แจกน้ำผักบุ้งแดง ขจัดสารพิษล้างพิษคาเฟอีน นิโคติน ได้อีกด้วย
วันนี้เรามาทำการแจกสูตรน้ำต้มผักบุ้งแดงกัน สูตรนี้สามารถช่วยขจัดสารพิษนิโคติน คาเฟอีนและอื่นๆอีก มากมาย เรื่องสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต หากตัวเราเองนั้นมีสุขภาพที่ดีแล้วการทำงานการใช้ชีวิตย่อมไม่มีอุปสรรคปัญหา ชีวิตเราก็จะมีความสุข
ฉะนั้นแล้วเราควรที่จะรักสุขภาพของตัวเราเองให้มากควรดื่มหรือทานอาหารที่ดีมีประโยชน์อย่างเช่นน้ำผักชนิดนี้ เรียกได้ว่าเป็นผักที่มีประโยชน์มากเลย นั่นก็คือน้ำผักบุ้งแดง มีส่วนที่ช่วยในการจัดการสารพิษต่างๆที่อยู่ในร่างกาย ลองไปดูวิธีทำกันได้เลย
ส่วนผสม
– ผักบุ้งแดงหรือผักบุ้งไทย 3 กำมือ (ได้มาทั้งรากถึงยอดจะได้ตัวยาที่ดีมาก)
– น้ำตาลทรายแดง 1-3 ช้อนโต๊ะ (ไม่ใช่น้ำตาลที่เป็นเกล็ดสีรำ แต่เป็นน้ำตาลทรายที่สีเหมือนทรายลักษณะเป็นผงๆ แบบที่กินกับเฉาก๊วย)
– น้ำเปล่า 1 ลิตร
– หม้อดิน หรือหม้อที่ไม่ใช่โลหะ อาทิ หม้อเคลือบ หม้อเซรามิค หม้อแก้วทนไฟ เนื่องจากหม้อโลหะอาจปล่อยสารโลหะหนักขณะต้ม
วิธีทำ
1. นำผักบุ้งมาล้างน้ำให้สะอาด หั่นฝอยเป็นชิ้นเล็กๆ
2. น้ำใส่หม้อต้มประมาณ 1 ลิตร นำผักบุ้งที่หั่นไว้ใส่ลงไปต้มในน้ำเดือดเบาๆ ใส่น้ำตาลทรายแดง 1-3 ช้อนโต๊ะ ต้มนานประมาณ 30 นาที
3. นำมากรองในกระชอน หรือผ้าขาวบาง
4. จะได้น้ำต้มผักบุ้ง ดื่มได้ทั้งอุ่นๆหรือเย็นตามชอบ
สูตรนี้สามารถใช้ล้างพิษจากสาร พิษนิโคตินในบุหรี่ พิษจากสารคาเฟอีนในกาแฟ พิษจากแอลกอฮอล์ในเหล้า เบียร์ พิษจากการฉายแสง การให้เคมีบำบัด และสารกัมมันตรังสี
วิธีดื่ม
หากจะกินแบบร้อนให้ใส่ภาชนะที่เป็นแก้ว เซรามิก หรือ ใส่ขวดแก้วพกไปดื่มระหว่างวัน หากกินขณะเย็น ใส่ขวดพลาสติกได้ถ้าใครเป็นเนื้องอกแล้วให้ดื่มติดต่อกัน 30-40 วันแต่ถ้าแค่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็ให้กินวันละแก้วสองแก้วพอชุ่มคอ ก็จะป้องกันได้มีคนอยู่สองกลุ่มที่ฟอร์มาลีนไม่สามารถแผลงฤทธิ์ได้ก็คือ
1. คนที่มีพยาธิมาอาศัยอยู่ด้วยหลายสายพันธุ์เป็นเวลานาน พยาธิจะช่วยกรองฟอร์มาลีน ไม่ให้ออกฤทธิ์
2. คนที่ชอบกินผักเป็นประจำ กากใยของผักจะช่วยอุ้มฟอร์มาลีนไปทิ้งทางลำไส้ใหญ่
ผลข้างเคียง การดื่มน้ำผักบุ้งแดงเพื่อล้างพิษ จะทำให้เรามีอาการอ่อนเพลียง่าย ง่วงนอนบ่อย และ ตัวบวมน้ำ แต่ไม่อันตราย ถ้าง่วงก็นอนซะ ส่วนอาการตัวบวมน้ำให้ใช้ “หญ้าไผ่น้ำ” ต้มน้ำดื่ม ก็แก้ได้จ้ะสารพิษจากฟอร์มาลีนสะสมในร่างกายเราได้อย่างไร
– น้ำแข็ง
– อาหารทะเลแช่แข็ง ลูกชิ้น ผักผลไม้ที่สดกรอบเกินเหตุ
– ขวดพลาสติกที่ใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก
– การนำภาชนะถ้วยขนมพลาสติก/เมลามีน /ถุงร้อนใส่กับข้าว มาใส่อาหารร้อนๆ
– การที่ต้องทำงานคลุกคลีกับสารฟอร์มาลีน (พยาบาลในห้องเก็บศพ หรือแผนกที่ต้องเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อไปตรวจ)
– ฟอร์มัลดิไฮด์เรซิน ที่ใช้ฉีดในม้วนผ้า หรือเฟอร์นิเจอร์ไม้อัดต่างๆ เพื่อกันแมลง
ขอขอบคุณ : rukhealthcom