ขุดบ่อแบบไหน มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ภัยแร้งก็ช่วยได้ มีน้ำเก็บตุนตลอดเวลา
“เกษตรกรต้องเลิกคิดว่า น้ำเป็นของเทวดา ให้มองน้ำเป็นของไม่แน่นอน ต้องสร้างแหล่งน้ำไว้เป็นหลักประกันให้กับตัวเอง มีน้ำเหมือนกับมีประกันชีวิต อย่าไปคิดว่า ขุดสระแล้วจะเสียพื้นที่ทำกิน มีสระมีน้ำตุนเก็บไว้นี่ต่างหากจะช่วยให้เราทำมาหากินได้ทุกเมื่อ ได้ทั้งปี เกษตรกรควรขุดสระน้ำเตรียมรับมือภัยแล้งเพราะปีหน้าและปีต่อๆไป ปัญหาจะรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ”
รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่า อย่าขุดเหมือนที่ผ่านมา เพราะใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ เก็บน้ำไม่ได้ บางแห่งปล่อยทิ้งให้รกร้างไปเกือบ 50% เพราะขุดแบบไม่คำนึงถึงหลักความเป็นจริงของธรรมชาติ…ไปขุดบ่อน้ำบนที่ดอน แถมยังทำคันบ่อที่สูงจนน้ำไหลเข้าไปไม่ได้ กลายเป็นหลุมร้างไร้ประโยชน์ จะขุดสระน้ำให้ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ ดร.บัญชาแนะว่า พื้นที่สระน้ำต้องมีอย่างน้อย 1 ไร่ ถึงจะเพียงพอใช้ในหน้าแล้ง และยังใช้เลี้ยงปลาได้อีกด้วย
ส่วนพื้นที่จะขุด ให้เลือกบริเวณที่ลุ่มต่ำ สังเกตได้บริเวณนั้นจะมีกรวดถูกน้ำพัดไหลมารวมกัน ขุดไปเถอะข้างล่างจะมีดินดานช่วยเก็บน้ำได้ดี…อย่าไปขุดบนเนินดิน นอกจากจะไม่มีน้ำไหลมาเข้าบ่อแล้ว ขุดลงไปข้างล่างยังเป็นดินร่วน เก็บน้ำไม่อยู่ น้ำซึมลงใต้ดินหมด
“ความลึกของสระที่เหมาะ 4-5 ม. และวัดความลึกจากพื้นดินเดิม ไม่ใช่ขุดแบบราชการ จะขุดกันแค่ 3 ม. แถมวัดแบบขี้โกง วัดจากคันดินที่กองอยู่ข้างบน ไปๆมาๆลึกแค่ 2 ม.เอง เก็บน้ำไม่พอใช้หน้าแล้งแน่ เพราะน้ำมีการระเหยออกไปวันละ 3 มม. คิดดูแล้วกันหน้าแล้ง 7 เดือน (พ.ย.-พ.ค.) 200 กว่าวัน น้ำจะหายไปแค่ไหน ไม่เหมือนกับขุดลึก 4-5 ม. ถึงจะระเหยไป น้ำยังเหลืออีกเยอะ”
ขุดดินขึ้นมาแล้ว ถ้ามีคนมาขอซื้อดินไปถมที่ก็ให้ไป แต่ถ้าไม่รู้จะเอาไปไหนต้องวางกองรอบ ขอบสระ ควรให้กองดินอยู่ห่างจากขอบสระ 1-2 ม. เพื่อกันดินไหลลงบ่อ
ที่สำคัญ อย่ากองดินปิดขอบสระจนหมด ต้องเปิดทางให้น้ำหลากไหลเข้าสระได้ด้วย ถ้าปิดหมด รอให้ฝนตกลงสระอย่างเดียว น้ำจะไม่มีวันเต็มสระ…ไม่นานจะกลายเป็นบ่อร้าง
“สระที่จะขุดควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะจะเสียพื้นที่ขอบบ่อน้อยที่สุด และการขุดสระเพื่อป้องกันตลิ่งทรุดพัง ควรมีลาดเอียงในอัตรา 1 : 1 แต่ถ้าสระลึก 4 ม.ขึ้นไป จะต้องขุดแบบให้มีตะพัก เพื่อป้องกันตลิ่งชันทรุดในช่วงน้ำน้อยด้วย”
ที่สำคัญ ดร.บัญชา ย้ำว่า เมื่อขุดสระน้ำมาแล้ว ควรที่จะนำน้ำไปใช้เพื่อปลูกพืชชนิดอื่นๆ ไม่ใช่ขุดเพื่อเอาน้ำไปทำนา เพราะมันไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
เนื่องจากปีที่แล้ว..ทางกองทุน หมู่บ้านได้รับเงินทุนเพิ่ม อีก 4 แสนบาท
กองทุนจึงได้มีแนวคิดที่ให้ชาวบ้านกู้เงินไปให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงได้รวมตัวกันเพื่อ
ทำโครงการพัฒนาพื้นที่การเกษตร..ขึ้น…ได้มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการเกือบๆ 40 รายใช้งบประมาณ 6 แสนกว่าบาท.มีทั้งสระและนา…ในภาพด้านล่าง..จะเป็นสระที่ใช้งบประมาณในการขุด 13,000 บาท ทุกบ่อ…ในขนาด 900 ลบม.
กว้างxยาวxลึก ก็มีขนาดอยู่ 3 อย่าง 15x20x3 ม. หรือ 15x25x2.5 ม. หรือ 15x30x2 ม.
สระบ่อนี้น้ำใสที่สุด..ในบรรดาทุกบ่อ.
มีรูปตัวอย่างของ สระน้ำหลายๆแบบให้ดูนะครับ…
1.สระนี้ ความลึก 2.5 เมตร ขุดเสร็จมีน้ำแต่ขุ่น ขุดอยู่ข้างๆนา..ค่อนข้างลุ่ม..
2.สระนี้เหมือนภาพที่ 1 แต่ขุดเสร็จน้ำเยอะมาก น้ำลึกกว่า 2 เมตร รถติด อยู่ 2 วัน จ่าย 13,000 เท่าเดิม
3.ประเภทเดียวกันกับ 1และ2.มีน้ำออกมาเลยตอนขุดเสร็จ…ไม่ต้องรอฝน ปลูกมะเขืองามเลย..ครับ..มีน้ำรดสบาย
4.ขุดข้างห้วย…ระดับน้ำออกมาเท่ากันกับห้วยเลย แต่ห้วยสายนี้เป็นห้วยสายเล็กไม่ใหญ่มากคูสะติดกับห้วเลยครับ…มีน้ำตลอดปี น้ำหลากก็ไม่ขาดเพราะทำคันดินกั้นไว้
5.ขุดข้างห้วย..เหมือนภาพที่ 4..แต่ไม่มีน้ำ..ห้วยใหญ่ครับ ข้อเสียห้วยนี้ขนาดใหญ่ครับพอหน้าแล้งน้ำในห้วยลดลงมากก็จะดึงน้ำในสระไปด้วย ขนาดระยะห่างจากสระกับห้วย 30 เมตรน้ำยังหมดครับ
6.ขุดสระในพื้นที่ดินทราย…สังเกตุดีๆขอบสระจะพังลงเรื่อยๆจะทำให้สระตื้นได้ง่ายครับ..
7.ดินทรายอีก สระครับ..แต่อยู่ที่ดอน..
8.ขุดสระดินเหนียวได้เปรียบครับ ถึงลึกก็ไม่พังครับ…
9.ประเภทลอกครองเก่าๆตามรูปเดิมครับ..
10.ประเภทที่ดอนรอน้ำฝนอย่างเดียว..
11.แบบนี้ทำยาก..เอาดินขึ้นข้างเดียว…ในโครงการ 13,000 เท่าเดิม ครับ
12.ลักษณะเช่นเดียวกับภาพที่ 11 ครับ..
13.ทำสระข้างๆสวนยางครับ..รอน้ำฝนอย่างเดียว..
14.เหมือนกันกับ ภาพที่ 13 ข้างสวนยางเช่นกัน
15.สระลูกนี้…ลุยน้ำขุดเลยครับ..คนขับใช้ต้นไม้ 2 ต้นรองตีนตะขาบ เห็นแล้วสุดยอด..
15x30x2 ม.
แบบสุดท้ายของผมเองครับ..
1.เป็นภาพสระที่ตื้นเขิน ผมทำไว้เมื่อปี 47 ใช้เงินไป 14,000 บาท
2.ขุดใหม่อีกรอบเมื่อต้นปี 53 ให้รถลงไปที่ก้นสระ ขุดลงอีก 3 เมตร..ในโครงการ จ่ายอีก 13,000 บาท
3.แล้วก็มีน้ำจนถึงแล้ง แต่มันยังลอดพื้นอยู่อีก
4.ขุดใหม่ปี 54 เมื่อวันที่ 19 เม.ย 54 ที่ผ่านมา พังคูเดิมเอาดินขัดใหม่ ขยายสระเพิ่ม
น่าจะมีน้ำอยู่ละทีนี้…
5.สุดท้ายออกมาเป็นอย่างนี้ในปัจจุบัน…ทำสระใหม่ลอกใหม่ขุดนั้นนี่รอบๆ หมดเงินครั้งนี้ 18,900 บาท…
กว่าจะทำเสร็จได้ตามความคิด หมดเงินกับสระนี้ไปเยอะครับ ทำอยู่ 3 รอบแล้วสระเจ้ากรรม
แหล่งที่มา : thairath, bansuanporpeang
เรียบเรียงโดย : Postsod