ผลไม้พื้นบ้านชนิดนี้ มีสรรพคุณช่วยถอนพิษ แก้เส้นเอ็นอักเสบ ยารักษาโรคได้ดีมาก
ผลไม่ไทย มีสรรพคุณดีต่อร่างกาย เป็นยารักษาโรคอีกทั้งยังป้องกันไม่ให้โรคต่าๆเกิดขึ้นกับร่างกายของเรา เราควรหันมาใส่ใจและดูแลสุขภาพของเราให้มากยิ่งขึ้น เพราะเนื่องจากในยุคของปัจจุบันนั้นคนเราสามารถเกิดโรคต่างๆได้อย่างง่ายดาย
ตะคร้อ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นผลไม้พื้นบ้านของไทย ออกผลเป็นพวง มีลักษณะทรงกลม มีปลายจะงอยแหลมแข็ง ผิวเปลือกหนาเรียบ มีเปลือกร่อน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกมีสีเขียวอมน้ำตาลหรือสีน้ำตาล มีเนื้อสีเหลืองใส เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดแข็ง อยู่ข้างใน
เนื้อมีรสชาติเปรี้ยวจัด มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศอินเดีย เป็นที่พบตามท้องถิ่นในประเทศไทย มีคุณประโยชน์และสรรพคุณ ทางยาหลายอย่างใช้นำมาเป็นผลไม้รับประทานใช้ทำเป็นเครื่องดื่มต่างๆ ได้
ซึ่งวันนี้เองทางเราจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู็จักกับคุณประโยชน์ทางยาของ ตะคร้อ ผลไม้แสนอร่อยที่ไม่ใช่แค่ทานกันเล่นๆ เท่านั้น ประโยชน์ของมันก็มีเพียบไม่แพ้ความอร่อยเช่นกัน ว่าแล้วก็ไปชมพร้อมๆ กันเลยค่ะ
ตะคร้อ มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำ เรือนยอดมีลักษณะเป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง กิ่งก้านมักคดงอ ลำต้นเป็นปุ่มปมและพูพอน เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเป็นสีน้ำตาลเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดหนา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดโดยสามารถพบได้ตามป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ที่ระดับความสูงถึง 1,200 เมตร
ตะคร้อถือเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารสูงอีกชนิดหนึ่ง โดยตะคร้อปริมาณ 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้ จากข้อมูลการวิเคราะห์การห้องปฏิบัติการศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พบว่าคุณค่าทางด้านโภชนาการของน้ำคั้นจากผลตะคร้อ 100 กรัม ประกอบด้วย
– ไขมัน 1.14 กรัม
– โปรตีน 0.93 กรัม
– ความชื้น 87.2 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต 9.82 กรัม
– เส้นใย 0.16 กรัม
– วิตามินบี1 0.748 มิลลิกรัม
- วิตามินบี2 0.097 มิลลิกรัม
– วิตามินอี 0.19 มิลลิกรัม
– วิตามินซี 3.68 มิลลิกรัม
– แคลเซียม 154.47 มิลลิกรัม
– เหล็ก 2.12 มิลลิกรัม
ตะคร้อกับสรรพคุณทางยา
แก่น : แก้ฝีหนอง
เปลือก : เป็นยาสมานท้อง แก้ท้องร่วง ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ใช้เป็นยารักษาผิวหนังอักเสบ และแผลเปื่อยได้ดี ช่วยแก้ฝีหนอง มีงานวิจัยได้ศึกษาฤทธิ์ทางยาของส่วนเปลือกลำต้นตะคร้อ โดยการทดสอบฤทธิ์ในหนูทดลอง พบว่ามีส่วนช่วยลดปริมาณน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะป้องกันและลดการอักเสบอันเนื่องมาจากแผลในกระเพาะอาหารได้
ใบ : แก้ไข้ ช่วยให้เส้นเอ็นหย่อน แก้เส้นเอ็น ช่วยถ่ายฝีภายใน รักษาฝี
ราก : มีสรรพคุณเป็นยาถอนพิษ
เมล็ด : เมล็ดที่บดแห้งสามารถใช้ในแผลอักเสบของสัตว์พวกวัว-ควาย เพื่อกำจัดหนอนและแมลงที่ตอมแผล
น้ำมันจากเมล็ด : น้ำมันที่สกัดจากเมล็ด หรือ Kusum oil บำรุงผมแก้ผมร่วง ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำมันที่ใช้ตกแต่งทรงผม และช่วยแก้อาการปวดไขข้อได้
ตัวอย่างใช้ตะคร้อรักษาโรคต่าง ๆ ได้แก่
– เป็นยาแก้ไข้ โดยใบแก่นำมาขยี้กับน้ำ แล้วนำมาเช็ดตัว
– เป็นยาระบาย รับประทานเนื้อผลช่วยให้ระบาย ระวังไม่รับประทานมากไปจะทำให้ท้องเสียได้
– ช่วยแก้อาการท้องร่วง บ้างว่าใช้แก้บิด มูกเลือดได้ด้วย โดยนำเปลือกต้นมาตำกิน
– แก้อาการท้องเสีย เปลือกต้นตะคร้อนำมาแช่กับน้ำดื่ม โดยใช้ร่วมกับเปลือกต้นมะกอก เปลือกต้นเป๋ยเบาะ เปลือกต้นตะคร้ำ
– ช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือนได้ โดยดื่มน้ำต้มจากเปลือกต้นตะคร้อ
– รักษาฝี ใบใช้ตำพอกบริเวรที่เป็นฝี
– ยาแก้ฝีหนอง เปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ฝีหนอง
– แก้อาการปวดไขข้อได้ ใช้น้ำมันจากเมล็ดมาใช้นวดแก้อาการปวดไขข้อ
ตะคร้อ กับประโยชน์เพื่อสุขภาพ
ตะคร้ออุดมด้วยวิตามินซีและแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง ช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้ป่วยบ่อยๆ โดยเฉพาะไข้หวัด มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน และเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน จึงช่วยให้ผิวแข็งแรงและดูอ่อนเยาว์ ตะคร้อมีไฟเบอร์ที่ช่วยในการขับถ่าย และยังมีรสเปรี้ยว ออกฤทธิ์ช่วยในการระบาย ป้องกันปัญหาท้องผูก
นอกจากนี้แล้วยังพบกรดอินทรีย์หลายชนิด ได้แก่ กรดออกซาลิก กรดทาร์ทาริก กรดฟอร์มิก กรดแล็กติก และกรดชิตริก เป็นต้น ซึ่งกรดอินทรีย์ที่พบในผลไม้เหล่านี้ ช่วยส่งเสริมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ และยังเป็นที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางต่างๆ มีประโยชน์ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวอย่างเป็นธรรมชาติ
แม้ว่าตะคร้อจะเป็นเพียงผลไม้ป่าธรรมดาๆ ที่หลายๆ คนไม่สนใจ เมื่อได้ทราบประโยชน์เช่นนี้แล้ว เชื่อว่าต้องเปลี่ยนใจกันแล้วล่ะค่ะ สำหรับใครที่สนใจอยากจะกินตะคร้อสามารถหาทานได้ในช่วงฤดูร้อนนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : Kaijeaw.com