธุ์จะกัดกินกัน เพราะกุ้งต่างพันธุ์มีแหล่งหากินไม่ทับซ้อน กุ้งก้ามกรามหากินตามก้นบ่อ…กุ้งขาวหากินกลางน้ำ

สรุปแล้ว ถ้าคุณมีบ่อดิน 1 ไร่ มีปลาในกระชังให้จับปีละ 3 รุ่น รุ่นละ 1,000 กก. มีกุ้งจับขายปีละ 2 รุ่น แต่ละรุ่นจับกุ้งขาวได้ 300 กก. กุ้งก้ามกรามอีก 200 กก. เลี้ยงได้ทั้งปี

การเตรียมบ่อ

1. บ่อใหม่ หมายถึง บ่อดินที่ชุดใหม่จึงไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องโรคปลา แต่การคำนึงความเป็นกรดเป็นด่างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพแต่ละพื้นที่ของดิน ดังนั้นบ่อใหม่ควรพิจารณากระทำสิ่งต่อไปนี้

1.1 ต้องมีการวัด pH และปรับ pH ของน้ำให้อยู่ในช่วง 6.5 – 8.5 ซึ่งดินโดยทั่วไปจะใส่ปูนขาวประมาณ 100 – 150 กก./ไร่
1.2 ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินอัตราที่ควรใส่ คือ 200 – 250 กก./ไร่ หรือมากกว่านั้น

1.3 สูบน้ำใส่บ่อ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติอย่างสมบูรณ์และปรับสภาพให้เหมาะสมแก่การเลี้ยงปลา หรืออาจนำพันธุ์ไรแดงมาปล่อยเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติ

1.4 การปล่อยลูกปลาควรปล่อยในตอนเช้า เพราะอากาศและน้ำมีอุณหภูมิต่ำทำให้ปลาไม่ช๊อคในขณะปล่อยควรจะนำถุงบรรจุปลาแช่น้ำทิ้งไว้ 10 – 20 นาที หรือค่อย ๆ เติมน้ำเข้าไปในถุงเพื่อให้อุณหภูมิใกล้เคียงกันแล้วจงเทลูกปลาลงบ่อ

2. บ่อเก่า เป็นบ่อซึ่งผ่านการเลี้ยงมาแล้วก่อนปล่อยลูกปลาลงย่อ ควรปฏิบัติดังนี้ ระบายน้ำออกและจับปลาที่ยังคงเหลืออยู่ออกให้หมด

2.2 ลอกเลนพร้อมกำจัดวัชพืชออกให้หมด เพราะเป็นที่อยู่ของศัตรูปลาเลนจะเป็นที่หมักหมมของอินทรีย์วัตถุและโรคปลา และตกแต่งบริเวณคันบ่อที่ไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์

2.3 ควรตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 5 – 10 วัน แสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในบ่อให้หมดไป

2.4 ใช้ปูนขาวอัตราส่วน 50 – 100 กิโลกรัม / ไร่ หรือมากกว่า ถ้าดินเป็นกรด ปูนขาวจะช่วยฆ่าเชื้อโรค ศัตรูปลาและช่วยปรับสภาพดิน โดยหว่านปูนขาวให้ทั่วบ่อ

2.5 ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 100 – 200 กิโลกรัม / ไร่ เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับบ่อปลา

2.6 สูบน้ำใส่บ่อทิ้งไว้ 10 – 15 วัน อาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลาจะมีปริมาณเพียงพอ

2.7 บ่อเก่าถ้าสูบน้ำออกไม่หมดให้ฆ่าศัตรูพืชปลาด้วยโล่ติ้น หรือกากชา อัตรา 5 – 10 กิโลกรัม ต่อ น้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร จะทำให้ศัตรูปลาตาย ทิ้งไว้ 5 – 7 วัน พิษของสารพิษจะสลายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ

2.8 ในกรณีที่ต้องการปรับปรุงบ่อเก่าหลังการจับปลาและฆ่าศัตรูปลาแล้วแต่ไม่ได้ระบายน้ำทิ้งเพราะขาดน้ำใหม่ควรใช้ปูนขาวในอัตรา 250 – 300 กิโลกรัม / ไร่
อาหารปลาทับทิมสูตรลดต้นทุน

วัตถุดิบ

  1. กล้วยสุก (หรือใช้เป็นพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น) ประมาณ 4 กิโลกรัม
  2. รำละเอียด ประมาณ 0.5 กิโลกรัม
  3. หัวอาหารปลาโปรตีน 35% ประมาณ 6 กิโลกรัม

ขั้นตอนวิธีการทำ

  1. นำกล้วย หรือเศษพืชที่เตรียมไว้มาบดให้ละเอียดด้วยเครื่องบด(อาจใช้วิธีการสับหรือตำให้ละเอียดด้วยครกได้ กรณีที่ไม่มีเครื่องบด)
  2. เมื่อบดกล้วยละเอียดแล้ว จึงนำรำละเอียด มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน (ถ้ามีเครื่องผสมก็ใช้เครื่อง แต่ถ้าไม่มีก็ต้องผสมคลุกเคล้าไปเรื่อยๆจนกว่าจะข้นเหนียวจับตัวเป็นก้อนดี)
  3. เมื่อสังเกตว่าเกิดความเหนียวพอดีแล้ว จึงนำหัวอาหารปลามาใส่ลงไปตีผสมให้เข้ากัน
  4. จากนั้นจึงนำใส่กระสอบตั้งพักไว้ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง แล้วจึงสามารถนำมาให้ปลากินได้

การนำไปใช้

เมื่อหมักครบอย่างน้อย 1 ชั่วโมงแล้ว เราสามารถนำมาหว่านให้ปลากินได้เลยตามอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาของเกษตรกรแต่ละราย โดยเริ่มจากให้ทีละน้อยก่อน แล้วจึงเพิ่มปริมาณเท่ากับที่เคยให้ปลากินตามปกติ

สูตรที่สอง

ส่วนผสม

  1. อาหารเม็ดเลี้ยงปลา 2 กิโลกรัม
  2. กล้วยสุก 1 ผล
  3. วิตามินซี(แบบผงที่ใช้เลี้ยงสัตว์) 1 ช้อนแกง
  4. น้ำตาลทรายแดง 1 ช้อนแกง

ขั้นตอนการทำ

  1. นำกล้วยสุก 1 ผล มาปั่นผสมกับวิตามินซี
  2. นำน้ำตาลทรายแดงเคี้ยวไฟให้เหนียวเป็นน้ำเชื่อม จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็นจึงนำน้ำตาลทรายแดงที่ละลายแล้วแบบเหนียวข้น 1 ช้อนแกง ผสมกับกล้วยสุกและวิตามินซี
  3. จากนั้นนำไปผสมใน อาหารเม็ด 2 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนนำไปให้ปลานิล

วิธีการให้อาหาร

  • ควรให้ช่วงบ่ายประมาณ 16.00-17.00 น. ซึ่งอาหารที่ผสมแล้ว 2 กิโลกรัม สามารถเลี้ยงปลาใหญ่ได้ประมาณ 1 กระชัง แต่หากเป็นกระชังเล็กจะได้ประมาณ4 กระชัง

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : ศูนย์รวมความรู้การเกษตร

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่