จะทนเจ็บอยู่ทำไม!! นิ้วล็อก นิ้วชา แก้ไขได้ไม่ยาก เพียงทำตามขั้นตอนนี้
อาการนิ้วล็อคมักเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การใช้คอมเป็นเวลานาน หรือใช้มือในการรับน้ำหนักอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้ แต่การอาจรวมกับปัญหาด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อที่มือได้เช่นกัน
เมื่อมีอาการนิ้วล็อค อาจจะเกิดอาการดังนี้
– รู้สึกดังกึกเมื่อต้องงอหรือยืดนิ้ว
– เกิดอาการนิ้วแข็ง ซึ่งมักเกิดขึ้นตอนเช้า
– รู้สึกตึงและรู้สึกเหมือนมีบางอย่างนูนขึ้นมาตรงโคนของนิ้วที่ล็อค
– นิ้วล็อคเมื่องอนิ้ว ซึ่งเกิดขึ้นทันทีที่ยืดนิ้วกะทันหัน
– นิ้วล็อคเมื่องอนิ้วโดยไม่สามารถยืดนิ้วกลับมาได้
สาเหตุของนิ้วล็อค
เอ็นคือพังผืดที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูกไว้ด้วยกัน ซึ่งเอ็นและกล้ามเนื้อที่มือและแขนจะช่วยให้นิ้วมืองอและยืดได้ โดยเอ็นแต่ละส่วนถูกล้อมรอบไว้ด้วยปลอกหุ้มเอ็น อาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้นเมื่อปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วอักเสบหนาตัวขึ้น ซึ่งทำให้เอ็นและปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วไม่สามารถยืดหรืองอได้ตามปกติ
ปัจจัยที่เสี่ยงให้เกิดอาการนิ้วล็อคนั้น ได้แก่
– การถือหรือแบกของนาน อาชีพหรือกิจกรรมที่ต้องใช้มือทำและทำให้มือรับน้ำหนักเป็นเวลานาน รวมทั้งทำซ้ำบ่อย ๆ เช่น ทำสวน ตัดแต่งต้นไม้ ใช้ไขควงทำงาน หรือใช้อุปกรณ์ที่ต้องออกแรงกด กิจกรรมลักษณะนี้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดอาการนิ้วล็อค ผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกิดอาการนิ้วล็อค ซึ่งเกิดจากการใช้นิ้วมือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงหรือลงน้ำหนักเยอะรวมทั้งทำกิจกรรมนั้นซ้ำๆ มักเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพชาวนา ชาวไร่ พนักงานโรงงาน ผู้ใช้แรงงาน และนักดนตรี เนื่องจากหน้าที่ของอาชีพเหล่านี้ทำให้ต้องใช้มือทำงานในลักษณะที่กล่าวมา นอกจากนี้ ผู้ที่สูบบุหรี่ก็สามารถเกิดอาการนิ้วล็อคได้ โดยนิ้วโป้งจะล็อค เพราะต้องใช้งานในการจุดไฟแช็คบ่อย อย่างไรก็ดี อาการนิ้วล็อคมักพบได้ทั่วไปในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบ่อยที่สุดกับผู้ที่มีอายุ 40-60 ปี
– ปัญหาสุขภาพ บางครั้งอาการนิ้วล็อคอาจเกี่ยวข้องกับการป่วยด้วยโรคที่ก่อให้เกิดการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อที่มือ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) โรคเกาต์ เบาหวาน โรคอะไมลอยด์โดซิส (Amyloidosis) และโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) ก็เสี่ยงต่อการเกิดอาการนิ้วล็อค โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการของโรคที่ตนป่วยขึ้นร่วมด้วย
การวินิจฉัยนิ้วล็อค
– หากพบว่าเกิดอาการข้อต่อตรงนิ้วแข็งหรือล็อค ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจมือและวินิจฉัย และหากข้อต่อนิ้วเกิดอาการแสบร้อนหรืออักเสบก็ควรรักษาทันที เนื่องจากอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณบอกว่าผู้ป่วยอาจติดเชื้อได้ โดยแพทย์ที่ทำการวินิจฉัยอาการนิ้วล็อคมักเป็นแพทย์ทั่วไป แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และอายุรแพทย์
– การวินิจฉัยนิ้วล็อคนั้นไม่ต้องทำการตรวจด้วยการเอกซเรย์หรือการตรวจในห้องปฏิบัติการ ขั้นแรกแพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติการรักษาของผู้ป่วยและการตรวจร่างกายปกติ โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยลองกำมือแบมือ เพื่อดูว่าผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บบริเวณใด สามารถกำมือแบมือได้ตามปกติหรือไม่ และเกิดอาการนิ้วล็อคตรงไหน ทั้งนี้ แพทย์อาจคลำมือผู้ป่วยเพื่อดูว่าเกิดก้อนที่มือหรือไม่ โดยก้อนบนมือที่เกี่ยวข้องกับอาการนิ้วล็อคนั้นจะเคลื่อนไปตามที่นิ้วมือเคลื่อนไหว เพราะก้อนดังกล่าวยึดอยู่กับเอ็นที่ติดกับนิ้ว
จากตัวอย่างคนไข้ของ หมอนัท คุณนา มีอาการ ปวดข้อนิ้วมือ นิ้วล็อค ปวดไหล่ นอนหลับค่อนข้างยาก เป็นภูมิแพ้บ่อยๆ กลางคืนตื่นขึ้นมาปัสสาวะ 2 ครั้ง ตรวจพบว่ามีอาการไทรอยด์ เคยมีอาการบวมทั้งสองมือ
พฤติกรรมครั้งแรกที่มาพบหมอ ดื่มน้ำเปล่า สองแก้ว/วัน ที่เหลือเป็นเครื่องดื่มอื่นๆ ผู้ที่เป็นไทรอยด์แสดงถึงธาตุไฟกำลังรุนแรง ทำให้เกิดการอักเสบ ธาตุดินแข็ง ไปหมด
วิธีแก้ไขธาตุทั้ง 5
ดูแลธาตุน้ำ (ไต, กระเพาะปัสสาวะ) และ ธาตุโลหะ (ปอด, ลำไส้ใหญ่)
เพิ่มกำลังของไต : ลดการทานอาหารที่ทำร้ายไต ของเค็ม ของหวาน ชาเย็น ชามะนาว กาแฟ สมุนไพรช่วยบำรุงไต เช่น งาดำ กระชาย หญ้าหนวดแมว ชาตะไคร้ ขลู่ เห็ดหลินจือ โสม
สมุนไพรตำรับ : จตุผลาธิกะ, ยาน้ำเบญจพันธ์, ตรีผลา ช่วยเพิ่มน้ำในเลือด
วิธีทำให้ปอด และลำไส้ทำงานได้ดี : ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น ทำให้ลำไส้สะอาด เช่น ทำดีท็อกซ์ หรือทานไฟเบอร์ ฝึกหายใจให้ยาวขึ้น
สมุนไพรตำรับ : ธรณีสัณฑะฆาต ยาหอม ทานก่อนนอน
วิธีนวดมือ
1. การนวดมือด้วยยาหม่อง น้ำมันเหลือง หรือน้ำมันงา น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันมะพร้าว ที่มือ และนิ้วจะทำให้หลอดเลือดนิ่ม กล้ามเนื้อนิ่ม และเลือดสามารถไหลเวียนได้ดี น้ำมันที่ดีจะมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มากจะทำให้หลอดเลือดที่แข็งอักเสบดีขึ้น
2. แช่มือด้วยน้ำอุ่น นอกจากนี้ที่พบได้บ่อยคือ กล้ามเนื้อที่คอค่อนข้างตึง ให้ทำท่า บิดคอ 45 องศาแล้วก้มลง มือชาเลือดไม่เลี้ยงให้ท่าบิดมือลงด้านล่าง
ทานสมุนไพรช่วยคลายกล้ามเนื้อ : กำลังเสือโคร่ง เถาเอ็น โคคลาน ฮ่อสะพายควาย ปู่เฒ่าทิ้งไม้เท้า
ท้ายสุด คือ ความเครียด เพราะจะทำให้หลอดเลือดแข็ง และ กล้ามเนื้อเกร็งจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ การหายใจที่ปกติแสดงถึงความไม่เครียด ดังนั้นลองสังเกตที่ลมหายใจก่อนนอน ทำให้เป็นธรรมชาติ ย้ำอีกครั้งว่า อย่าลืมดื่มน้ำให้มากๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : nutthearokaya , pobpad