น้ำผึ้งมีประโยชน์มากๆ แต่รู้หรือไม่ น้ำผึ้งมี 8 ข้อห้ามเช่นกัน

0

น้ำผึ้งมีประโยชน์มากๆ แต่รู้หรือไม่ น้ำผึ้งมี 8 ข้อห้ามเช่นกัน

น้ำผึ้งมีรสหวาน คุณสมบัติหรือฤทธิ์เป็นกลาง วิ่งเส้นลมปราณปอด ม้าม ลำไส้ใหญ่ แต่ “น้ำผึ้งนั้น มีสรรพคุณ 5 ประการ” หลี่สือเจิน ได้บันทึกไว้ในคัมภีร์ชื่อ เปิ่น-เฉา-กัง-มู่ เกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำผึ้งทางด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคไว้ว่า

“น้ำผึ้ง มีสรรพคุณ 5 ประการ” ดังกล่าวคือ

1. ขับร้อน

2. บำรุงส่วนกลาง (กระเพาะอาหารและม้าม)

3. ขับพิษ รักษาแผล

4. ทำให้ชุ่มชื่นลดความแห้งแก้ไอ

5. แก้ปวด

สรรพคุณที่ระบุไว้ในตำราอาหารและยาจีน

1. บำรุงภาวะพร่องอ่อนแอ ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง แผลกระเพาะอาหาร วัณโรคปอด ฯลฯ

2. ลดความแห้งของปอด ทำให้ชุ่มชื่น เหมาะสำหรับอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ ไอเรื้องรัง มักจะทำให้ชุ่มคอ อาจใช้ร่วมกับสมุนไพร ซาเซิน เซิงตี้

3. ช่วยระบายทำให้อุจจาระนิ่ม เหมาะสำหรับคนสูงอายุ หญิงหลังคลอด ผู้ป่วยฟื้นจากโรคที่มีอาการท้องผูก

4. มีฤทธิ์สมานแผล เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กอักเสบ ผู้ป่วยที่ระบบการย่อยอ่อนแอ ปวดท้องและมีแขนขาเย็น ลดการหดเกร็งเนื่องจากความเย็น

5. ขับพิษ – ทำลายพิษ สามารถลดพิษของ ยาสมุนไพรจีน ฟู่จื่อ อูโถว ใช้ทาแผลภายนอกที่เกดไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ฝีมีหนอง สามารถฆ่าเชื้อและทำให้แผลหายเร็วขึ้น

6. ใช้ในด้านความงาม ทำให้ผิวหนังนุ่ม และลดการอักเสบ

7. ช่วยทำให้การนอนหลับดีขึ้น

8. ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเด็กเล็ก

9. มีการประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง

ข้อห้ามและข้อควรระวังการกินน้ำผึ้ง

1. ผู้ป่วยเบาหวานห้ามกิน เนื่องจากน้ำผึ้งมีปริมาณกลูโคส และฟรักโทสที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ทันที จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวเเร็ว การหลั่งอินซูลินของตับอ่อนไม่พอ

2. ห้ามกินปริมาณมาก โดยเฉลี่ยวันละ 1-2 ช้อน ประมาณ 20 กรัม ในกรณีพิเศษอาจกินเพิ่มได้ แต่ไม่ควรเกิน 50 กรัม/วัน

3. คนที่ถ่ายเหลวหรือท้องเสีย เพราะจะทำให้ถ่ายมากขึ้น เนื่องจากน้ำผึ้งจะดูดน้ำทำให้ขับอุจจาระมากขึ้น

4. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียน หรือมีผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เนื่องจากภาวะความชื้นตกค้าง ไม่ควรกิน

5. การผสมน้ำอุ่นประมาณไม่เกิน 40 องศา ไม่ควรใช้น้ำที่ร้อนจัดๆ เพราะจะทำลายคุณค่าของเอนไซม์ วิตามิน และกรดอะมิโน และสารที่มีคุณค่า ในฤดูร้อนสามารถใช้น้ำเย็นชงดื่ม แต่ควรจะผสมน้ำขิงเล็กน้อย ป้องกันกระเพาะอาหารกระทบความเย็น

6. ไม่ควรกินร่วมกับเต้าหู้ เนื่องจากเต้าหู้มีรสหวาน เค็ม มีคุณสมบัติเย็น สรรพคุณขับร้อนกระจายเลือด เมื่อกินร่วมกันทำให้ท้องเสียง่าย อีกเหตุผลหนึ่งคือ เอนไซม์จากน้ำผึ้งจะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุ โปรตีน สารอินทรีย์ของเต้าหู้ จะทำให้คุณค่าทางโภชนาการด้อยไป

7. ไม่ควรกินพร้อมผักกุยช่าย เพราะ กุยช่าย มีวิตามินซีมาก จะทำปฏิกิริยากับโลหะทองแดง และเหล็กในน้ำผึ้ง เกิดออกซิเดชัน ทำให้คุณค่าด้อยลง อีกเหตุผลหนึ่ง น้ำผึ้งทำให้ระบาย กุยช่ายมีเส้นใยมาก เมื่อกินร่วมกันจะทำให้ท้องเสียง่าย

8. ไม่ควรกินร่วมกับหัวหอมและกระเทียม จะทำให้ฤทธิ์ของน้ำผึ้งด้อยลง

 

เวลาที่เหมาะสมในการกินน้ำผึ้ง

1. ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง

ถ้าดื่มโดยผสมน้ำอุ่น จะมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร และทำให้กรดในกระเพาะอาหารเจือจาง ลดการระคายเคือง เหมาะสำหรับผู้ป่วย โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล ถ้าดื่มโดยผสมน้ำเย็น จะมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร รวมทั้งกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้กระตุ้นการถ่ายอุจจาระ

2. ควรดื่มหลังอาหาร 2-3 ชั่วโมง

เพราะการดื่มหลังอาหารทันที จะทำให้มีการเพิ่มปริมาณน้ำตาลในเลือดให้สูงมากยิ่งขึ้น ทำให้ตับอ่อนทำงานหนัก อีกทั้งจะเป็นการกระตุ้นน้ำย่อยกระเพาะอาหารมากยิ่งขึ้นอีก

3 ควรดื่มก่อนนอน

เหมาะสำหรับคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง และนอนหลับยาก

ขอขอบคุณ : liekr

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่