65 วิธี พูดอย่างไรให้ได้ใจคนฟัง (อ่านเลย)
วิธีที่ 1 พูดด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน
คนเย่อหยิ่งอวดดีย่อมไม่ได้รับการต้อนรับจากผู้อื่น คนที่ชอบคุยโวโอ้อวดย่อมสร้างความเบื่อหน่ายเอือมระอาให้กับผู้อื่น การอ่อนน้อมถ่อมตนไม่ใช่การลดคุณค่าของตัวเองให้ต่ำลง แต่เป็นสุดยอดวิธีในการแสดงความคิดความรู้สึกของตนเองออกมา
วิธีที่ 2 รู้จักใช้คำพูดที่ยืดหยุ่น
คำพูดที่ยืดหยุ่นไม่ผูกมัด ก็คล้ายกับนักแสดงที่แสดงละคร ใช้บ่อยเข้าก็ย่อมจะคล่องไปเอง
วิธีที่ 3 พูดผิดพูดใหม่ให้ทันท่วงที
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ก้าวพลาดไปก็ลุกขึ้นมาใหม่ได้ คนเมื่อพูดผิดพลั้งไปแล้ว ก็หาคำพูดที่น่าฟังมาชดเชยได้
วิธีที่ 4 ใช้คำพูดเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร
อย่าไปหาเรื่องกับศัตรู ขอเพียงในใจเรามีคำพูดที่น่าฟัง จะยังมีใครเป็นศัตรูกับเราได้อีก
วิธีที่ 5 รู้จักใช้คำพูดชื่นชมผู้อื่น
คำพูดหวานหูทำให้คนฟังรู้สึกอบอุ่นแม้อากาศจะหนาว คำพูดที่ทำร้ายจิตใจคนแม้จะอยู่ในฤดูร้อนคนฟังก็ยังรู้สึกหวานเหน็บหัวใจ บางครั้งคำพูดดีดีเพียงประโยคเดียวก็สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคนทั้งชีวิตได้
วิธีที่ 6 พูดแค่สามส่วนก็พอ
เปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่ได้หมายความว่าให้พูดจาไม่เหลือทางหนีทีไล่ พูดมากเกินไปบางครั้งอาจก่อให้เกิดภัยขึ้นได้ จงจำไว้ว่า ภัยเกิดจากปาก
วิธีที่ 7 รู้จักเอาตัวเองมาล้อเล่น
หากเราสามารถเอาส่วนที่น่าขำของตัวเองมาพูดเป็นเรื่องตลกให้คนอื่นได้หัวเราะอยู่เสมอก็จะสามารถชนะใจได้รับมิตรภาพจากผู้อื่นอย่างแน่นอน เพราะการที่เราให้ความสำคัญผู้อื่นหัวเราะเยาะตัวเอง ก็เท่ากับแสดงให้เห็นว่าท่านมองตัวเองกับผู้อื่นอยู่ในระดับเดียวกัน
วิธีที่ 8 ไม่ใช้วาจาแสดงการปฏิเสธผู้อื่น
ถ้าในระหว่างการพูดจา หากใครชอบแสดงท่าทีปฏิเสธไม่รับฟังผู้อื่นอยู่เสมอ ก็จะทำให้อีกฝ่ายทนไม่ไหวโกรธหรืออาจทำให้เกิดการปะทะกันทางวาจาหรือใช้
กำลังได้
วิธีที่ 9 ไ ม่ใ ช้คำพูดกระทบกระเทียบเหยียดหยาม
อย่าคิดว่าเรื่องหยุมหยิมเล็กน้อยจะไม่สร้างปัญหาใหญ่ได้ ตรงข้าม ควรให้ความใส่ใจโดยเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ สร้างภาพลักษณ์ของตัวเองให้สมบูรณ์พร้อมในทุกด้าน สุดท้าย ต้องฝึกตนให้รู้จักใช้คำพูดที่เหมาะสม
วิธีที่ 10 บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องพูดตรงเกินไป
ในการพูดจาควรเรียนรู้จักคำ ว่า อ้อมค้อมเรือเดินสมุทรที่สามารถหลบหลีกโขดหินโสโครก จนไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างราบรื่น นั่นก็เป็นเพราะมีความเชี่ยวชาญในการอ้อมนั่นเอง
วิธีที่ 11 อย่าใช้คำพูดขวานผ่าซาก ทำร้ายจิตใจผู้อื่น
คำพูดตรงไปตรงมาคือมีดที่แหลมคมทำร้ายจิตใจผู้อื่นแล้วยังทำร้ายจิตใจตัวเอง คำพูดที่นุ่มนวลคือลมพัดในฤดูใบไม้ผลิ การปลอบใจผู้อื่นก็คือการปลอบใจตัวเอง
วิธีที่ 12 ไม่พูดมากพร่ำบ่น
หวัด ไม่ใช่โรคอันตรายร้ายแรงอะไร แค่กินยาก็หายแล้ว แต่การพูดมาก พร่ำบ่น พิรี้พิไร เป็นโรคทางจิตใจที่รักษายากโรคหนึ่ง ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อทุกคนในครอบครัวได้
วิธีที่ 13 รู้จักใช้ภาษาท่าทาง
การแสดงออกทางอารมณ์และความคิดที่ปรากฏบนใบหน้าและกริยาท่าทาง มีพลังมากกว่าการแสดงออกทางคำพูด
วิธีที่ 14 พูดคำ “ขอโทษ” ให้เป็น
พลั้งปากพูดผิดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเมื่อพูดผิดไปแล้วมารู้สึกเสียใจภายหลังหาใช่เรื่องสำคัญที่สำคัญก็คือเราจะทำอย่างไรให้ได้ผลเสียอันเกิดจากการพูดผิดไปนั้นลดลงให้เหลือน้อยที่สุด
วิธีที่ 15 รู้จัก “ติชม” ดีกว่าชมอย่างเดียว
เอาแต่ยิ้มแย้มพูดจาให้กำลังใจผู้อื่นอย่างเดียวหาใช่วิธีที่ดีที่สุด บางครั้งบางเวลาในขณะพูดคุยสนทนาถ้าสอดแทรกคำติไปบ้างกลับจะทำให้ผู้อื่นยอมรับได้ง่ายกว่า
วิธีที่ 16 อย่าไปพูดเปิดโปงแผลเก่าของคนอื่น
การเปิดโปงแผลเก่าของผู้อื่น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะมีแต่คนโง่หรือคนบ้าเท่านั้นที่จะไม่โกรธ
วิธีที่ 17 อย่าเอาแต่พูดจากล่าวโทษผู้อื่น
ผลักภาระความรับผิดชอบทั้งหมดไปให้ผู้อื่นผลประโยชน์ต่าง ๆ ตัวเองผูกขาดไว้คนเดียว คนประเภทนี้คือคนที่ไม่มีมนุษยสัมพันธ์
วิธีที่ 18 จงพูดจาด้วยเหตุผล อย่าใช้อารมณ์
สมมติว่าเราเกิดโทสะแล้วอาละวาดใส่ผู้อื่นไปบางทีความโกรธของเราอาจมลายจมหายไป หลังจากนั้นใจคอก็สบายขึ้น แต่เมื่อเราว่าผู้อื่นแล้วเราสบายใจเขาได้แบ่งปันความรู้สึกเช่นนั้นกับเราบ้างหรือเปล่า
วิธีที่ 19 รับฟังคำพูดของผู้อื่น ด้วยความนอบน้อมจริงใจ
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก ไม่ควรเอาแต่คุยโวให้ผู้อื่นฟัง เพียงเพราะตนเองได้รับความสำเร็จเพียงเล็กน้อยหากแต่ควรสดับรับฟังคำพูดของผู้อื่นอย่างตั้งอกตั้งใจ ยังจะมีประโยชน์เสียกว่า
วิธีที่ 20 พูดจากับใคร ต้องรู้จักและเข้าใจคนฟัง
พูดมาก ก็ใช่ว่าคนอื่นจะรู้สึกดีกับท่าน พูดน้อยก็ใช่ว่าคนอื่นจะรู้สึกว่าท่านโง่เขลา ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ก่อนจะจุดธูปก็ต้องดูให้แน่ใจว่า จะไหว้พระโพธิสัตว์องค์ไหน จะพูดจาก็ต้องดูว่า พูดกับใคร
วิธีที่ 21 อย่าใช้คำพูดทำร้ายคน
คนเราทุกคนต่างรู้จักโกรธ รู้จักไม่พอใจด้วยกันทั้งนั้น เวลาที่มีใครมาพูดอะไรแล้วเรารู้สึกไม่เข้าหูก็ควรทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่เสียไม่จำเป็นต้องไปจริงจังจนเกินไป คิดแต่จะต้องโต้ตอบกลับไปให้เจ็บแสบ อะไรที่ไม่เกี่ยวกับเรา ก็ไม่ควรไปตอบโต้
วิธีที่ 22 รู้จักเลือกใช้คำพูดให้เหมาะสมกับแต่ละคน
ไม่ว่าจะใช้ภาษาอะไรขอเพียงบรรลุถึงเป้าหมายภาษาอะไรล้วนเป็นภาษาที่ไพเราะชวนฟัง
วิธีที่ 23 ฟังมาก พูดน้อย พยักหน้าอยู่เสมอ
ฟังมาก พูดน้อย พยักหน้าอยู่เสมอ ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย แต่ถ้าทำได้ก็จะทำให้สามารถยืนหยัดในสังคมได้อย่างยาวนาน
วิธีที่ 24 กล้าพูดคำว่า “ไม่”
“ไม่” คำ นี้เขียนไม่ยาก แต่ถ้าจะเอามาใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแล้ว กลับไม่ง่ายเลยที่จะเอ่ยออกมา มีคนมาก มายที่เป็นเพราะเงื่อนไขทางความสัมพันธ์หรือด้วยอุปนิสัยส่วนตัว หรือเป็นเพราะสถานการณ์บังคับทำให้ไม่อาจเอ่ยคำว่า “ไม่” ออกมาและเป็นเหตุให้ตัวเองได้รับความเสียหายอย่างมาก
วิธีที่ 25 “คำพูดที่ไม่จริง” ต้องพูดด้วยเจตนาดีเท่านั้น
ในชีวิตของคนเรานั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีเรื่องโกหกอยู่มากมายในเรื่องนั้นบ้าง เรื่องนี้บ้างขอเพียงไม่ได้มีเจตนาไปทำร้ายหรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย
คำโกหกนั้นเกิดขึ้นเพราะสถานการณ์บังคับในทางที่เป็นไปได้
วิธีที่ 26 รู้จักหลีกเลี่ยง ไม่พูดในสิ่งที่เขาไม่ชอบ
การหลีกเลี่ยงไม่พูดในสิ่งที่ผู้อื่นไม่ชอบช่วยให้การคบค้าสมาคมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น พยายามเข้าใจผู้อื่น ให้ความเคารพผู้อื่นและหลีกเลี่ยงการทำให้
ผู้อื่นไม่สบายใจ
วิธีที่ 27 ยกย่องชมเชยด้วยความใจกว้างและจริงใจ
การยกย่องชมเชยทำ ให้คนยอมรับง่ายกว่าการตำหนิติเตียน ไม่ว่าใครต่างก็ยินดีเมื่อได้รับการยกย่องชื่นชม ด้วยเหตุนี้จึงควรเข้มงวดกับตัวเองแต่ใจ
กว้างกับผู้อื่นไว้เป็นดี
วิธีที่ 28 กล่าว “ขอบคุณ” ให้ติดปาก
ขอบคุณ สองคำนี้พูดไม่ยาก ทั้งยังมีประโยชน์อย่างมาก ทำให้คว้าจับหัวใจผู้อื่นไว้ได้
วิธีที่ 29 รู้จักใช้คำพูดพลิกแพลง คลี่คลายเหตุการณ์เฉพาะหน้า
ไม่ว่าใครก็ต้องเคยพบกับสถานการณ์ที่อึดอัดกลืนไม่เข้าคายไม่ออกด้วยกันทั้งนั้น เมื่อใดที่บังเอิญเจอสถานการณ์เช่นนี้เข้าก็อย่าเอาแต่มือไม้อ่อนทำอะไรไม่ถูก จงใช้ความสามารถที่มีอยู่มาพลิกแพลงแก้ไขสถานการณ์
วิธีที่ 30 “ประจบ” ได้บ้าง แต่อย่า “สอพลอ”
การประจบสามารถพิชิตใจคนได้ ขอเพียงเข้าใจสรรหาคำพูด ชาวจีนมักเปรียบการประจบประแจงว่าเป็นการเอาหมวกสูงมาสวมให้
วิธีที่ 31 โต้ตอบอย่างมีชั้นเชิง
หนามยอกเอาหนามบ่ง วิธีนี้เอาไว้ใช้รับมือคนที่มีเจตนาร้ายแฝงอยู่
วิธีที่ 32 รู้จักใช้ “คำ ทักทาย” สร้างความสนิทสนม
คำทักทายพูดคุยดูแล้วเหมือนเป็นคำพูดตามมารยาทที่ไม่มีความสำคัญอะไร แต่หากปราศจากคำพูดทักทาย การคบค้าสมาคมระหว่างมนุษย์ด้วยกันก็คงจะ
เป็นไปอย่างจืดชืดขาดความสนิทสนมกลมเกลียว
วิธีที่ 33 รู้จักพูดปลอบใจ
การปลอบใจที่ปราศจากความเห็นอกเห็นใจก็เปรียบเสมือนกับอาหารที่ไม่ได้ใส่เกลือ แม้จะมีกลิ่นหอมเตะจมูกเพียงใดก็ยังคงจืดชืดไร้รสชาติ
วิธีที่ 34 รู้จักใช้ศิลปะและเทคนิคในการถาม
เวลาตั้งคำถาม จักต้องรู้จักใช้ศิลปะเทคนิค และวิธีการต่าง ๆ นานาให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้ได้รับข่าวสารมากที่สุดและเข้าใจอย่างแท้จริงว่าอีกฝ่ายกำลังคิดอะไรและมุ่งแสวงหาสิ่งใด
วิธีที่ 35 ยกย่องสรรเสริญผู้อื่นต้องพอเหมาะพอควร
การยกย่องสรรเสริญ ด้วยเจตนาดี ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ช่วยเพิ่มพูนมิตรภาพและความเข้าอกเข้าใจมีคุณประโยชน์อย่างมาก
วิธีที่ 36 อย่าพลั้งปากพูดสอดแทรก โพล่งปากพูดตัดบท
การตัดบทคำพูดของผู้อื่นไม่เพียงไร้มารยาทแต่ยังทำ ให้ไม่ว่าจะเจรจาอะไรก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้
วิธีที่ 37 รู้จัก “แสร้งโง่” เพื่อคลี่คลายสถานการณ์
แสร้งโง่เพื่อคลี่คลายสถานการณ์จำเป็นต้องใช้สติปัญญาที่สูงกว่าผู้อื่นในขั้นหนึ่งของภูมิหลัง รวมทั้งมีความเป็นตัวของตัวเอง
วิธีที่ 38 มีศิลปะในการใช้ “ข้ออ้าง” แก้ไข
สถานการณ์เอาตัวรอดข้ออ้างที่ฉลาด ช่วยปิดบังความหน้าบางได้ดี ทั้งยังช่วยให้หลุดพ้นจากสภาพที่อับจนได้เพราะเสียงหัวเราะจะช่วยกลบเกลื่อนทุกสิ่งทุกอย่างได้
วิธีที่ 39 ต้องรู้จักใช้คำพูดให้ “โดนใจ” คนฟัง
หัวใจของคนก็เปรียบได้กับป้อมปราการ หากสามารถทลายป้อมปราการลงได้การเกลี้ยกล่อมก็สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง
วิธีที่ 40 บางขณะ การ “นิ่งเงียบ” คือ คำพูดที่ดีที่สุด
“นิ่งเสียตำ ลึงทอง” เป็นการนิ่งเงียบซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการเกลี้ยกล่อมที่เหนือชั้นอย่างหนึ่ง
วิธีที่ 41 หัดใช้ “คำ ชมบุคคลที่ 3” ให้เป็นประโยชน์
คำพูดเพียงประโยคเดียวของบุคคลที่ 3 ดีกว่าพูดเอง 100 ประโยค
วิธีที่ 42 ไม่ว่ากรณีใด จงอย่าใช้ “คำข่มขู่”
คนเหมือนกันจะให้ใครกลัวใครนั้นยาก คิดจะใช้คำข่มขู่เพื่อบรรลุเป้าหมาย สู้ใช้กำลังเลยจะดีกว่า
วิธีที่ 43 ไม่โน้มน้าวด้วยการหักหาญน้ำใจ
โน้มน้าวผู้อื่นให้คล้อยตามด้วยการหักหาญในด้านความคิดก็เท่ากับตบปากตัวเอง
วิธีที่ 44 ใช้ “หัวใจที่มีความรู้สึกร่วมกัน” ในการเกลี้ยกล่อมเจรจา
วิธีเกลี้ยกล่อมด้วยการทำให้เกิดความรู้สึกร่วมจะได้ผลดียิ่งขึ้น หากหลีกเลี่ยงเรื่องที่อีกฝ่ายหนึ่งถือสาและเริ่มพูดจากเรื่องที่อีกฝ่ายสนใจ
วิธีที่ 45 รู้จักใช้เทคนิค “ยั่วยุแม่ทัพ”
หากฝ่ายตรงข้ามเป็นคนอนุรักษ์นิยม เวลาจะใช้ยุทธวิธียั่วยุแม่ทัพก็ควรใคร่ครวญดูก่อนว่า การกระทำของเราจะบรรลุเป้าหมายได้หรือเปล่า
วิธีที่ 46 เอาชนะการเจรจาด้วยการแสดงพลังอำนาจ
ในขณะเจรจาเกลี้ยกล่อมโน้มน้าว ผู้อื่นพลังอำนาจมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวด
วิธีที่ 47 ใช้ความจริงโน้มน้าวจิตใจ
ความจริงเท่านั้นที่จะทำให้คนเกิดความซาบซึ้งใจ เวลาเจรจาเกลี้ยกล่อมไม่ควรแสร้งทำเป็นจริงมิฉะนั้นแล้วผลที่ตามมาจะยิ่งแย่ลง
วิธีที่ 48 รู้จักหยอด “คำหวาน”
คนที่พูดจานุ่มนวลใช่ว่าจะต้องเป็นคนอ่อนแอเสมอไป แต่อาจเป็นเพราะเขาเป็นคนใจกว้าง คนที่พูดจาแข็งกระด้างก็ใช่ว่าเป็นคนหยิ่งในศักดิ์ศรี แต่อาจเป็นเพราะเขาเป็นคนใจคอคับแคบ
วิธีที่ 49 ชี้ให้เห็นถึงข้อเสีย บอกให้รู้ถึงข้อดี
ไม่ว่าใครต่างก็ย่อมจะเลือกทางที่ได้มากกว่าเสียชี้ให้เห็นถึงข้อดี บอกให้รู้ถึงข้อเสีย และย่อมรู้จักเลือกในทางที่ฉลาด
วิธีที่ 50 หมั่นยกย่องพูดให้กำลังใจ
การให้กำลังใจที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบอยู่เสมอให้ผลดีมากกว่าการให้กำลังที่ไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ
วิธีที่ 51 สิ่งต้องห้ามในการพูดกับเจ้านาย
ผู้บังคับบัญชา คือ ผู้กำชะตาอนาคตทางการงานของเรา หากพูดจาไม่ดูกาลเทศะให้ดีอาจนำภัยพิบัติมาสู่ตัวเองได้ โปรดระวังให้ดี
วิธีที่ 52 จงระวัง อย่าใช้คำพูดล่วงละเมิดต่อหน้าเจ้านาย
หากเราใช้คำ พูดเอาชนะผู้บังคับบัญชาหรือเจ้านายต่อหน้าผู้คน เราก็อาจโดนไล่ออกต่อหน้าผู้คนเช่นกัน
วิธีที่ 53 ต้องเรียนรู้เทคนิคในการเสนอข้อคิดเห็นต่อผู้บังคับบัญชา
จงอย่าได้เป็นคนที่ว่า พอเห็นผู้บังคับบัญชาสีหน้าไม่ดีก็รีบเปลี่ยนความคิดในทันที จงยืนหยัดในความคิดของตัวเอง แต่อย่ายืนหยัดในการแสดงความคิดเห็นด้วยท่าทีที่ยโสโอหังแล้วผู้บังคับบัญชาก็จะมองเห็นความมุมานะอย่างไม่ระย่อท้อถอยของเรา
วิธีที่ 54 ล้อเล่นต้องดูกาลเทศะ
จะสร้างบรรยากาศให้สนุกสนานนั้นทำ ได้แต่ต้องระวังอย่าทำ ให้เหตุการณ์เกิดกลับตาลปัตรมิฉะนั้นแล้วเรื่องตลกอาจทำให้เราหัวเราะไม่ออกก็ได้
วิธีที่ 55 อย่าโอ้อวดตัวเองต่อหน้าเพื่อนร่วมงาน
ความสามารถที่แท้จริงไม่ใช่อยู่ที่การคุยโวออกมาหากคิดจะยืนหยัดอย่างมั่นคงในที่ทำงาน วิธีที่ดีที่สุด คือ การใช้สมองให้มาก และลงมือปฏิบัติให้มาก
วิธีที่ 56 เรื่องที่ยากจะเอ่ยปากใช้วิธีบอกทางอ้อม
อ้อมค้อม ไม่ใช่อ้อมโลก ไม่อย่างนั้นแล้ว พูดอยู่ครึ่งวันก็มีแต่คำพูดที่หาสาระไม่ได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นสู้ไม่พูดยังจะดีกว่า
วิธีที่ 57 เวลาตำหนิหรือตักเตือนอย่าใช้ถ้อยคำรุนแรง
หากความผิดหรือเรื่องราวทำ นองเดียวกันมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดซ้ำ ก่อนที่จะตำหนิด่าว่าใครควรไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน
วิธีที่ 58 คำเตือนฟังแล้วขัดหู แค่จี้ถูกจุดก็พอ
“คำเตือนฟังแล้วขัดหู” คำพูดประโยคเดียวอาจทำให้ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาหรืออาจนำมาซึ่งภัยพิบัติสู่ตัวเองก็ได้ ดังนั้น ก่อนที่จะเอ่ยคำเตือนใด ๆ ออกจากปากต้องคำนึงถึงวิธีการที่จะใช้ให้มาก รอบคอบอย่างที่สุด เพียงจี้ถูกจุดก็พอ เผื่อเป็นช่องทางถอยให้กับอีกฝ่ายหนึ่งบ้าง
วิธีที่ 59 ชี้ให้เห็นความผิด แต่ไม่ทำให้เสียหน้า
หน้าตา คือ ป้ายบอกยี่ห้อที่ติดตัวเราไปตลอดชีวิต ความผิด คือ ฝุ่นละอองที่ติดอยู่บนป้าย เมื่อใดที่คนสองคนเกิดข้อขัดแย้งกับผู้ตำหนิต้องช่วยรักษาป้ายยี่ห้อของอีกฝ่ายไว้ก่อนแล้วจึงค่อยเช็ดฝุ่นละอองบนป้ายนั้นออก
วิธีที่ 60 เอาใจลูกน้อง
มีวิธีประจบ ผู้ใต้บังคับบัญชาแค่คำพูดคำเดียวก็ทำให้เขาดีใจไปนาน
วิธีที่ 61 พูดกับตัวเอง ก็เป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง
พูดกับตัวเอง หากใช้ได้ถูกที่ถูกเวลาแล้วยังจะได้ผลดีกว่าพูดตามความเป็นจริงเสียอีก ในเมื่อพบกับสถานการณ์ที่อึดอัดลำบากใจหรือไม่สะดวกที่จะพูดตรงๆ
ดังนั้น การพูดกับตัวเองอาจช่วยแก้ปัญหาได้
วิธีที่ 62 พูดในที่ชุมชนต้องสั้นและได้ใจความ
ต้องจดจำหลักการในการพูดในที่ชุมชนข้อหนึ่งที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นโอกาสไหน ในสถานที่เช่นไร หัวข้อที่จะพูดจะเป็นหัวข้ออะไรก็ตาม ก็จะต้องพยายามพูดให้กระชับและได้ใจความมากที่สุด หลีกเลี่ยงการพูดซ้ำซากไม่ตรงประเด็น
วิธีที่ 63 จงศึกษาทำความรู้จักผู้ฟังก่อนขึ้นพูด
นักอภิปรายที่ประสบความสำเร็จ เป็นเพราะรู้ว่าต้องพูดอย่างไรจึงจะถูกใจคนฟัง พูดถูกใจ ไม่ใช่ประจบประแจง มิฉะนั้นแล้ว จะทำให้คนฟังเกิดความเอือมระอา
วิธีที่ 64 ฉลาดใช้เทคนิค “ยอมลดตัวลงต่ำก่อน เพื่อจะขึ้นสูงในภายหลัง”
ภูเขามีสูงมีต่ำ ชีวิตคนเราก็เช่นกัน มีตกต่ำมีขึ้นสูง ต้องรู้จักไขว่คว้าช่วงจังหวะที่จะนำชัยชนะมาสู่ตนเอง
วิธีที่ 65 คำพูดที่ออกจากใจ คือ สุดยอดคำพูดที่ได้ใจคนฟัง
เมื่อมีความเข้าใจและได้แลกเปลี่ยนความรู้สึกซึ่งกันและกันก็ย่อมจะมีพื้นฐานทางจิตใจที่จะยอมรับซึ่งกันและกัน คำพูดก็ย่อมจะเข้าถึงจิตใจของอีกฝ่าย
ที่มา : จากหนังสือ 65 วิธีพูดดีดีได้ใจคน โดย ทิภาพร เยี่ยมวัฒนา แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คุณธรรม, 2552.