แพงนัก ปลูกเองซะเลย! วิธี “เพาะเห็ดเผาะ” ง่ายๆปลูกได้เองตามธรรมชาติ แบบไม่ต้องเผาป่า!

0

แพงนัก ปลูกเองซะเลย! วิธี “เพาะเห็ดเผาะ” ง่ายๆปลูกได้เองตามธรรมชาติ แบบไม่ต้องเผาป่า!

เห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Astraeus hygrometricus) เป็นเห็ดราชนิดหนึ่งในวงศ์ Diplocystaceae เมื่ออ่อนและดอกยังไม่เปิดมีลักษณะคล้ายเห็ดราในหมวด Basidiomycota กล่าวคือเป็นลูกกลม เมื่อโตขึ้นดอกเห็ดมีลักษณะเป็นรูปดาวซึ่งเป็นผลมาจากเนื้อเยื่อชันนอกของสปอโรคาร์ปแตกออก เห็ดเผาะเป็นเห็ดชนิดไมคอไรซาที่เติบโตร่วมกับต้นไม้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินร่วนปนทราย

ช่วงนี้เห็ดเผาะกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแต่ถึงแม้ว่าจะถึงฤดูที่เห็ดออกแล้วก็ยังขายแพงและบางทีจำนวนไม่พอกับความต้องการของตลาดด้วยซ้ำ หาซื้อแทบไม่มีขาย วันนี้ไข่เจียวเลยมีข่าวดีสำหรับคนที่ชื่อชอบเห็ดเผาะมาฝาก ซึ่งต่อไปนี้เราไม่ต้องไปหาซื้อ เห็ดเผากิโลละแพงๆ เนื่องจากเรามีวิธีปลูกเองได้ แบบง่ายๆ ไม่รอเผาป่า ไม่ต้องรอให้ฝนตกก็ทำได้

ซึ่ง ดร.อานนท์ เอื้อตระกลู ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ด้านการเพาะเห็ด องค์การสหประชาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2524-2548 เล่าให้ฟังว่า “เห็ดเผาะ” หรือ “เห็ดถอบ” มี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ “เห็ดเผาะหนัง” สีดำเนื้อกรอบ ๆ และ “เห็ดเผาะฝ้าย” เนื้ออ่อนนิ่ม เกิดในต้นฤดูฝนไม่มีราก เป็นก้อนกลมๆ มีเปลือกแข็งสปอร์อยู่ข้างใน ซึ่งจะนิยมนำมาทำอาหารในช่วงที่อ่อนๆ แน่นอนว่าเห็ดนอกจากจะรสชาติดี และมีคุณค่าทางโภชนาสูงแล้ว ยังมีคุณสมบัติทางยาอีกด้วย ทำให้ทั้งความสนใจและความต้องการของเห็ดเพิ่มขึ้น ขณะนี้คนไทยกินเห็ดเกิน 10,000 กรัม/คน/ปี

“ผมว่าตอนนี้เรื่องเห็ดคนสนใจกันมาก ตอนที่ผมสอนใหม่ ๆ เมื่อปี 2516 ไทยยังสั่งเห็ดนำเข้า ยังไม่มีการเพาะเห็ดมาก คนไทยสมัยนั้นกินเห็ดแค่ 235 กรัม/คน/ปี แต่หลังจากที่รณรงค์และเผยแพร่เรื่องเห็ด จากนั้นมาเพียงแค่ 5 ปีให้หลัง ไทยสามารถเพาะเห็ดฟางได้มากถึง 60,000 ตันมากที่สุด”

ปัจจุบัน ประเทศไทย สามารถเพาะ “เห็ดเผาะ” แบบยั่งยืนได้แล้ว โดยนำ “เชื้อเห็ดเผาะ” ใส่เข้าไปในรากของต้นตระกูล ต้นยางนา เช่น ต้นเหียง ต้นพลวง มะค่า เต็งรัง ต้นไม้พวกนี้หากมีเชื้อเห็ดเผาะเข้าไปอาศัยจะโตไวมาก เพราะเส้นใย เห็ดเผาะ จะเกาะอยู่ที่ปลายราก ย่อยอาหารจำพวกฟอสฟอรัสให้รากพืชแข็งแรง และป้องกันโรคอย่างอื่นมาทำลายรากของต้นไม้นั้น

ต้นไม้ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ นอกเหนือจากจะเจริญเติบโตด้วยการสังเคราะห์แสงแล้ว มีมากถึง 95% ที่ไม่สามารถย่อยสารอาหารที่อยู่ปลายรากได้เอง จำต้องพึ่งเชื้อรา หนึ่งชนิดที่กำลังจะพูดถึง คือ “ไมคอร์ไรซา” เป็นรากลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ใต้ดินอาศัยอยู่ตามรากพืชของต้นไม้ ซึ่งเป็นเชื้อของเห็ดเผาะ เห็ดตับเต่า เห็ดระโงก เป็นต้น

ขณะเดียวกันเห็ดก็อาศัยพลังงานและเอ็นไซม์ที่มีประโยชน์จากพืช ซึ่งจะอยู่ร่วมอาศัยซึ่งกันและกันเช่นนี้ ไปจนหมดอายุขัยของต้นไม้ เช่น ไม้ยางนาที่เป็นไม้เนื้อหอม สามารถมีอายุได้นานกว่า 700 ปี

ส่วนความเชื่อของชาวบ้านที่ว่า.. ยิ่งเผาเคลียร์พื้นที่ยิ่งทำให้เก็บเห็ดง่าย ผลผลิตมาก…!! ความคิดนี้ผิด 100 % เพราะในปีต่อไปเห็ดจะลดลง ต้นไม้ได้รับบาดเจ็บ และหากต้นไม้ที่เป็นตัวสร้างอาหารให้เห็ดตายไป ก็จะไม่มี “เห็ดเผาะ” เกิดขึ้นอีกเลย

ขั้นตอนแรกนำ “เห็ดเผาะ” ที่แก่จัดมาแกะเอาสปอร์ข้างใน แล้วนำไปผสมน้ำให้เข้ากัน จากนั้นนำน้ำดำๆ ที่ได้ราดไปที่โคลนต้นไม้ ในปีถัดไปก็จะมีเห็ดเผาะเกิดตามรากไม้ต้น เมื่อต้นไม้โตพอประมาณสัก 2 ปี ให้เริ่มเก็บได้ และจะเกิดที่ต้นไม้ต้นนี้ทุก ๆ ปี

ส่วนอีกวิธีที่ดีที่สุดให้นำน้ำดำ ๆ ไปรดกล้าต้นไม้ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละครั้ง สังเกตุดูต้นกล้าถ้าเริ่มมีเนื้อเยื่อ “เห็ดเผาะ” เจริญเติบโตแล้ว ให้นำไปปลูกได้ หรืออีกวิธีที่ง่ายกว่านั้น นำต้นกล้าไปปลูกทิ้งไว้ใต้ต้นไม้ยางนาสักระยะ ก็จะได้ต้นกล้าที่ติดเชื้อ “เห็ดเผาะ” ไปด้วย แต่เมื่อในปีถัดไปมี “เห็ดเผาะ” เกิดขึ้น อย่าพึ่งเก็บเพราะต้นไม้ยังไม่แข็งแรงพอ

ก็แสดงว่า หากเรานำ “เห็ดเพาะ” เข้าไปในรากยางนา เพียง 2-3 ปี ก็จะมี “เห็ดเผาะ” เกิดขึ้น และเก็บต่อไปได้อีกกว่า 700 ปี โดยไม่ต้องใส่เชื้อเห็ดใหม่อีกเลย และผลิตจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ตามภาพที่เห็น คือ “ต้นยางนาง” อายุประมาณ 10 ปี ที่ใส่ “เชื้อเห็ดเผาะ” เข้าไป

นี่คือ “การเพาะเห็ดเผาะ” กลางคันนา กลางทุ่ง ข้างถนนใน จ.เชียงใหม่ จึงไม่เป็นไปตามที่เข้าใจกันว่า ต้องปลูกอยู่ในป่าเท่านั้น น่าตื่นเต้น และน่าจะเป็นข่าวดีที่สุดของคนไทยที่ชอบกิน “เห็ดเผาะ”

เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่ชอบกินเห็ดเผาะนะคะ เพราะหากจะรอฟ้ารอฝน ก็คงจะต้องอดทนนานหน่อย ปีละครั้งถึงจะได้ทาน แต่วันนี้เรารู้วิธีปลูกแล้วก็ลองนำไปทดลองปลุกกันดู เพื่อได้ผลปลูกขายสร้างอาชีพได้เลยนะ

แกงเห็ดเผาะ ใส่น้ำเอ๊าะเจ๊าะ

เมนูบ้านไพร กำเมืองเปิ้นฮ้องว่า แกงเห็ดถอบใส่หน่อไม้ส้ม

อาหารภาคกลาง..แกงคั่วเห็ดเผาะ

ขอขอบคุณ : ดร.อานนท์ เอื้อตระกลู ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ด้านการเพาะเห็ด องค์การสหประชาชาติ ประจำปี พ.ศ.2524-2548, Kaijeaw ,เดลินิวส์

เรียบเรียงโดย : Postsod

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่