เกิดผลสูงสุด การกรวดน้ำ 10 วิธีที่ถูกต้อง รับบุญเร็ว
เวลาที่ได้มีการเข้าวัดเข้าวาทำบุญเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากการทำบุญนั่น ก็คือ การกรวดน้ำ การกรวดน้ำจะเป็นการตั้งใจเพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลที่ตัวเราได้ทำส่งไปให้แก่ผู้ที่ล่ ว ง ลับ จากไป ผู้ที่ตั้งใจจะทำบุญไปให้ พร้อมทั้งรินน้ำให้ไหลลงไปตามพื้นดิน หรือที่รองรับ นำไปเทที่พื้นดิน ที่โคนต้นไม้ใหญ่
การกรวดน้ำ เราได้มีวิธีการที่ถูกต้องมาฝากให้กับทุกๆท่าน กรวดน้ำได้ถูกต้อง ก็จะเกิดเป็นผลบุญที่สูง รับบุญได้เร็วส่งผลบุญได้เร็ว หลายๆท่านอาจจะมีการทำผิดวิธีกันอยู่หรือทำอย่างไม่ถูกต้อง
1 การกรวดน้ำมี 2 วิธี
กรวดน้ำเปียก คือ ใช้น้ำสะอาดเป็นสื่อกลาง เพื่อรินน้ำลงไปพร้อมกับการอุทิศผลบุญกุศลไปด้วย
กรวดน้ำแห้ง คือ ไม่ใช้น้ำ ใช้เป็นสิบนิ้วพนมมือ เพื่อเป็นการอธิษฐานและอุทิศผลบุญกุศลส่งไปให้
2 อุทิศผลบุญมี 2 วิธี
อุทิศเจาะจง ได้แก่ การกล่าวชื่อผู้ที่เราจะให้ท่านรับ อย่างเช่น ชื่อพ่อแม่ ชื่อญาติพี่น้อง หรือกล่าวชื่อใครที่เราตั้งใจจะทำบุญส่งไปให้
อุทิศไม่เจาะจง ได้แก่ การพูด กล่าวรวมๆกัน อย่างเช่น ญาติทั้งหลาย เจ้าก ร ร มนาย เ ว รทั้งหลาย ทางที่ถูกควรทำทั้งสองวิธีนี้ เพราะเป็นผู้ที่มีคุณหรือผู้ที่มีเ ว รต่อกันมา ให้กล่าวคำอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้
3 น้ำที่ใช้การกรวด
น้ำที่นำมาใช้ในการกดน้ำนั้นใช้เป็นน้ำสะอาดไม่มีสีและไม่มีกลิ่น กรวดน้ำก็ให้รินน้ำใส่ลงไปในภาชนะที่สะอาดแล้วนำไปเทโคลนต้นไม้ใหญ่
4 ใช้น้ำเป็นสื่อ ผืนดินเป็นพยาน
การกรวดน้ำจะใช้น้ำเป็นสื่อและใช้แผ่นดินเป็นพยาน ให้รับรู้ในการอุทิศส่วนบุญกุศลที่เราได้ทำในครั้งนี้ได้ส่งผลบุญไปให้
5 ควรกรวดน้ำตอนไหน เวลาไหน
ควรมีการกวดน้ำทันทีในขณะที่พระอนุโมทนาหรือหลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จ แต่ถ้าหากว่าไม่สะดวกจริงๆก็สามารถทำในภายหลังได้แต่ทำในขณะนั้นเลยย่อมดี กว่า
6 ควรรินน้ำตอนไหน
ควรเริ่มรินน้ำพร้อมกับตั้งใจอุทิศ ในขณะที่พระผู้นำเริ่มสวดว่า “ยะถาวาริวะหาปูรา…”
และรินให้หมดเมือ่พระว่ามาถึง “…มะณิโชติระโส ยะถา…” พอพระทั้งหมดรับพร้อมกันว่า
“สัพพีติโย วิวัชชันตุ…” เราก็พนมมือรับพรท่านไปจนจบ จึงจะถือว่าถูกต้อง
7 ถ้ายังว่าบทกรวดน้ำไม่เสร็จ จะทำอย่างไร
ควรใช้เป็นบทกรวดน้ำที่สั้นๆเช่น
“อิทัง โน ญาตีนังไหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขออุทิศส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ …. (ออกชื่อผู้ล่วงลับ) …. และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด”
หรือจะใช้แต่ภา ษ าไ ท ยอย่างเดียวก็ได้ว่า “ขออุทิศส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนี้ จงสำเร็จแก่ พ่อ แม่ ญาติ ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณเจ้าก ร ร มนายเ ว ร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงได้รับส่วนบุญกุศลครั้งนี้โดยเร็วพลัน และโดยทั่วถึงกันเทอญ” ส่วนบทยาวๆ เราควรเอาไว้กรวดส่วนตัว หรือกรวดในขณะทำวัตรสวดมนต์รวมกันก็ได้
8 ไม่เอานิ้วไปรองรับ หรือเกาะกัน
เทน้ำให้เป็นสายยาวไม่ขาดและไม่ควรใช้วิธีในการเกาะกันเป็นกลุ่ม ถ้าเป็นงานที่ๆใหญ่ๆให้เจ้าภาพหรือประธานรินน้ำกรวดเพียงคนเดียว หรือเป็นคู่ก็พอ คนที่เหลือก็ให้พนมมือ ตั้งใจอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้
9 การทำบุญและอุทิศส่วนบุญ
สำรวมจิตใจอย่าให้จิตใจมีความคิดที่ฟุ้งซ่าน มีความเลื่อมใส มั่นคงในจิตใจ ผลของบุญและการอุทิศส่วนบุญกุศลจะมีอานิสงส์มาก ผลบุญที่เราอุทิศไปให้หากไม่มีใครมารับก็ยังคงเป็นบุญของเราอยู่ครบถ้วน
10 บุญเป็นของ ก า ย สิทธิ์
ยิ่งให้ยิ่งมาก ยิ่งตระหนี่ยิ่งน้อย ยิ่งอุทิศให้คนอื่นหมดเลยเราก็ยิ่งจะได้บุญ
ขอบคุณข้อมูลจาก : dharma