สำหรับวันนี้แอดมินได้นำเรื่องที่น่าสนใจอย่าง เรื่องของการจองหรือการกู้บ้าน เพราะตอนนี้ บ้านประชารัฐได้ออกมาพร้อมจองแล้วจ้า ราคาจองเพียง 1,000 บาท และที่สำคัญ ผ่อนบ้านเพียงเดือนล่ะ 3,000 เท่านั้นเองจ้า ทางโครงการบ้านประชารัฐได้เปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยจอง เพื่อที่จะได้มีที่อยู่อาศัย และที่สำคัญการผ่อนก็สบายกระเป๋า เราไปอ่านรายละเอียดพร้อมๆกันเลยจ้า
โครงการบ้านประชารัฐเป็นการปล่อยกู้ให้ผู้ มีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัย ในราคาไม่เกิน 700,000 บาท และไม่เกิน 1,500,000 บาท เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ทั้งผู้ที่มีรายได้ประจำ เช่น ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระ ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาก่อน ให้สามารถมีที่อยู่อาศัยในราคาที่ไม่เกิน 1,500,000 บาท เป็นของตัวเอง หรือซ่อมแซมและต่อเติมที่อยู่อาศัย ผ่านการปล่อยกู้จากธนาคาร 3 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์
โดยเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐ จะต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน หรือเป็นบ้านหลังแรก ราคาที่อยู่อาศัยรวมที่ดินไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ได้ทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง หรือบ้านที่ปลูกในที่ของตัวเอง โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะบ้านที่รัฐจะสร้างใหม่บนที่ราชพัสดุ สำหรับการกู้เพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซมนั้น ผ่อนปรนให้ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย แต่ให้กู้ไม่เกิน 5 แสนบาท
ทั้งนี้ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ จะแบ่งวงเงินกู้โครงการบ้านประชารัฐเป็นสองส่วน คือ วงเงินกู้ไม่เกิน 7 แสนบาทและวงเงินกู้ระหว่าง 7 แสน – 1.5 ล้านบาท
เงื่อนไข ธนาคารออมสิน
1.วงเงินกู้ไม่เกิน 7 แสนบาท ใช้อัตราดอกเบี้ย ในปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0% ผ่อน 3,000 บาท/เดือน /ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 2% ผ่อน 3,000 บาท/เดือน /ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5% ผ่อน 4,000 บาท/เดือน และปีที่ 7-30 ดอกเบี้ยลอยตัว (MRR) -1.475% ผ่อน 4,000 บาท/เดือน (ข้อมูลเฉพาะธนาคารออมสิน)
2.วงเงินกู้ระหว่าง 7 แสน – 1.5 ล้านบาท ใช้อัตราดอกเบี้ย ในปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 3% ผ่อน 7,200 บาท/เดือน /ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5% ผ่อน 8,600 บาท/เดือน และปีที่ 7-30 ดอกเบี้ยลอยตัว (MRR) -1.475% ผ่อน 9,100 บาท/เดือน (ข้อมูลเฉพาะธนาคารออมสิน)
เงื่อนไข ธนาคารอาคารสงเคราะห์
(1) อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษสำหรับกรณีวงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัย ราคาไม่เกิน 7 แสนบาทต่อหน่วย และกรณีวงเงินสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมและ/หรือต่อเติมอาคารวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาทต่อหน่วย คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนี้
ปีที่ 1 = 0.00% ต่อปี
ปีที่ 2 – ปีที่ 3 = 2.00% ต่อปี
ปีที่ 4 – ปีที่ 6 = 5.00% ต่อปี
ปีที่ 7 – ปีที่ 30 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว = MRR-0.75% ต่อปี
(2) อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนสำหรับกรณีวงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัย ราคามากกว่า 7 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนี้
ปีที่ 1 – ปีที่ 3 = 3.00% ต่อปี
ปีที่ 4 – ปีที่ 6 = 5.00% ต่อปี
ปีที่ 7 – ปีที่ 30 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
– กรณีลูกค้ารายย่อย = MRR-0.75% ต่อปี
– กรณีลูกค้าสวัสดิการ = MRR-1.00% ต่อปี
ขั้นตอนการสมัครโครงการฯ
1. สมัครโครงการบ้านประชารัฐ ธนาคารที่ร่วมโครงการ เอกสารสมัคร (ข้างล่าง)
2. เข้าเวปไซต์ http://www.google.co.th ค้นหาคำว่า ทรัพย์สินรอการขาย
2.1. ธนาคารออมสิน http://properties.gsb.or.th/properties/index.php
2.2. ธนาคารกรุงไทย www.ktb.co.th/npa
2.3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ www.ghbhomecenter.com/ghb
3. ค้นหาและจดเลขที่ทรัพย์สินที่สนใจ ในวงเงินที่กำหนด
4. โทรสอบถามธนาคารที่ร่วมโครงการ
เอกสารการใช้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2559 จนกว่าจะสิ้นสุดโครงการ 2ปี (ธนาคารออมสิน)
- สำเนาบัตรบัตรประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่อาศัย
3. หนังสือรับรองเงินเดือน (ตัวจริง)
4. สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
หมายเหตุ : กรณีกู้เพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซม วงเงินไม่เกิน 5 แสนบาท บ้านต้องไม่ติดกู้และเป็นเจ้าบ้าน
บ้านประชารัฐคืออะไร
โครงการบ้านประชารัฐ คือ โครงการปล่อยสินเชื่อวงเงิน 70,000 ลบ.ของรัฐบาล เอื้อต่อผู้มีรายได้น้อยให้สามารถซื้อบ้านได้แบบดอกเบื้ยถูกลง แบ่งเป็น
1.สินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอกชนภาคอสังหาริมทรัพย์สร้างที่อยู่อาศัย ในวงเงิน 3 หมื่นลบ. ผ่านธนาคารกรุงไทย ออมสิน และธอส.
2.สินเชื่อให้ประชาชนกู้ซื้อบ้าน ผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ แห่งละ 2 หมื่นลบ. รวม 4 หมื่นลบ.โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี
บ้านประชารัฐจะครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ทุกอันต้องมีราคาไม่เกิน 1.5 ลบ. ไม่ว่าจะสร้างบนที่ดินของตนเอง โครงการของเอกชน หรือสร้างบนที่ดินของรัฐ และยังครอบคลุมไปจนถึงที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ สร้างเสร็จพร้อมอยู่ และทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ รวมทั้ง NPA ของกรมบังคับคดี
โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ทั้งผู้ที่มีรายได้ประจำ เช่น ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระ ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาก่อน ให้สามารถมีที่อยู่อาศัยในราคาที่ไม่เกิน 1.5 ลบ. เป็นของตัวเอง หรือซ่อมแซมและต่อเติมที่อยู่อาศัยโดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2559
บ้านประชารัฐ มีที่ไหนบ้าง
ที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการบ้านประชารัฐมีราคาไม่เกิน 1.5 ลบ. ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งสร้างบนที่ดินของตนเอง โครงการของเอกชน หรือโครงการที่สร้างบนที่ดินของรัฐ ซึ่งครอบคลุมที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ สร้างเสร็จพร้อมอยู่ และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยโครงการของเอกชนจะประกอบไปด้วยโครงการบ้านของ Developers ชั้นนำ เช่น LPN, พฤกษา, ศุภาลัย ซึ่งบางโครงการจะเข้าร่วมบางส่วน (เฉพาะที่ราคาไม่เกิน 1.5 ลบ.) หรือบางโครงการมีราคาไม่เกินนี้อยู่แล้วก็จะเข้าร่วมทั้งหมด
ใครมีสิทธิ์จองบ้านประชารัฐบ้าง
ผู้ขอสินเชื่อจะต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 65 ปี ส่วนการซื้อบ้าน เช่าซื้อ หรือสร้างใหม่ ราคาหลังละไม่เกิน 1.5 ลบ. และเป็นบ้านหลังแรกเท่านั้น โดยผู้ขอสินเชื่อ ต้องไม่เคยมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านมาก่อน ยกเว้นว่า จะเป็นการซ่อมแซมหรือต่อเติมที่อยู่อาศัยรวมทั้งผู้ขอสินเชื่อ ต้องไม่มีชื่อเป็นหรือเคยเป็น “เจ้าบ้าน” ในทะเบียนบ้านที่นำมาแสดงเป็นหลักฐานการยื่นกู้กับธนาคาร และต้องมีชื่อเป็น “ผู้อยู่อาศัย” ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 3 ปี ยกเว้น มีชื่อเป็นเจ้าบ้านแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้านนั้น
สำหรับคนที่มีบ้านแล้ว สามารถขอสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมและตกแต่งที่อยู่อาศัยได้ ในวงเงินกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท คิดดอกเบี้ยเท่ากับกรณีที่กู้บ้านไม่เกิน 7 แสนบาท ทั้งนี้มูลค่ารวมของที่ดินและที่อยู่อาศัยที่จะขอกู้เพื่อซ่อมแซมหรือต่อเติมต้องไม่เกิน 1.5 ลบ.
เงื่อนไขพิเศษสำหรับผู้จองบ้านประชารัฐ
สิทธิพิเศษเพื่อผู้จองบ้านประชารัฐ คือ ไม่จำกัดรายได้ผู้ขอสินเชื่อ ครอบคลุมทั้งข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ บุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมาก่อน
นอกจากนั้นแล้ว ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัย จะลดราคาบ้านให้อีกอย่างน้อย 2% จากราคาขายสุทธิ ทำให้วงเงินขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้านลดลง พร้อม ฟรีค่าโอนกรรมสิทธิ์และค่าจำนอง ฟรีค่าส่วนกลาง 1 ปี แถมดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ ระยะเวลาผ่อนสูงสุดถึง 30 ปี เท่านั้นยังไม่พอ! ธนาคารยังผ่อนปรนสัดส่วนความสามารถชำระหนี้ต่อรายได้เพิ่มเป็นสูงสุดไม่เกิน 50% ของรายได้สุทธิต่อเดือนกรณีลูกค้ารายย่อย จากเดิม 33% อีกด้วย
อัตราดอกเบี้ยและสินเชื่อบ้านประชารัฐ
ในส่วนของประชาชนนั้น แยกเป็นเงินกู้เพื่อซื้อหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 700,000 บ. และไม่เกิน 1.5 ลบ. หรือกรณีกู้เพื่อซ่อมแซมวงเงินไม่เกิน 500,000 บ. จะมีรายละเอียด ดังนี้
โครงการบ้านประชารัฐจะแบ่งวงเงินกู้ออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. วงเงินกู้ต่ำกว่า 700,000 บ.
ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0%
ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 2%
ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5%
ปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี (ปัจจุบัน MRR 6.75%)
* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ออมสิน คิดอัตราดอกเบี้ย MRR – 1.475% (ปัจจุบัน MRR 7.475%)
เราสามารถเลือกผ่อนได้ถึง 30 ปี หากเราขอสินเชื่อในวงเงิน 300,000 – 700,000 บ. เป็นเวลา 10-30 ปี จะต้องเลือกผ่อนจ่ายอย่างไร ดูได้จากตารางด้านล่างนี้
จากตารางด้านบนจะเห็นว่า ถ้าเราขอสินเชื่อ 700,000 บ. ปีที่ 1-3 จะผ่อนแค่เดือนละ 3,000 บ. พอปีที่ 4-6 จะผ่อนเดือนละ 4,100 บ. ขณะที่ปีที่ 7 เป็นต้นไป ผ่อนเดือนละ 4,500 บ.
2. วงเงินกู้ 700,001-1,500,000 บ.
ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 3%
ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5%
ปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี สำหรับลูกค้ารายย่อยทั่วไป และ MRR–1% ต่อปี สำหรับลูกค้าสวัสดิการ
* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ออมสิน คิดอัตราดอกเบี้ย MRR –1.475% สำหรับลูกค้ารายย่อยทั่วไป และ MRR -1.725% ต่อปี สำหรับลูกค้าสวัสดิการ
และหากเราขอสินเชื่อในวงเงิน 700,000-1,500,000 บ. เป็นเวลา 10-30 ปี จะต้องเลือกผ่อนจ่ายอย่างไร ดูได้จากตารางด้านล่างนี้
และถ้าหากเราขอสินเชื่อ 1.5 ลบ. และขอผ่อนชำระ 30 ปี ปีที่ 1-3 จะผ่อนแค่เดือนละ 7,200 บ. พอปีที่ 4-6 จะผ่อนเดือนละ 8,900 บ. ขณะที่ปีที่ 7 เป็นต้นไป ผ่อนเดือนละ 9,700 บ.
กรณีกู้ซ่อมแซม หรือต่อเติม
วงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บ. เริ่มต้นผ่อนชำระ 2,100 บ./เดือน
เอกสารประกอบการขอสินเชื่อบ้านประชารัฐ
บ้านประชารัฐ ธนาคารออมสิน
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้และคู่สมรส
2. สำเนาใบสำคัญสมรส หรือสำเนาใบแสดงการหย่า หรือสำเนาใบมรณบัตรของผู้สมรส
3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอกู้และคู่สมรส
บ้านประชารัฐ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
1. บัตรประจำประชาชน/ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่
4. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล
5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส
6. ใบรับรองเงินเดือน/หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ
7. สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
8. สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (กรณีอาชีพประจำ) และ 12 เดือน (กรณีอาชีพอิสระ)
9. สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนฯ
10. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
11. รูปถ่ายกิจการ
12. สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
เอกสารหลักประกันเงินกู้
1. สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย/สัญญาวางมัดจำ/สัญญาเช่าซื้อการเคหะ
2. สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
3. สำเนาโฉนดที่ดิน/น.ส.3ก./หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดทุกหน้า กรณีซื้อสินทรัพย์มือสองต้องรับรองสำเนาโดยเจ้าพนักงานที่ดิน
โครงการบ้านประชารัฐ กำหนดระยะเวลาดำเนินงานไว้ไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่ วันที่ 22 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป และหากวงเงินเต็มแล้ว ก็ต้องลุ้นดูกันว่า จะมีการขยายวงเงินเพิ่มเติมอีกหรือไม่?
ทั้งนี้ บ้านประชารัฐนี้ คาดว่า จะมีประชาชนได้รับผลประโยชน์ราว 40,000-50,000 รายเลยทีเดียว จึงนับว่าเป็นนโยบายภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ประโยชน์ตกอยู่กับผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงานเต็มที่
เผยรายชื่อ บ้านประชารัฐ ผู้ประกอบการตบเท้าเข้าร่วมกว่า 4 หมื่นยูนิต
ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่ามีทาวน์เฮาส์และคอนโดมิเนียม 55 โครงการ จำนวนกว่า 1.2 หมื่นยูนิต ที่เข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐจาก 8 บริษัท อสังหาฯ ได้แก่ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท, บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์, บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์, บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์, บมจ.ศุภาลัย, บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้, บมจ.เสนาดีเวลลอปเม้นท์ และ บมจ.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ รวมถึง “กคช.-การเคหะแห่งชาติ” ที่ขน 2.67 หมื่นยูนิตภายใต้แบรนด์ “โครงการเคหะประชารัฐ” ร่วมแจมด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ทุกภาพเป็นเพียงภาพประกอบ โครงการนี้ดีมากๆเลยจ้า เพราะว่าทำให้คนที่มีรายได้น้อยไม่ต้องทนอยู่บ้านเช่า แล้วหันมาผ่อนบ้านด้วยตนเอง ราคาผ่อนเพียง 3,000 บาท เป็นราคาที่สามารถจ่ายได้ และไม่หนักเกินไป เพื่อนๆแฟนเพจสนใจกันบ้างใหมเอ่ย ถ้าสนใจรีบจับจองก่อนจะเต็มนะ
ขอขอบคุณ : ed.upyim