หยุดหยิบยื่นสิ่งนี้!! ถ้าไม่อยากให้ลูกเป็น “โรคสมาธิสั้น”
คุณพ่อคุณแม่สมัยนี้ เลือกที่จะฝากลูกไว้กับพี่เลี้ยงจำเป็นสายเอนเตอร์เทน ที่มาพร้อมกับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน สามารถพกพาไปไหนต่อไหนก็ได้ ช่วยให้ลูกไม่วิ่งซน อีกทั้งยังช่วยทำให้ลูกได้กินข้าวเยอะขึ้นอีกด้วย!
– แต่หารู้ไม่ว่า พี่เลี้ยงคนนี้นี่ล่ะ ที่ดูเหมือนจะใจดี กลับกลายเป็นพี่เลี้ยงเลือดเย็น ที่จะมาทำร้ายลูกน้อยของเราโดยที่ไม่รู้ตัว ดังที่คุณพ่อคุณแม่จะเห็นได้ว่า มีหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย ที่ออกมาช่วยกันรณรงค์ให้คุณพ่อคุณแม่พยายามหยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ที่ดูแล้วน่าห่วงเป็นที่สุด
– ด้วยวัยของพวกเขาที่กำลังอยู่ในช่วงของการเรียนรู้และการพัฒนา อาจส่งผลกระทบให้ลูกต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สายตาสั้น โรคส่วนตัวสูง มีปัญหาในการเข้าสังคม ไม่พูดจากับใคร อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ที่สำคัญส่งผลร้ายแรงจนทำให้เด็กกลายเป็นโรคสมาธิสั้น!
ปัจจุบัน การเลี้ยงดูบุตรหลานให้อยู่กับสื่อมีเดียต่างๆ เป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กไทยมีภาวะความเสี่ยงการป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นมากขึ้น หลังกระทรวงสาธารณสุข พบว่าเด็กไทยป่วยสมาธิสั้นกว่า 1 ล้านคน และกว่าครึ่งจะมีปัญหาสุขภาพจิตตามมา
จากปัญหานี้เอง ทำให้อธิบดีกรมสุขภาพจิต นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ ต้องออกมาเตือนคุณพ่อคุณแม่ทุกคน ให้หยุดหยิบยื่นและฝากลูกไว้กับสิ่งเหล่านี้เสียที!!
อธิบดีกรมสุขภาพจิต เผยเด็กไทยป่วย “ไฮเปอร์” กว่า 4.2 แสนคน แถมเด็กเล็กป่วย “ไฮเปอร์เทียม” อีกเพียบ โดยต้นเหตุนั้นมาจากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยลูกไว้กับมือถือ แท็บเล็ต จนกระทบการทำงานสมอง พูด อ่าน เขียนแย่ แนะให้ลูกเลิกเล่นมือถือ และปล่อยเล่นกับเด็กวัยเดียวกัน
นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ออกมาเปิดเผยว่า ในกลุ่มเด็กนักเรียนอายุ 6-15 ปี ที่มีปัญหาผลการเรียนไม่ดี เรียนไม่ทันเพื่อนนั้นมักจะพบมี 4 โรคทางจิตเวชแอบแฝงที่พบบ่อย คือ
1. ออทิสติก
2. สมาธิสั้น
3. แอลดีหรือภาวะบกพร่องในการเรียนรู้
4. สติปัญญาบกพร่อง
จากสถิติพบว่า มีเด็กป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นพบมากที่สุด ซึ่งผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตปี 2559 ร้อยละ 5.4 คาดว่ามีเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น 420,000 คน จากประชากรเด็ก 7 ล้านคน หรือพบได้ 2-3 คนต่อห้องเรียนที่มีเด็ก 40-50 คน และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งอาการที่แสดงออกได้แก่ ซนอยู่ไม่นิ่งขาดสมาธิ หุนหันพลันแล่น หรือมักเรียกว่า “โรคไฮเปอร์” โดยเด็กจะวอกแวก ทำงานตก ๆ หล่น ๆ ทำอุปกรณ์การเรียนหายประจำ ซุ่มซ่าม ใจร้อน วู่วาม ซึ่งเกิดจากสมองทำงานผิดปกติ และมักมีอาการชัดเจนในช่วงประถมศึกษา
นพ.บุญเรือง กล่าวต่อว่า หากผู้ปกครองหรือครูไม่เข้าใจ และคิดว่าเป็นเด็กซน เด็กดื้อ จะทำให้เด็กขาดการรักษาที่ถูกต้อง เกิดปัญหาอารมณ์และพฤติกรรมที่อาจส่งผลถึงอนาคตได้ เช่น เสี่ยงติดสารเสพติด ก่ออาชญากรรม เป็นต้น
และที่น่าห่วงมากขณะนี้ พบว่าเด็กเล็กที่ปกติกลายเป็นโรคไฮเปอร์เทียมมากขึ้น คือมีอาการคล้ายโรคไฮเปอร์ แต่ยังไม่ถึงขั้นป่วย เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ตามใจ ปล่อยให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ เล่นแท็บเล็ต สมาร์ทโฟนเพื่อทำให้เด็กนิ่ง ไม่ซน
แต่ในวงการจิตแพทย์พบว่าความเร็วของภาพในเกมซึ่งเปลี่ยนเร็วทุก 3 วินาที จะส่งผลโดยตรงต่อสมองทำงานไม่ลงตัว คุมสมาธิไม่ได้ ทำให้ทักษะการอ่าน การเขียน การพูดของเด็กแย่ลง อารมณ์ร้อน รอคอยไม่เป็น มีปัญหาการอยู่ร่วมกับเด็กวัยเดียวกันหรือคนอื่น
ดังนั้นขอเตือนผู้ปกครองระวัง อย่าให้เด็กเล็กเล่นเกมจากอุปกรณ์เหล่านี้ หากให้หยุดเล่นได้เร็วอาการจะค่อยๆหายไป และควรให้เด็กได้เล่นกับเด็กวัยเดียวกัน เพื่อให้เด็กมีทักษะและพัฒนาการทุกด้าน
ขอขอบคุณ : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์