ผลวิจัยพบ มะรุมต้ม ป้องกัน-บรรเทา มะเร็งลำไส้ใหญ่และโรคอื่นๆได้ รีบหามากินด่วน!

0

ผลวิจัยพบ มะรุมต้ม ป้องกัน-บรรเทา มะเร็งลำไส้ใหญ่และโรคอื่นๆได้ รีบหามากินด่วน!

การดูแลตัวเองในเรื่องของอาหารการกิน เป็นสิ่งที่เราควรใส่ใจและให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะสาเหตุหนึ่งที่ร่างกายของเรานั้นเกิดโรคภัยไข้เจ็บ มาจากการละเลยในเรื่องของอาหาร รวมถึงการออกกำลังกาย

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลงานการวิจัยพืชผักพื้นบ้านของไทยชนิดหนึ่งที่เรียกว่า มะรุม
โดยพบว่าการกินมะรุมต้มสามารถช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ หลังจากใช้เวลาศึกษานานกว่า 1 ปี แต่ควรกินในรูปของอาหารและกินในปริมาณที่เหมาะสมอ้างอิง…Thai PBS News

ม.มหิดล เผย ผลวิจัยพบมะรุมต้มป้องกัน-บรรเทามะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดย Thai PBS News

สรรพคุณของมะรุม

มะรุม ในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

ใบ ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต

ยอดอ่อน ใช้ถอนพิษไข้

ดอก ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง

ฝัก แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต เมล็ด เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง

ราก รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)

เปลือกลำต้น รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร

มะรุมกับการลดระดับน้ำตาลในเลือด

ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน และอาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคหัวใจ จึงจำเป็นต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ไม่เสี่ยงจนเกินไป มีหลายการศึกษาชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของมะรุมที่อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นโดยให้อาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 10 คนรับประทานผงใบมะรุมชนิดแคปซูล พบว่าการรับประทานผงมะรุมชนิดแคปซูลขนาด 4 กรัมส่งผลให้อาสาสมัครมีการหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึงแม้ว่าจะไม่พบความแตกต่างของค่าน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดก็ตาม และจากผลการทดลองได้แนะนำว่าใบมะรุมอาจมีศักยภาพในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างไรก็ตาม เป็นเพียงผลจากการศึกษาเบื้องต้นที่มีขนาดเล็กเพียง 10 คน จึงยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันคุณสมบัติของมะรุมในการลดระดับน้ำตาลในเลือดที่ชัดเจนต่อไป

มะรุมกับการลดไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจ โดยที่หลายคนเชื่อว่ามะรุมเป็นพืชชนิดหนึ่งที่อาจมีส่วนช่วยลดไขมันในเลือดได้ สอดคล้องกับการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีไขมันในเลือดสูงรับประทานใบมะรุมชนิดผงวันละ 8 กรัม เป็นเวลา 40 วัน พบว่าค่าคอเลสเตอรอลรวม (TC) ค่าคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ค่าไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำมาก (VLDL) และค่าไตรกีเซอไรด์ (TG) ลดต่ำลง อีกทั้งค่าคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งการศึกษาให้อาสาสมัครที่มีไขมันในเลือดสูงจำนวน 35 คน รับประทานใบมะรุมแห้งชนิดเม็ดวันละ 4.6 กรัม เป็นเวลา 50 วัน ได้แสดงให้เห็นถึงระดับไขมันในเลือดที่ลดลงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ยังคงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันคุณสมบัติของมะรุมในการลดไขมันในเลือดที่ชัดเจน

มะรุมกับการลดอาการอักเสบ

การอักเสบเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติที่ร่างกายตอบสนองเมื่อมีการติดเชื้อหรือเมื่อได้รับบาดเจ็บ หากมีการอักเสบเป็นเวลานานอาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอื่น ๆ ได้ ซึ่งมะรุมเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีการกล่าวว่ามีคุณสมบัติลดอาการอักเสบ ถึงแม้ที่ผ่านมาจะมีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของมะรุมที่ช่วยลดอาการอักเสบเพียงไม่กี่ชิ้น แต่การศึกษาชิ้นหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดน้ำและเอทานอลจากใบมะรุมมีความโดดเด่นในการต้านการอักเสบ และช่วยลดการสร้างสารเคมีในร่างกายที่ทำให้เกิดการอักเสบ (Proinflammatory Cytokines) จากผลการทดลองได้แนะนำว่าคุณสมบัติลดการอักเสบของสารสกัดน้ำและเอทานอลจากใบมะรุมอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคหรืออาการอักเสบ อย่างไรก็ตามเป็นเพียงผลจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ จึงจำเป็นต้องศึกษาในมนุษย์เพิ่มเติมเพื่อยืนยันคุณสมบัติของมะรุมในการลดอาการอักเสบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

มะรุมกับการต้านอนุมุลอิสระ

อนุมูลอิสระคืออะตอมหรือโมเลกุลในร่างกายที่มีอิเล็กตรอนซึ่งไม่มีคู่อยู่ในวงรอบของอะตอม หากมีในปริมาณมากเกินไปอาจแทรกแซงการทำงานของเซลล์ เป็นสาเหตุทำให้เซลล์ต่าง ๆ เกิดความเสียหาย และส่งผลเสียต่อร่างกาย หลายคนอาจมีความเชื่อว่ามะรุมมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาความสัมพันธ์ของสารสกัดจากใบและฝักมะรุมต่อการต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารสกัดด้วยน้ำของใบมะรุมอาจช่วยเพิ่มระดับกลูตาไทโอนซึ่งเป็นสารที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ สร้างโปรตีนที่จำเป็น และมีประโยชน์ต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกาย อีกทั้งสารสกัดเอทานอลจากฝักมะรุมยังมีสารประกอบฟีนอลิคและทำให้อนุมูลอิสระอ่อนแอลง นอกจากนี้ยังไม่พบพิษจากการรับประทานสารสกัดจากมะรุมในปริมาณสูงสุด 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และจากผลการศึกษาได้สนับสนุนคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของมะรุม ซึ่งอาจเป็นเพราะมะรุมมีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์สูง รวมถึง แคมพ์เฟอรอล โฟลีฟีนอล แคโรทีนอยด์ และกรดซินนามิก อย่างไรก็ตามเป็นเพียงผลจากการทดลองในหลอดทดลองและสัตว์ จึงยังจำเป็นต้องศึกษาในมนุษย์เพิ่มเติม

มะรุมกับการต้านมะเร็ง

มะรุมเป็นผักที่หลายคนเชื่อว่ามากไปด้วยคุณประโยชน์ต่อร่างกาย และเชื่อว่าอาจช่วยต้านมะเร็งได้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ามะรุมอาจมีคุณสมบัติต้านมะเร็งโดยเข้าแทรกแซงการขยายตัวและการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็ง อีกทั้งยังพบว่าเซลล์มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่รักษาด้วยสารสกัดจากใบและเปลือกของมะรุมมีอัตราการอยู่รอดต่ำอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการศึกษาอาจกล่าวได้ว่าสารสกัดจากใบและเปลือกของมะรุมมีสารออกฤทธิ์ที่แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติการต้านมะเร็งได้ และอาจสามารถนำไปต่อยอดทำยารักษามะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ อย่างไรก็ตาม เป็นเพียงผลการทดลองที่จำกัดในวงแคบและยังไม่มีการทดลองในมนุษย์ จึงยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันคุณสมบัติของมะรุมในการต้านมะเร็งที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ความปลอดภัยของการรับประทานมะรุม

การรับประทานมะรุมทั้งส่วนใบ ฝัก และเมล็ดค่อนข้างปลอดภัยหากรับประทานเป็นอาหารในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรรับประทานรากและสารสกัดจากรากของต้นมะรุมเพราะอาจมีสารพิษซึ่งเป็นสาเหตุของอัมพาตหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยหากรับประทานมะรุมเพื่อเป็นยารักษาโรค

เนื่องจากสารเคมีที่อยู่ในราก เปลือก และดอกของมะรุมอาจไม่ปลอดภัยต่อผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ อาจทำให้มดลูกหดตัวและเป็นสาเหตุให้แท้ง อีกทั้งงานวิจัยบางชิ้นได้แนะนำว่าการรับประทานมะรุมในช่วงนี้อาจทำให้คุณแม่ผลิตน้ำนมออกมามาก แต่ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการรับประทานมะรุมในช่วงนี้ ทางที่ดีจึงไม่ควรรับประทานมะรุมหากกำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร

ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad , share-si

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่