ไอเดียเจ๋งมาก! “ปลูกกระเทียม” เองง่ายๆขอแค่มี “ขวดน้ำ” ก็ทำได้แล้ว ไม่ต้องเสียเงินซื้ออีกต่อไป!

0

ไอเดียเจ๋งมาก! “ปลูกกระเทียม” เองง่ายๆขอแค่มี “ขวดน้ำ” ก็ทำได้แล้ว ไม่ต้องเสียเงินซื้ออีกต่อไป!

กระเทียมนับเป็นเครื่องเทสที่ขาดไม่ได้ในครัวเรือ อีกอย่างยังมีประโยชอย่ามหาศาลด้วย ประโยชน์ของกระเทียมในทางตรงก็คือเป็นส่วนประกอบของอาหารคาวได้หลากหลายมาก ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด ส่วนประโยชน์ทางอ้อมก็คือสรรพคุณของกระเทียมในด้านยาและการป้องกันรักษาโรคนั่นเอง ซึ่งกระเทียมสามารถให้ประโยชน์ต่อร่างกายของเราในหลายๆด้านอย่างไม่น่าเชื่อ อีกทั้งคนโบราณยังใช้กระเทียมในการรักษาโรคผิวหนังจำพวกกลากเกลื้อน ประโยชน์ของกระเทียมเพิ่มเติมคือช่วยรักษาแผลที่เน่าเปื่อยและเป็นหนอง ป้องกันโรคเบาหวาน และช่วยขจัดพิษสารตะกั่ว

แต่เรามักจะประสบปัญหาหนึ่งก็คือการเก็บรักษา เวลาซื้อมาเยอะๆ วันนีเราจึงมีทางเลือกมาให้ลองทำดู สำหรับการปลูกกระเทียมไว้กินเองในบ้าน ขอย้ำว่า ในบ้านเลย

การปลูกกระเทียมแบบไฮโดรโปนิกส์นั้นขึ้นอยู่กับช่วงระยะเวลา เดือนที่ 9-10 คือช่วงเพาะปลูกช่วงฤดูใบไม้ร่วง เดือนที่ 11 ถึงเดือนที่ 1 ในปีถัดไปเป็นการเพาะปลูกในช่วงฤดูหนาว และช่วงเดือน 2 ของปีเป็นกาะเพาะปลูกของช่วงฤดูใบไม้ผลิ การปลูกในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนั้นจะดีที่สุด ส่วนช่วงฤดูใบไม้ผลินั้นไม่ค่อยดี

ข้อที่ควรเอาใจใส่เมื่อปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์

1. เมื่อปอกเปลือกกระเทียมเพื่อปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ ส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดของกระเทียมนั้นต้องมีติดมาด้วยเสมอ ส่วนที่เป็นฐานแบนๆนี้เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของกระเทียม ถ้าไม่มีส่วนนี้ การปลูกไฮโดรโปนิกส์ก็จะไม่มีความหมาย เพราะว่าส่วนของฐานนี้ก็คือรากของกระเทียมนั้นเอง ที่จะทำให้ใบงอกเงยยาวออกไปได้ ถ้าไม่มีราก กระเทียมไฮโดรโปนิกส์ก็จะไม่สามารถเจริญงอกงามได้เลย

2. ส่วนของภาชนะที่จะมาใช้ปลูก จะใช้ขนาดใดก็ได้ จะโปร่งใสหรือไม่ก็ไม่สำคัญ ก้นของภาชนะจะลึกขนาดไหนก็ได้ จะเป็นขวดเครื่องดื่มขนาดเล็ก จานชามสแตนเลส หรือจะเป็นอ่างล้างชามเก่า ก็ได้เช่นกัน

ปกติแล้ว ถ้าปลูกช่วงฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูหนาวจะใช้เวลาในการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ประมาณ 60 กว่าวัน แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูใบ้ไม้ผลิจะใช้เวลาแค่ 40 กว่าวัน ก็จะเติมโตเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว (สังเกตุว่าจะมีใบทั้งหมด5ใบในต้นเดียว) ปกติจะเก็บเกี่ยวทีละ2ต้น ถ้ายึดตามการปลูกนี้ แต่บางทีก็อาจจะเก็บเกี่ยวเมื่อมีใบขึ้น 2-3 ก็ได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์จะสามารถเก็บกระเทียมทั้งหมดได้อยู่ที่ราว 6-7 ต้นเลยทีเดียว หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วต้องนำรากออกไปให้หมดด้วย (ในตอนนี้สารอาหารในกลีบกระเทียมนั้นไม่มีเหลือแล้ว ถึงจะปลูกต่อไปก็ไม่สามารถเจริญเติบโตไปได้มากกว่านี้) ให้เหลือต้นอ่อนไว้ โดยต้องมีกลีบกระเทียมเหลือไว้ และให้มีใบอ่อนยาวออกมาสัก 2-3 มิลลิเมตร ถ้าใช้วิธีในการเก็บเกี่ยวแล้ว วันหลังก็จะสามารถนำกระเทียมมาปลูกใหม่ได้

วิธีการเพาะปลูกดูแล (ต้องให้อุณหภูมิห้องอยุ่ระหว่าง 10-25 องศา และมีแสงส่องเข้ามาถึง) การปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ในช่วงต้น (0-5วันแรก)

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้กลีบกระเทียมมีรากงอกออกมา ให้แค่น้ำ และไม่ต้องเปลี่ยนน้ำ โดยทั่วไปแล้วการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ 5 วันแรกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญและควรระมัดระวังมากที่สุด

5-45 วัน ช่วงแวลานี้รากของกระเทียมเริ่มแข็งแรงแล้ว การดูแลรักษาก็เริ่มง่ายขึ้น การเปลี่ยนน้ำก็สามารถทำได้แล้ว แนะนำว่า 5-7 วันจึงค่อยเปลี่ยนน้ำทีหนึ่ง ปกติแล้วหลังจากการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ 2 สัปดาห์ ก็จะสามารถเห็นผลที่น่าพึงพอใจได้ (ต้นกระเทียมเริ่มเติบโตเป็นรูปเป็นร่าง) ถ้าปล่อยให้เติบโตอย่างเต็มที่ ปลูกไปอีกสัก 25-35 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสมที่สุด ก็สามารถเก็บหัวกระเทียมได้ โดยให้เหลือกลีบกระเทียบกับรากไว้บางส่วน ก็จะสามารถปลูกต่อไปใหม่ได้

45 วันหลังจากการปลูก

ช่วงเวลานี้ คือการปลูกกระเทียมช่วงระยะเวลาที่2 (การหน้านั้นคือปลูกแล้วเก็บผลผลิตไปแล้วรอบหนึ่ง) ช่วงเวลานี้รากของกระเทียมมักจะมีตะไคร่น้ําเกิดขึ้น เมื่อเวลาเปลี่ยนน้ำ ให้ทำความสะอาดรากของมันอย่างน้อย 1-2 ครั้งด้วย และช่วงเวลานี้ยังกลีบกระเทียมยังง่ายต่อการเน่าหรือหดตัวลง หากพบ ให้นำไปทิ้งทันที

นอกจากนั้น การปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ยังมักส่งกลิ่น วิธีแก้ไขปัญหาก็คือให้หมั่นเปลี่ยนน้ำอยู่บ่อยๆ (ตอนแรกนั้นควรเปลี่ยนน้ำทุก5-7วัน แต่ตอนนี้ควรเปลี่ยนทุก2-3วัน) เวลาเปลี่ยนน้ำ ให้ดึงต้นที่เน่าหรือหดตัวทิ้งไปด้วย

สุดท้ายแล้ว เมื่อต้นกระเทียมต้นสุดท้ายเติบโตสมบูรณ์ ก็สามารถเก็บรากไปทิ้งได้แล้ว เมื่อตอนเก็บราก การปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ก็สิ้นสุดลงแล้ว

การปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ ถ้าได้ปลูกหลายๆแปลง มีเวลาดูแลเอาใจใส่แล้ว เราก็จะสามารถรับประทานกระเทียมที่สดใหม่ได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังได้ชื่นชมช่วงต่างๆของการเจริญเติบโตของกระเทียมได้อีกด้วย นับว่าเป็นความสุขทางกายและใจจริงๆ

ขอขอบคุณ : liekr, FW Line

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่