เส้นก๋วยเตี๋ยว กินมากทำลายตับและไตของคุณให้พังเร็ว อันตรายกว่าที่คิด!
หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ไม่ชอบกินข้าว แต่ชอบกินก๋วยเตี๋ยวเป็นชีวิตจิตใจ อยากให้คุณได้ลองอ่านบทความที่เรานำเสนอในวันนี้ดูนะคะ เพราะอาจจะทำให้คุณเปลี่ยนใจเลยก็ได้ เพราะในเส้นก๋วยเตี๋ยวนั้นมีสารกันบูดปนเจืออยู่มาก เมื่อเราสะสมไว้เป็นเวลานาน จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อตับและไตของเราให้เสียสุขภาพได้
สารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย เป็นสารเคมีที่ใช้สำหรับการถนอมอาหารหรือยืดอายุอาหารทำให้สามารถเก็บถนอมอาหารให้ได้นานขึ้น สารนี้ทำหน้าที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หรือทำลายจุลินทรีย์ชนิดต่างๆที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารบูดเน่า
ทำไมเส้นก๋วยเตี๋ยว ถึงต้องใส่สารกันบูด??
เนื่องจากเส้นก๋วยเตี๋ยวสดอาจมีอายุในการเก็บรักษาได้ไม่นาน ดังนั้นผู้ประกอบการจึงมักใส่สารกันบูด เพื่อยืดอายุของเส้นก๋วยเตี๋ยวให้อยู่ได้นานมากยิ่งขึ้น เก็บรักษาก่อนปรุงได้นานมากยิ่งขึ้น สารกันบูดที่นิยมใช้คือกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งหากร่างกายได้รับในปริมาณสูงเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง
เส้นก๋วยเตี๋ยวที่พบสารกันบูดมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ
– เส้นเล็ก
– เส้นหมี่
– เส้นใหญ่
และเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่พบสารกันบูด คือ
– บะหมี่เหลือง
– วุ้นเส้น
แต่ก็ไม่ใช่ว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวทั่วประเทศไทยจพบสารกันบูดในปริมาณมากกว่ามาตรฐานเสมอไป ดังนั้นคนที่ชอบทานก๋วยเตี๋ยว อาจจะลองเปลี่ยนเส้นที่ทานไปเรื่อยๆ หรือลองทานเป็นเส้นบะหมี่ หรือวุ้นเส้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการรับสารกันบูดเข้าร่างกายอย่างไม่ตั้งใจได้มากขึ้น หรือถ้าจะควบคุมน้ำหนักไปด้วย ก็ลองทานเป็นเกาเหลาดูบ้างก็ไม่เลว
แนะนำวิธีทำเส้นเล็ก (ทำเองกินเอง ไม่ต้องใช้สารกัดบูดนะ)
ส่วนผสม และอุปกรณ์ (สำหรับเส้น 600 กรัม) เตรียม 10 นาที ปรุง 1.30 ชั่วโมง (รวมเวลาหมักแป้ง)
– แป้งข้าวเจ้าตราช้างสามเศียร 300 กรัม
– แป้งมัน 200 กรัม
– เกลือ 1 ช้อนชา
– น้ำเปล่า (1) 350 กรัม
– น้ำเปล่า (2) 250 กรัม
– น้ำมันรำข้าวเล็กน้อย
– ผ้าโทเรขาวตามขนาดของหม้อที่หาได้ซักให้สะอาดผึ่งให้แห้ง
– หม้อเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ฟุต พร้อมฝาปิด
– ลำไม้ไผ่สำหรับพาดตากแป้ง
– เชือกหรือหนังยางสำหรับรัดผ้าให้ตึง
ขั้นตอนการทำ
1. ผสมแป้งทั้งสองชนิด เกลือ กับน้ำเปล่า 1 นวดจนเหนียวแล้วพักไว้ 30 นาที จึงใส่น้ำเปล่าลงนวดให้ละลาย พักไว้
2. เติมน้ำเปล่าลงในหม้อ ครึ่งหม้อ แล้วขึงปากหม้อด้วยผ้าโทเรใช้เชือกมัดให้ตึง ก่อนใช้มีดเจาะผ้ามุมใดมุมหนึ่งให้ทะลุเพื่อให้ไอน้ำผ่านขึ้นมาได้ จากนั้นยกขึ้นตั้งไฟกลางรอจนเดือด จึงนำแป้งในข้อหนึ่
มากวาดบนปากหม้อ เหมือนทำข้าวเกรียบปากหม้อ ก่อนปิดฝาหม้อรอแป้งสุก สังเกตว่าจะมีไอน้ำลอยผ่านฝาหม้อออกมาแสดงว่าแป้งสุกแล้ว จึงเปิดฝา แล้วใช้ไม้ไผ่เหลาแบนชุบน้ำแซะแป้งแล้วดึงขึ้นเป็นแผ่น พาดบนไม้ไผ่ผึ่งลม รอจนหมาดดี (ราว 1 ชั่วโมง)
3. นำแผ่นก๋วยเตี๋ยวที่หมาดดีแล้วมาทาน้ำมันทีละแผ่นแล้ววางซ้อนกันสัก 3 ชั้น ก่อนม้วนตามภาพ แล้วหั่นด้วยมีดเป็นเส้นๆ จากนั้นใช้มือยีเส้นให้คลายจากกัน หากต้องการใช้เส้นสดก็สามารถนำไปใช้ได้เลย แต่หากต้องการเก็บไว้เป็นเส้นแห้ง ให้นำเส้นมาม้วนขึ้นรูปมัดด้วยตอกแล้วนำไปตากแดดจนแห้งสนิท จึงเก็บใส่ถุงไว้ใช้ได้นาน
เคล็ดลับที่ควรรู้
– บริเวณผึ่งเส้นก๋วยเตี๋ยว ควรกั้นไม่ให้ลมเข้า เพราะจะทำให้ชายแป้งแห้งกรอบ ไม่สามารถนำมาซอยด้วยมีดได้
– หากแผ่นแป้งที่สุกแล้วแตก แสดงว่าไฟแรงเกินไป ให้ลดไฟลงเล็กน้อยแล้วลองกวาดแป้งใหม่
อาหารทุกชนิดทุกประเภทล้วนแล้วแต่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย แต่ที่สำคัญมากที่สุขคือการรับประทานอาหาร ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่ควรเลือกรับประทานอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบทุกประเภท
ขอบคุณข้อมูลจาก : chonburipost