3 จบก่อนนอน ชีวิตเจริญรุ่งโรจน์ พระคาถาห้ามทุกข์ หลวงปู่ครูบาธรรมชัย

0

3 จบก่อนนอน ชีวิตเจริญรุ่งโรจน์ พระคาถาห้ามทุกข์ หลวงปู่ครูบาธรรมชัย

หากใครอยากมีชีวิตที่รุ่งเรืองโชติช่วงชัชวาลไปด้วยสิ่งดีงาม แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง ในวันนี้ทางเพจเราได้นำเสนอเกี่ยวกับคาถาดีๆจากหลวงปู่ครูบาธรรมชัย ให้เพื่อนๆพี่น้องได้ทำการสวดมนต์เจริญภาวนาและสวดคาถาดังต่อไปนี้

นี่คือคาถาพระพุทธเจ้าห้ามทุกข์ ของหลวงปู่ครูบาธรรมชัย พระอริยสงฆ์ชื่อดังแห่งชาวล้านนา

ให้ตั้ง นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)

พุทธัง ธัมมัง สังฆัง จาติกันตัง

มะระณะกัน ปาณาติกัน สารพัดกันกัน

พุทธัง อะระหัง จังงัง ภาเว

สัมปะฏิจฉามิ เม สัมมุขา สัพพาหะระติ เต

สัมมุขา อิอะระนัง อะระหัง กุสะลา

ธัมมา สัมพุทโธ ทุ สะ นะ โส นะโม พุทธายะ

สวด 3 จบ พระคาถานี้มีคุณวิเศษ ดลให้ชีวิตรุ่งเรือง แคล้วคลาด จากสิ่งร้าย อันตรายต่างๆ เป็นที่รักชื่นชมของผู้คนทั่วไปทุกแห่งหน

ประวัติหลวงปู่ครูบาธรรมชัย

ครูบาธรรมชัย นามเดิมว่า กองแก้ว เมืองศักดิ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2457 ตรงกับเดือน 9 เหนือ ขึ้น 14 ค่ำ ปีขาล ฉศก ทางเหนือเรียกว่า ปีกาบยี่ ร.ศ. 133 จุลศักราช 1276 ถือกำเนิดที่หมู่บ้านสันป่าสัก หมู่ที่ 6 ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของนายสุจา หรือหนานพรหมเสน

มารดาชื่อนางคำป้อ บิดามารดามีอาชีพแพทย์แผนโบราณและช่างไม้ ทำสวน ทำนา มีพี่น้องร่วมท้องมารดาเดียวกัน 7 คน ท่านเคารพบูชาในบิดา มารดามาก เชื่อฟังคำสั่งสอนอยู่ในโอวาทของผู้บังเกิดเกล้าอย่างเคร่งครัด ท่านเป็นผู้มีนิสัยพูดจริง ทำจริง ไม่เหลาะแหละเหลวไหล สนใจในธรรมะ ชอบเข้าวัดเข้าวามาตั้งแต่เล็ก ๆ เพราะบิดาเคยบวชเรียนมาแล้วรอบรู้ในอรรถในธรรม จึงได้อบรมปลูกนิสัยลูกทุก ๆ คนให้ยึดมั่นในพระรัตนตรัย

ท่านได้เข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนประชาบาล ณ บ้านสันป่าสัก จบชั้นประถมปีที่ 3 มีความประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน กิริยามารยาทเรียบร้อย มีความอุตสาหพยายาม เป็นผู้มีความเสียสละ กตัญญูกตเวทีตาต่อบุพการี

เมื่อท่านเรียนจบชั้นประถม 3 อายุได้ 15 ปี ครูบาธรรมชัย ได้เข้าอบรมเป็นศิษย์วัดสันป่าสักอยู่ 3 เดือน หัดท่องเรียนเขียนอ่านตัวอักขระพื้นเมืองเหนือและเรียนสวดมนต์สิกขาสามเณร โดยมีพระบิดา และพระอินหวันเป็นผู้สอน เมื่อท่องเรียนเขียนอ่านได้คล่องแล้ว จึงได้บวชเป็นสามเณรในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2471 เดือน 6 เหนือ ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก ทางเหนือเรียกว่าปีเบิกสี เจ้าอธิการคำมูล ธัมวงฺโส วัดแม่สารบ้านตอง เป็นอุปัชฌาย์

เป็นสามเณรอยู่ได้ 1 พรรษา มีความสนใจในสมถกรรมฐานมาก ไม่ว่าจะทำงานอะไรอยู่ที่ไหน จิตใจคอยครุ่นคิดอยู่แต่เรื่องการธุดงค์ของพระสงฆ์องค์เจ้า รุ่นครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่บวชเรียนแล้วนิยมพากันเข้าป่าบำเพ็ญเพียรภาวนา แสวงหาธรรมวิเศษ เราเป็นสามเณรน้อย ก็ได้ชื่อว่าบวชเรียน เข้ามาอาศัยในพระศาสนา ควรจะออกเดินทางเข้าป่าดูบ้าง เพื่อแสวงหาพระธรรมอันวิเศษ

หลังจากครุ่นคิดไตร่ตรองอยู่หลายวัน ท่านจึงได้เข้าไปกราบลาสมภารเจ้าวัดว่า ขอลาเข้าไปบำเพ็ญกรรมฐานในป่าสักหนึ่งพรรษา สมภารเจ้าวัดตกใจ เพราะยังเห็นว่าเป็นสามเณรอ่อนพรรษา ไม่ประสีประสาในเรื่องอรรถธรรมตลอดจนวัตรปฏิบัติของพระธุดงค์ดีพอ ขืนเข้าไปอยู่ป่าอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้โดยง่าย จึงได้ห้ามปราบไว้ แต่ครูบาธรรมชัย หรือสามเณรกองแก้วในสมัยนั้น ก็ยืนกรานที่จะเดินธุดงค์เข้าป่า ไปกระทำความเพียรแต่เพียงผู้เดียวให้จงได้

สมภารเจ้าวัดอ่อนอกอ่อนใจ เลยอนุญาตให้ไปได้ตามปรารถนา ไม่อยากชัดศรัทธาให้เป็นบาป และยังได้แนะนำแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานในป่าให้หลายอย่าง ด้วยความเมตตาเอ็นดู

สามเณรกองแก้ว (ครูบาธรรมชัย) บำเพ็ญกรรมฐานอยู่ในป่าห้วยน้ำดิบสามเดือน จึงได้กลับมาอยู่วัด ได้เข้าเรียนนักธรรมกับพระภิกษุแดง วัดพระยืน ต่อมาเมื่ออายุ 19 ก็สอบนักธรรมตรีได้ และได้เรียนนักธรรมโทที่วัดมหาวัน สอบนักธรรมโทได้เมื่ออายุ 20 ปี ในปีนี้เอง ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้นามฉายาว่า “ธมมชโย” ณ พัทธสีมา วัดหนองหล่ม ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

เมื่ออุปสมบทแล้วมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสันป่าสักบ้านเกิด พระปินตาได้สึกออกไป พระอินหวันเป็นเจ้าอาวาส ครูบากองแก้ว ธมมชโย จึงได้รับแต่ตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสแทนพระปินตา ต่อมาท่านได้เป็นครูสอนนักธรรมที่สำนักวัดสันป่าสักและวัดน้ำพุ ตำบลเดียวกัน และสอนโรงเรียนประชาบาลด้วย สอนอยู่เป็นเวลาถึง 6 ปี

ในระหว่างที่สอนอยู่นี้ เมื่อมีเวลาว่างก็ได้เดินทางไปนมัสการครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่กำลังมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในสมัยนั้น ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย และหมั่นไปมาหาท่านอยู่เสมอด้วยความเคารพเลื่อมใสบูชาเป็นปรมาจารย์

หลวงปู่ครูบาธรรมชัย ธัมมชโย มรณภาพด้วยอาการอันสงบเมื่อเวลา 20.30 น. ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 รวมสิริอายุได้ 73 ปี 6 เดือน หลวงปู่ครูบาธรรมชัย ธัมมชโยได้ประกอบ ภาระหน้าที่ของพระสงฆ์ ที่มีต่อประเทศชาติ พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ได้ครบถ้วนบริบูรณ์ทุกประการ คณะศิษย์ได้อาราธนาพระสรีระร่าง ของหลวงปู่เก็บรักษาประดิษฐานไว้ในโลงแก้ว ณ วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่เพื่อให้ศรัทธาประชาชนได้กราบสักการบูชาจนถึงปัจจุบัน

ขอขอบคุณ : palungjit

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่