แจกฟรีเทคนิค! วิธีการทำกากน้ำตาลพร้อมประโยชน์
สวัสดีครับ..วันนี้เราขอนำเสนอเทคนิควิธีการทำกากน้ำตาลพร้อมทั้งประโยชน์มาฝากกันครับ ทั้งนี้เราสามารถทำเองเพื่อใช้ประโยชน์ทางก้านเกษตรกรและการเลี้ยงสัตว์ได้ มาดูขั้นตอนวิธีการทำกันเลยครับ
กากน้ำตาล (molasses) เป็นของเหลวที่มีลักษณะหนืดข้น มีสีดำอมน้ำตาล ซึ่งเป็นผลผลิตอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิตน้ำตาลทราย โดยมีอ้อยเป็นวัตถุดิบ กากน้ำตาลนี้ จะแยกออกจากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายในขั้นตอนสุดท้าย ด้วยการแยกออกจากเกล็ดน้ำตาลโดยวิธีการปั่น (Centrifuge) ซึ่งไม่สามารถตกผลึกเป็นเกล็ดน้ำตาลได้ด้วยวิธีทั่วไป และไม่นำกลับมาใช้ผลิตน้ำตาลทรายอีก
วิธีทำกากน้ำตาล
กากน้ำตาลที่แท้จริง คือ ส่วนที่เป็นผลพลอยได้จากการตกตะกอนผลึกน้ำตาล ซึ่งจะเป็นน้ำสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีการตกผลึก ดังนั้น การผลิตกากน้ำตาลที่แท้จริง คือ การเคี่ยวน้ำอ้อยจนตกผลึก และแยกผลึกน้ำตาลออก ส่วนสารละลายสีดำที่เหลือก็คือ กากน้ำตาล
หากใช้น้ำอ้อย 10 ลิตร เมื่อตกผลึกน้ำตาล และแยกน้ำตาลออกก็จะได้กากน้ำตาลประมาณ 50 ซีซี เท่านั้ัน แต่หากผลิตเพื่อใช้เอง ด้วยน้ำอ้อยปริมาณไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวน้ำตาลให้ตกผลึก แต่เคี่ยวให้เข้มข้นจนสารละลายมีสีน้ำตาลใกล้เคียงกับกากน้ำตาลก็สามารถทำไปใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน แต่จะไม่ใช่กากน้ำตาลที่แท้จริง หรืออาจเรียกว่า กากน้ำตาลเทียม หรือ กากน้ำตาลผสม
ขั้นตอนการทำกากน้ำตาล
– นำลำอ้อยเข้าเครื่องหีบอ้อย จนได้น้ำอ้อยประมาณ 10 ลิตร หรือตามปริมาณที่ต้องการ
– น้ำน้ำอ้อยมากรองด้วยตะแกรงถี่เพื่อแยกกากออก
– นำน้ำอ้อยมาต้มเคี่ยวจนได้สารละลายที่มีสีน้ำตาลอ่อนหรือเคี่ยวจนสารละลายเริ่มตกผลึกเป็นเกล็ดน้ำตาล
– ยกหม้อเคี่ยวลง พักไว้ให้เย็น ก่อนบรรจุในภาชนะสำหรับนำไปใช้ประโยชน์
ประโยชน์กากน้ำตาล
- กากน้ำตาล ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตเอทานอล เพื่อใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมันเบนซิน 91 หรือ 95 หรือที่เรียกว่า แก๊สโซฮอล์ ทั้งนี้ กากน้ำตาลปริมาณ 1 ตัน จะผลิตเอทานอลได้ประมาณ 250 ลิตร
- กากน้ำตาลถูกใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมหลายประเภท ได้แก่
- อุตสาหกรรมผลิตแอลกอฮอล์ และสุรา
- อุตสาหกรรมผลิตกรดมะนาว กรดน้ำส้ม และกรดแลคติก
- อุตสาหกรรมผลิตผงชูรส ซอส และซีอิ๊ว
- อุตสาหกรรมผลิตยีสต์ และขนมปัง
- อุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์
- กากน้ำตาลใช้เป็นส่วนผสมของหญ้าหมัก หรือใช้ผสมในอาหารข้น เพื่อเพิ่มแหล่งคาร์โบไฮเดรต และเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการหมักให้เกิดรวดเร็วมากขึ้น เพราะช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียผลิตกรด [3] นอกจากนั้น ยังช่วยปรับปรุงรสของอาหารหยาบ และส่งเสริมการเติบโตของแบคทีเรียในกระเพาะ
- กากน้ำตาลใช้เป็นส่วนผสมของปุ๋ยหมักหรือสารปรับปรุงดิน เพราะในกากน้ำตาลมีธาตุอาหารที่ครบถ้วน
- กากน้ำตาลใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมักชีวภาพ เป็นแหล่งอาหารสำคัญเพื่อให้จุลินทรีย์ผลิตกรดเติบโต และช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางธาตุอาหาร และกลิ่นของน้ำหมัก
- กากน้ำตาลเป็นผลพลอยได้ที่สร้างรายได้ให้แก่อุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล ด้วยการส่งจำหน่ายยังต่างประเทศเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งในอุตสาหกรรม และการเกษตร โดยส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศบราซิล เพราะบราซิลเป็นประเทศผลิตน้ำตาลอันดับแรกของโลก
ที่มา : puechkaset.com