หลังทำบุญ ใส่บาตรเสร็จ ท่องบทกรวดน้ำได้รับบุญมาก

0

หลังทำบุญ ใส่บาตรเสร็จ ท่องบทกรวดน้ำได้รับบุญมาก

ใส่บาตรในช่วงเวลาเช้า ถวายสังฆทาน การทำบุญเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาเนิ่นนานตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงในปัจจุบันนี้หลายๆคนก็ยังคงทำเช่นนี้กันอยู่ และโดยส่วนมากแล้วหลังจากที่ได้ใส่บาตรทำบุญนั่นก็คือ การกรวดน้ำ

การกรวดน้ำจะเป็นสิ่งที่เรานั้นตั้งใจอุทิศส่วนบุญกุศลที่เราได้ทำบุญในครั้งนี้ส่งผลบุญที่เราได้ทำไปให้ กับผู้ที่ล่ ว ง ลับ ผู้ที่ จากไป ให้กับเจ้าก ร ร มนาย เว รทั้งหลายที่เราตั้งใจจะทำบุญไปให้ เป็นการรินน้ำสะอาดให้ไหลลงไปที่พื้นดินลงบนต้นไม้ใหญ่ หรือจะใช้ภาชนะรองรับแล้วนำไปเทที่พื้นดินหรือบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่

วิธีการกรวดน้ำเป็นสิ่งที่ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลในอดีตที่ ผ่ านมา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ในการอุทิศส่วนบุญกุศลที่เราได้ทำส่งไปให้กับผู้ที่เราตั้งใจทำบุญไปให้ จึงเป็นที่นิยมใช้การกรวดน้ำเป็นสัญลักษณ์แทนการอุทิศส่วนบุญกุศลที่เราทำไปให้นั่นเอง

วิธีกรวดน้ำ

1 กรวดน้ำเปียก คือ ใช้น้ำเป็นสื่อ รินน้ำลงไปพร้อมกับอุทิศผลบุญกุศลไปด้วย

2 กรวดน้ำแห้ง คือ ไม่ใช้น้ำ ใช้แต่สิบนิ้วพนมอธิษฐาน แล้วอุทิศผลบุญกุศลไปให้

กรวดน้ำเวลาไหนถึงดี

สำหรับการกรวดน้ำ นั้นคือ ทำในขณะที่พระอนุโมทนาหรือหลังจากการทำบุญเสร็จ แต่ถ้าหากว่าไม่สะดวกที่จะทำในตอนนั้นให้ทำหลังจากนั้นก็ได้ แต่แนะนำว่าทำในขณะนั้นจะดี กว่า

บทกรวดน้ำแบบยาว

ตั้งนะโม 3 จบ

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา ด้วยบุญนี้ อุททิศให้ อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ

อาจะริยูปะการาจะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา และอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน ทั้งพ่อแม่ และปวงญาติ

ปิยา มะมัง สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ สูรย์จันทร์ และราชา ผู้ทรงคุณหรือสูงชาติ พรัหมะมารา จะ อินทา จะ โลกะปาลา จะ เทวะตา พรหม มาร และอินทราช ทั้ง ท ว ย เทพ และโล ก บ า ล

ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ ย ม ราช มนุษย์มิตร ผู้เป็นกลาง ผู้จอง ผลาญ

สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม ขอให้สุขศานติ์ทุกทั่วหน้า อย่าทุ ก ข์ทน บุญผองที่ข้าทำจงอำนวยศุภผล

สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง ให้สุขสามอย่างล้น ให้ลุถึงนิพพานพลัน

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ ด้วยบุญนี้ที่เราทำ และอุทิศให้ปวงสัตว์

ขิปปังหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปาทานะเฉทะนัง เราพลันได้ ซึ่งการตัด ตัวตัณหา อุปาทาน

เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง สิ่งชั่ ว ในด ว งใจ กว่าเราจะถึงนิพพาน

นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว มลาย สิ้นจากสันดาน ทุก ๆ ภพ ที่เราเกิด

อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา มีจิตตรง และสติปัญญาอันประเสริฐ พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูด กิเลสหาย

มารา ละภันตะ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม โอกาส

พุทธาทิปะวะโร นาโถธัมโม นาโถ วะรุตตะโม พระพุทธผู้วรนาถ พระธรรมที่พึ่งอุดม นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง พระปัจเจกะพุทะสมทบ พระสงฆ์ ที่ผึ่งพยอง เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา ด้วยอานุภาพนั้น อย่าเปิดโอกาสให้แก่ม า ร (เทอญ)

บทกรวดน้ำแบบสั้น

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุข สุขใจเถิดฯ

บทกรวดน้ำมีทั้งแบบสั้นและมีแบบยาว เมื่อได้ทำบุญเสร็จในทุกๆครั้งมมั่นกรวดน้ำอยู่เป็นประจำ เพื่อเป็นการส่งผลบุญที่เราตั้งใจส่งผลบุญไปให้ ทำให้ตัวเรานั้นมีความสุขมีความสบายใจ มีการสะสมบุญให้กับตนเองที่เพิ่มมากขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : chababaanna , dhammajak , kaentong , dhamma , kapook

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่