“โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” อาการ สาเหตุ วิธีป้องกัน วิธีการรักษา
น้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากความดันน้ำในหูชั้นในที่เรียกว่า Endolymph มากผิดปกติ ทำให้หูชั้นใน ซึ่งทำหน้าที่รับเสียง และรับการทรง ตัวไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โดย Endolymph มีเกลือแร่สำคัญ คือ โปรแตสเซียม ถ้าไปปนกับน้ำส่วนอื่น ๆ หูจะทำงานไม่ได้ เยื่อต่าง ๆ ในหูชั้นในแตก พบมากในวัยทำงาน ไปจนถึงผู้สูงอายุ ผู้ชายและผู้หญิงเป็นพอ ๆ กัน แต่ดูเหมือนว่า ผู้หญิงจะเป็นมากกว่านิดหน่อย
อาการของโรคเบื้องต้นเมื่อเกิดภาวะความเครียดเกิดขึ้นถี่หรือบ่อยครั้งจะทำให้เกิดอาการเหล่านี้
1. รู้สึกวิงเวียนศรีษะ ปวดหัวอย่างกะทันหันซึ่งจะเกิดเพียงชั่วครู่เมื่อเกิดภาวะความเครียดในช่วงแรกๆ
2. ตาพล่ามัว มองเห็นวัตถุไม่ชัดเจน
3. มีอาการหูอื้อ มึนงง ได้ยินเสียงรอบข้างไม่ชัดเจน
4. รู้สึกได้ยินเสียงวิ้งๆภายในหู ซึ่งจะเกิดขึ้นเสมอเมื่อเกิดภาวะความเครียด อาการนี้จะหายเองเมื่อภาวะความเครียดลดลง
5. อาการหูแว่ว ซึ่งมักได้ยินเสียงเบาๆข้างหูทำให้เกิดการสำคัญในเสียงเหล่านั้นที่ผิดๆได้
อาการเหล่านี้ที่กล่าวมา หากเกิดอาการขณะลุกหรือยืนอยู่อาจเป็นสาเหตุทำให้เป็นลมหรือหกล้มตามมาได้จึงควรระมัดระวังในเรื่องการทรงตัวเมื่ออาการกำเริบ
สาเหตุของโรคเมเนียส์(โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน)
ในปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดว่า เหตุใดปริมาณของเหลวในหูชั้นใน (Endolymph) จึงเกิดมีมากกว่าปริมาณปกติขึ้นมาเป็นระยะ ๆ แล้วส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมา (อาการของโรคเป็นผลมาจากความผิดปกติของน้ำในหูชั้นในที่มากผิดปกติ) ผู้ป่วยอาจมีอาการเกิดขึ้นหรือมีอาการกำเริบได้เมื่อมีปัจจัยเหล่านี้มากระตุ้น เช่น
* การติดเชื้อไวรัส เช่น หูชั้นในอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หูน้ำหนวก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซิฟิลิส ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
โรคทางกาย เช่น โรคภูมิแพ้ โรคของหลอดเลือดในหู ปวดศีรษะไมเกรน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคไทรอยด์
* เคยประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะมาก่อน
* ภาวะเครียดทางจิตใจ การอดหลับอดนอน ร่างกายเหนื่อยล้า การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาแอสไพริน)
* การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน รวมถึงการมีประจำเดือน
* ความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่
* กรรมพันธุ์ ทำให้ผู้ป่วยมีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติมาแต่กำเนิด
* บางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุหรือมีปัจจัยดังกล่าวมากระตุ้น ซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่
การรักษา
โรคชนิดนี้ถือเป็นโรคไม่ร้ายแรง และสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยตนเอง ในการรักษาทางการแพทย์ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดความเครียด ร่วมด้วยกับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยซึ่งจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงภาวะเครียดจากปัจจัยต่างๆให้มากที่สุด นอกจากนั้นขณะเกิดภาวะความเครียดหรือวิงเวียนศรีษะให้ทายาแก้วิงเวียนศรีษะร่วมด้วยพอช่วยในการผ่อนคลายที่เร็วขึ้น ทั้งนี้ ในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะในเรื่องความดันของหูร่วมด้วยนั้นจำเป็นต้องงดหรือลดอาหารที่มีความเค็มร่วมด้วยจึจะทำให้การรักษาโรคนี้ได้ผลมากขึ้น
แนวทางการป้องกัน
1. ลดภาวะความเครียดจากปัจจัยต่างๆ
2. ลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นประสาทหรือความดันชนิดต่างๆ เช่น เหล้า กาแฟ บุหรี่ เป็นต้น
3. หลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมที่อาจกระตุ้นภาวะความเครียด เช่น อากาศร้อน บริเวณที่มีเสียงดัง บริเวณที่คนแออัด เป็นต้น
4. รับประทานอาหารจำพวกผักผลไม้เพิ่มขึ้น และลดอาหารประเภทแป้งหรือไขมันที่เป็นสาเหตุของไขมันอุดตันในเส้นเลือด
5. ลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารประเภทเค็มหรือมีรสจัดต่างๆ
6. มั่นออกกำลังกายหรือการฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอ
ภาวะโรคแทรกซ้อน
1. มักเกิดภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย จากความเครียดที่เกิดบ่อยครั้ง
2. ร่างกายอ่อนแอมีภาวะเจ็บไข้ได้ป่วยแทรกซ้อนบ่อยครั้ง เช่น ไข้หวัด
3. เกิดภาวะเสี่ยงต่อเส้นเลือดในสมองแตก
4. เกิดภาวะการเสื่อมของระบบประสาทการได้ยิน เช่น หูอื้อถาวร หูหนวก เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง : guru.sanook