ยาเขียว ยาดีของไทยไม่แพ้นอก กินแทนยาพารา ถูกและดีต่อตับมากกว่าเยอะ

0

ยาเขียว ยาดีของไทยไม่แพ้นอก กินแทนยาพารา ถูกและดีต่อตับมากกว่าเยอะ

เมื่อเรามีอาการ ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ ไม่สบายตัว ก็จะหยิบยาขึ้นมากินก็คงจะนึกถึงยาพาราเซตามอล 500 mg. แต่ทุกคนทราบกันดีหรือไม่ ว่าการกินยาชนิดนี้นั้น เมื่อเรากินสะสมเข้ามากๆก็จะเกิดผลเสียต่อร่างกายของเราได้ วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ ยาเขียว ที่เป็นยาสมุนไพรไทยของเรา ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของอาการเหล่านี้ได้ดีมากๆ ที่สำคัญไม่มีโทษต่อร่างกายของเราอย่างแน่นอน

โดยสรรพคุณดั้งเดิมของยาเขียวนั้น แก้ได้ตั้งแต่เป็นไข้ ร้อนใน ง่ายๆว่าถ้ารู้สึกตัวรุมๆ เหมือนจะเป็นไข้ ตากฝน เพลียแดด ปวดหัวตึ้บๆ สามารถกินยาเขียวได้เลย ซองละ 5 บาทเท่านั้น แถมยังช่วยบำรุงตับ บำรุงร่างกาย ไม่สร้างผลเสียเหมือนยาทั่วไปที่เรากินกันอยู่ทุกวันล้านเปอร์เซ็นต์

ทางเพจ สมุนไพรหมอศุภ ยังบอกเคล็ดลับการแก้คัดจมูกมาด้วย วิธีง่ายๆ บ้านๆ คนเฒ่าคนแก่ใช้มานานนมนั่นก็คือการทุบหอมแดง 2-3 หัว ใส่แก้ว เติมน้ำร้อน แล้วเอามาดมแทนการกินยา จมูกโล่งเฉยเลย!

อาการปวดหัวนี้ เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ทราบหรือไม่ว่าอาการปวดหัวนั้นสามารถจำแนกได้เป็น 8 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ตามสาเหตุและอาการ

วันนี้เราจึงมีคำแนะนำดีๆ สำหรับอาการปวดหัวทั้ง 8 ประเภทนี้มาฝากกันค่ะ เพื่อเวลาที่พบคุณหมอจะได้อธิบายกันได้ง่ายๆ และคุณหมอจะได้ช่วยให้คำแนะนำได้อย่างตรงจุดมากขึ้นอีกด้วย

1. อาการปวดหัวที่มาจากความเครียด

อาการปวดหัวประเภทนี้ จะรู้สึกปวดขมับทั้งสองข้างเหมือนมีแรงกดจากภายใน แต่จะไม่ปวดแบบตุบๆ บางรายจะรู้สึกปวดที่บริเวณต้นคอ หลัง และไหล่ร่วมด้วย

2. อาการปวดหัวที่มาจากเส้นประสาทฟัน

หากมีปัญหาสุขภาพฟันก็อาจจะทำให้มีอาการปวดหัวร่วมด้วย โดยจะให้ความรู้สึกปวดหัวได้ทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้ และจะปวดเหมือนมีอะไรมารัดที่ศีรษะ และมีอาการปวดรอบกระบอกตา ร้าวไปจนถึงแถวกรามและขากรรไกร

3. อาการปวดหัวแบบไมเกรน

จะมีอาการปวดหัวข้างเดียว และจะปวดมากจนอาจมีอาการเวียนศีรษะและอาเจียนร่วมด้วย แต่ในบางรายก็อาจจะปวดหัวได้ทั้งสองข้าง แต่จะปวดแบบตุบ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน

4. อาการปวดหัวจากการขาดคาเฟอีน

เป็นอาการปวดหัวหากไม่ได้รับสารคาเฟอีนในชาหรือกาแฟในช่วงเวลาที่เคยรับประทาน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหัวตื้อๆ และรู้สึกหนักหัว ร้าวไปจนถึงบริเวณกระบอกตา ในบางรายอาจจะมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย

5. อาการปวดหัวจากโรคไซนัสอักเสบ

จะมีอาการคล้ายตอนเป็นหวัด แต่อาการปวดหัวนี้จะปวดแบบหน่วง ๆ บริเวณหน้าผาก กระบอกตา รวมทั้งบริเวณโหนกแก้มด้วย

6. อาการปวดหัวแบบเรื้อรัง

จะมีอาการปวดหัวแบบหน่วง ๆ ติดต่อกันมากกว่า 15 วันต่อเดือน หรือจะมีอาการปวดหัวมากกว่า 3 เดือน ร่วมกับมีอาการเป็นไข้ และจะปวดเมื่อร่วมกับบริเวณคอและไหล่ร่วมด้วย

7. อาการปวดหัวช่วงเป็นประจำเดือน

ฮอร์โมนก็มีส่วนสำคัญทำให้เกิดอาการปวดหัวได้เช่นกัน ซึ่งจะมีอาการปวดหัวเมื่อมีประจำเดือน และมีไข้ทับระดู ซึ่งอาการปวดหัวนี้จะมีก่อนหรือหลังประจำเดือนมา ประมาณ 2 – 3 วัน ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นอาการไมเกรนในระยะเริ่มแรกได้อีกด้วย

8. อาการปวดหัวแบบรุนแรงและเฉียบพลัน

จะรู้สึกปวดหัวเหมือนได้รับแรงกระแทกที่หัว จะรู้สึกปวดหัวอย่างรุนแรง รวมทั้งมีอาการชาบริเวณใบหน้า ลิ้น และปาก รวมทั้งมีอาการหน้ามืดแบบเฉียบพลัน ซึ่งอาจมีผลมาจากความดันโลหิตสูง หรือเนื้องอกก็ได้

แต่ทั้งนี้ แม้อาการปวดหัวอาจจะเป็นอาการที่ใครก็สามารถเป็นได้ แต่ถ้าเป็นกันบ่อยๆ หรือหลายวันติดกัน แนะนำให้รีบไปพบแพทย์จะดีกว่านะคะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายแรงใดๆ ตามมานั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : Gangbeuaty , honestdocs

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่