ไปหามากินด่วน!! ประโยชน์ล้วนๆ ผลไม้บ้านๆ แก้ปวดข้อ บำรุงร่างกาย แก้หอบ แก้คัน

0

ไปหามากินด่วน!! ประโยชน์ล้วนๆ ผลไม้บ้านๆ แก้ปวดข้อ บำรุงร่างกาย แก้หอบ แก้คัน

สมุนไพร นี้เป็นที่รู้จักของใครหลายๆคนแน่นอน บางคนไม่รู้คุณประโยชน์ของผลไม้ชนิดนี้ บางคนเห็นรูปก็อ๋อแล้วครับ ต้นตะขบนี้ได้ในป่า บริเวณท้องทุ่ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่นิยมนำมาปลูก จึงหาทานได้ยากและไม่มีวางขายตามตลาดทั่วไป มาทำความรู้จักของ “ตะขบ” กันเลยครับเพื่อนๆ ประโยชน์เยอะมหาศาลจริงๆ

สมุนไพรตะขบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ครบฝรั่ง (สุราษฎร์ธานี), หม่ากตะโก่เสะ (กะเหรี่ยงแดง), ตากบ (ม้ง), เพี่ยนหม่าย (เมี่ยน), ตะขบฝรั่ง (ไทย) เป็นต้น

สรรพคุณของตะขบ

1. ผลสุกมีรสหวานเย็นหอม มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ (ผล)

2. ดอกตะขบมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาชงเป็นน้ำชาดื่ม (ดอก)บ้างใช้เนื้อไม้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ (เนื้อไม้)

3. ใช้เป็นยาแก้หวัด ลดไข้ ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาชงเป็นน้ำชาดื่ม (ดอก)บ้างใช้เนื้อไม้เป็นยาแก้ไข้หวัด (เนื้อไม้)

4. ใบมีรสฝาดเอียด มีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ (ใบ)

5. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้เสมหะ ช่วยกล่อมเสมหะและอาจม (ราก)

6. ช่วยแก้อาการปวดเกร็งในทางเดินอาหาร ด้วยการใช้ดอกตะขบแห้ง 3-5 กรัม นำมาชงกับน้ำเป็นชาดื่ม (ดอก)

7. เนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด (เนื้อไม้)

8. ต้นใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาระบาย เนื่องจากมีสาร mucilage มาก (ต้น) หรือจะใช้เปลือกต้นสดหรือแห้ง (รสฝาด) ประมาณ 1 ฝ่ามือ นำมาสับเป็นชิ้นต้มในน้ำเดือด 1 ลิตร ประมาณ 15 นาที แล้วกรองเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาระบายก็ได้ (เปลือกต้น)

9. เนื้อไม้ใช้เป็นยาขับไส้เดือน (เนื้อไม้)

10. ดอกใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นกินเป็นยาขับระดูของสตรี (ดอก)

11. ใช้เป็นยาแก้โรคตับอักเสบ ด้วยการใช้ดอกนำมาต้มรวมกับสมุนไพรอื่นกิน (ดอก)

12. ใช้เป็นยาแก้ตานขโมย (เนื้อไม้)

13. ต้นใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ส่วนรากใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง แก้ผื่นคันตามตัว (ต้น, ราก)

14. ดอกใช้เป็นยาแก้ปวดและแก้อักเสบ (ดอก)

ประโยชน์ของตะขบ

1. ผลสุกมีรสหวานและมีกลิ่นหอม ใช้รับประทานได้ เป็นผลไม้พื้นบ้านที่ชื่นชอบของเด็กๆ

2. ตะขบเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยพลังงาน เส้นใยอาหาร แคลเซียม โพแทสเซียม และโซเดียม จากการวิจัยพบว่าตะขบสามารถช่วยดูดซับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ และเส้นเลือดในสมองแตกได้ (ตะขบ 100 กรัม จะให้พลังงาน 97 กิโลแคลอรี, แคลเซียม 51.7 มิลลิกรัม, โพแทสเซียม 773 มิลลิกรัม, โซเดียม 12.8 มิลลิกรัม) (นพ.สมยศ ดีรัศมี)

3. ผลตะขบเป็นอาหารของนกและสัตว์หลายชนิด ถ้าปลูกไว้ริมฝั่งแม่น้ำ เมื่อผลร่วงลงก็จะเป็นอาหารของปลาด้วยเช่นกัน

4. ผลตะขบฝรั่งเป็นที่นิยมรับประทานมากในเม็กซิโก ผลสามารถนำไปแปรรูปเป็นแยมหรือไวน์ได้ และนำใบไปแปรรูปเป็นชา

5. เนื้อไม้ตะขบเป็นไม้เนื้ออ่อน สามารถนำมาใช้ในงานช่างไม้ได้ ส่วนเปลือกใช้เป็นแหล่งของเส้นใย

6. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผลทั่วไปในเขตร้อน หรือปลูกประดับริมทางเดินเพื่อให้ร่มเงา

เพิ่มเติมนอกจากผลตะขบแล้ว ส่วนอื่นๆก็มีประโยชน์

– ราก กินแก้ไตอักเสบ

– ยางจากต้น เป็นส่วนประกอบยาแก้อหิวาตกโรค

– เปลือกต้น ชงกินแก้เสียงแห้ง อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ

– เปลือกตำรวมกับนํ้ามัน ใช้ทาถูนวด แก้ปวดท้อง แก้คัน

– นํ้ายางจากต้น และใบสด กินเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก แก้โรคปอดอักเสบ แก้ไอ แก้บิด และท้องเสีย ช่วยย่อย

– นํ้าต้มใบแห้งกินเป็นยาฝาดสมาน ขับเสมหะ แก้หืด หอบ หลอดลมอักเสบ ขับลม และบำรุงร่างกาย

– ใบที่ย่างไฟจนแห้งใช้ชงกินหลังคลอดบุตร

– เมล็ด ตำพอกแก้ปวดข้อ

เอกสารอ้างอิง

  1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “ตะขบฝรั่ง (Takhob Farang)”.  หน้า 119.
  2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “ตะขบฝรั่ง, ตะขบ”.  อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 5 (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th.  [21 ธ.ค. 2014].
  3. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ตะขบฝรั่ง”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/.  [21 ธ.ค. 2014].
  4. ผักพื้นบ้านและผลไม้พื้นเมืองภาคใต้, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.  “ตะขบฝรั่ง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : natres.psu.ac.th.  [21 ธ.ค. 2014].
  5. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม.  “ต้นตะขบ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.m-culture.in.th.  [21 ธ.ค. 2014].
  6. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.  “ตะขบฝรั่ง”. อ้างอิงใน : หนังสือผลไม้ 111 ชนิด (นิดดา หงส์วิวัฒน์, ทวีทอง หงส์วิวัฒน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : th.wikipedia.org.  [21 ธ.ค. 2014].
  7. ไทยโพสต์.  “มหัศจรรย์ ‘ตะขบ’ ด้อยราคา-มากค่า”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.thaipost.net.  [21 ธ.ค. 2014].
แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่