ผู้ใช้รถหลายคน ที่ไม่เคยรู้ ต่อ พรบ รถทุกปี เบิกได้สูงถึง3แสน

0

ผู้ใช้รถหลายคน ที่ไม่เคยรู้ ต่อ พรบ รถทุกปี เบิกได้สูงถึง3แสน

การต่อพรบรถยนต์ หรือที่เรียกว่าประกันรถยนต์ภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่เรามักจะเรียกติดปากกันว่า ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Third Party Insurance)

โดยมีมาตรการบังคับไว้ว่า รถยนต์หรือว่ารถจักรยานยนต์ทุกคัน จะต้องทำประกันนี้เอาไว้ และทุกครั้งที่จะต้องเสียภาษีต่อทะเบียนรถ จำเป็นจะต้องซื้อพรบควบคู่กันไปด้วย เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ที่ประสบเหตุจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นหลัก

การคุ้มครองนั้นมีหลายกรณี และครอบคลุมถึงการใช้เบิกได้ดังต่อไปนี้

– ค่าเสียหายเบื้องต้นที่ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

1 ได้ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ จ่ายตามความจริงสูงสุดไม่เกิน 30000 บาทต่อคน

2 ในกรณีที่เสีย ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะ หรือทุพพลภาพ อย่างถาวร ได้ 30,000 บาทต่อคน

หากเกิดการเสียหายรวมกันทั้งข้อ 1 และข้อ 2 จะต้องได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อคน

3 ได้รับค่าสินไหมทดแทน ซึ่งที่ผู้เครมประกันจะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดตามกฎหมาย โดยมีเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นดังต่อไปนี้

กรณีที่เป็นฝ่ายถูก

1 ได้ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บสูงสุดไม่เกิน 80000 บาทต่อคน

2 การเสียหรือทุพพลภาพ อย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน

3 เสียอวัยวะ

3.1 ในกรณีที่เสียมือตั้งแต่ข้อมือหรือแขนหรือเท้า ตั้งแต่ข้อเท้าหรือขาหรือสายตาแต่อย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ตั้งแต่กรณีทั้งสองกรณีนี้ขึ้นไปได้ 300 บาท

3.2 ในกรณีที่เสียมือตั้งแต่ข้อมือหรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้าหรือขาหรือสายตา หรือหูหนวก ใบ้ เสียความสามารถในการพูดหรือลิ้น อวัยวะต่างๆ ความสามารถในการสืบพัน เสียอวัยวะอื่นๆ 205,000 บาท

3.3 ในกรณีสูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้วได้ 200,000บาท

4 ค่าชดเชยการรักษาตัว ในกรณีผู้ป่วย ได้ 200 บาทต่อวันแต่ไม่เกิน 20 วันหรือค่าชดเชยไม่เกิน 4,000 บาท

5 จำนวนเงินในการคุ้มครองสูงสุดต้องรวมกันไม่เกิน 304,000 บาท

6 วงเงินในการคุ้มครองรับผิดชอบสูงสุด ต่อเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5 ล้านบาทต่อครั้ง

7 วงเงินคุ้มครองรับผิดชอบสูงสุดต่อเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10 ล้านบาทต่อครั้ง

เอกสารที่เราจะต้องใช้เคลมพรบ

ในกรณีที่บาดเจ็บ

1 สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบเหตุ

2 ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ ในกรณีที่เบิกค่าชดเชยหรือเป็นผู้ป่วยใน

ในกรณีทุพพลภาพ

1 สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบเหตุ

2 ใบรับรองทางการแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน

ในกรณีที่เสีย จากไป

1 สำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่ประสบเหตุ

2 ใบรับรองทางการแพทย์ และหนังสือรับรองความพิ การ

3 สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นๆที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการเกิดเหตุจากรถ

4 ใบมรณบัตร

5 สำเนาบัตรประชาชน ทายาทสำเนาทะเบียนบ้าน

6 สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ชีวิตแล้ว เพราะประสบภัยจากรถ

7 เมื่อเตรียมเอกสารทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว สามารถทำเรื่องในการขอเบิกจ่ายจากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ

ในเรื่องของการเบิกจ่ายเงินจะทำการภายใน 7 วัน ซึ่งพรบ จะทำการคุ้มครองผู้ที่เสียหายในส่วนของคนเท่านั้น ส่วนทรัพย์สินหรือตัวรถจะไม่ได้มีการคุ้มครองแต่อย่างใด

ฉะนั้นแล้วผู้ที่ขับขี่รถควรจะทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือที่เรียกว่าประกันรถยนต์ ควบคู่กันไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ชั้น 2 หรือชั้น 3 ก็ควรทำติดเอาไว้ เผื่อกรณีเกิดเหตุโดยไม่ทันคาดฝัน

เมื่อทำความเข้าใจกับบทความที่นำมาฝากในวันนี้เรียบร้อยแล้ว หวังว่าจะได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพรบกันมากขึ้น จำไว้ให้ขึ้นใจก่อนที่จะเสียสิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตามควรที่จะขับขี่อย่างระมัดระวัง และหากเกิดเหตุขึ้นมาควรที่จะมีความรู้เกี่ยวกับพรบนี้ติดตัวเอาไว้ด้วยนะคะ

เขียน / เรียบเรียงโดย : Postsod

ขอขอบคุณข้อมูลส่วนหนึ่งจาก : tipinsure

ไม่อนุญาตให้คัดลอก ทุกกรณี บทความมีลิขสิทธิ์

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่