ข่าวดี ด่วน!! รายได้น้อย อยากมีบ้าน รัฐจัดให้ ให้กู้ 100% ผ่อนเพียงเดือนละ 3,000 บาท

0

ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยครอบคลุมทั้งผู้มีรายได้ประจำ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระ ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ ในที่อยู่อาศัยมาก่อนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ยกเว้นกรณีการซ่อมแซมและ/หรือต่อเติมที่อยู่อาศัย ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง เพื่อซื้อหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่สร้างบนที่ดินของตนเอง ที่ดินของเอกชนผู้ประกอบการ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินของรัฐ ซึ่งครอบคลุมที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ สร้างเสร็จพร้อมอยู่ และทรัพย์สินรอการขาย (Non-Performing Asset : NPAs) ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ และทรัพย์รอการขายของกรมบังคับคดี ทั้งนี้ ให้รวมถึงการซ่อมแซมและหรือต่อเติมที่อยู่อาศัย โดยมูลค่ารวมของที่ดินและที่อยู่อาศัยที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย

วงเงินให้กู้

วงเงินสินเชื่อไม่เกินรายละ 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย ยกเว้นกรณีการซ่อมแซมและ/หรือต่อเติม ที่อยู่อาศัยวงเงินสินเชื่อไม่เกินรายละ 500,000 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ กำหนดอัตราส่วนรายจ่ายในการชำระหนี้ต่อรายได้ต่อเดือน (Debt Service Ratio : DSR) สำหรับลูกค้ารายย่อยผ่อนปรนไม่เกินร้อยละ 50 และสำหรับลูกค้าสวัสดิการ (หักเงินเดือน) DSR ไม่เกินร้อยละ 80

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

(1) อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษสำหรับกรณีวงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัย ราคาไม่เกิน 7 แสนบาทต่อหน่วย และกรณีวงเงินสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมและ/หรือต่อเติมอาคารวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาทต่อหน่วย คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนี้
ปีที่ 1 = 0.00% ต่อปี
ปีที่ 2 – ปีที่ 3 = 2.00% ต่อปี
ปีที่ 4 – ปีที่ 6 = 5.00% ต่อปี
ปีที่ 7 – ปีที่ 30 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว = MRR-0.75% ต่อปี

(2) อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนสำหรับกรณีวงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัย ราคามากกว่า 7 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนี้
ปีที่ 1 – ปีที่ 3 = 3.00% ต่อปี
ปีที่ 4 – ปีที่ 6 = 5.00% ต่อปี
ปีที่ 7 – ปีที่ 30 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
– กรณีลูกค้ารายย่อย = MRR-0.75% ต่อปี
– กรณีลูกค้าสวัสดิการ = MRR-1.00% ต่อปี

กำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการ

(1) ระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมติเห็นชอบ (มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2559)
(2) กำหนดกรอบวงเงินโครงการไม่เกิน 20,000 ล้านบาท โดยการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

กรณีซื้อที่อยู่อาศัยจากเอกชนผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าร่วม “โครงการบ้านประชารัฐ”ให้พิจารณาสัญญาจะซื้อจะขาย ต้องระบุเงื่อนไข ดังนี้

(1) ผู้ขายรับภาระค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์
(2) ผู้ขายรับภาระค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการจำนอง
(3) ผู้ขายรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนกลางในปีที่ 1
(4) ผู้ขายให้ส่วนลดพิเศษ (เพิ่มเติมจากส่วนลดปกติ) ในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% ของราคาซื้อขายตามสัญญาจะซื้อจะขาย

คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์

  1. ผู้มีรายได้น้อยครอบคลุมทั้งผู้มีรายได้ประจำ และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระ มีเงื่อนไขทั้งสิ้นดังนี้
  2. อายุ 20 ปีขึ้นไป เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาชำระเงินกู้ ไม่เกิน 65 ปี
  3. ปัจจุบันไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ยกเว้น กรณีการซ่อมแซมและ/หรือต่อเติมที่อยู่อาศัย หรือต้องการปลูกสร้างทดแทนที่อยู่อาศัยเดิม ทั้งนี้ ที่อยู่อาศัยนั้นต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กู้
  4. ไม่มีชื่อเป็นหรือเคยเป็น “เจ้าบ้าน” ในทะเบียนบ้านที่นำมาแสดงเป็นหลักฐานการยื่นกู้กับธนาคารและต้องมีชื่อเป็น “ผู้อยู่อาศัย” ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 3 ปี ยกเว้น มีชื่อเป็นเจ้าบ้านแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้านนั้น

ช่องทางการติดต่อสมัครเข้าร่วมโครงการ ติดต่อได้ที่ธนาคารที่ร่วมโครงการได้ทั่วประเทศ

  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์

เอกสารการใช้สมัครเข้ารวมโครงการ วันสิ้นสุดโครงการ 23 มีนาคม 2561

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่อาศัย
  3. หนังสือรับรองเงินเดือน (ตัวจริง)
  4. สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน

กรณีกู้เพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซม วงเงินไม่เกิน 5 แสนบาท ต้องไม่ติดกู้และเป็นเจ้าบ้าน

ขอขอบคุณโครงการดีๆ : โครงการประชารัฐ

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่