การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์กลม แบบง่ายๆทำเองได้ที่บ้าน

0

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์กลม แบบง่ายๆทำเองได้ที่บ้าน

ในเรื่องของการเลี้ยงปลาในท่อปูนซีเมนต์นั้น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่หลายคนให้ความสนใจ เนื่องจากใช้พื้นที่ไม่เยอะ สามารถเคลื่อนย้ายได้ ลงทุนในการเลี้ยงเป็นจำนวนเงินไม่มาก

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์กลม จากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ ได้พบว่าชาวบ้านเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงปลาดุกในท่อปูนซีเมนต์นั้น ได้บอกว่าทำกำไรได้ดี และยังบอกถึงวิธีการเลี้ยงปลาดุกด้วยระบบชีวภาพซึ่งมีขั้นตอนการเลี้ยงดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมอุปกรณ์

1 ท่อปูนซีเมนต์ขนาดประมาณ 100 * 50 เซนติเมตร

2 ท่อ PVC ขนาด 1 นิ้ว ความยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น

3 ท่อ PVC ขนาด 1 นิ้ว ความยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น

4 ข้องอ PVC ขนาด 1 นิ้วจำนวน 1 อัน

5 ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น

6 ยางนอกรถจักรยานจำนวน 1 เส้น

7 ตาข่าย

8 น้ำที่หมักสำหรับสูตรเลี้ยงปลา

9 ปูนหินดินทราย

10 อาหารสำหรับไว้เลี้ยงปลาดุก

11 พืชผักที่ปลากินอย่างเช่น ผักตบชวา ผักบุ้ง ผักลอยน้ำ

12 ลูกปลาดุก 80 ตัว

ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก

1 เริ่มต้นจากการทำความสะอาด จัดการความเป็นกรดด่างในบ่อปูนก่อน นั่นก็คือการแช่โคนกล้วย นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วก็นำมาผสมกับมูลวัวผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปใส่ในบ่อ ใส่น้ำให้เต็มหมักทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นเปิดน้ำทิ้งเอาโคนกล้วยออกไป

2 น้ำน้ำสะอาดไปแช่ในบอร์ดทิ้งไว้ประมาณ 2 วันแล้วเปิดน้ำทิ้ง

3 ให้เรานำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ตากแดดทิ้งไว้ให้แห้งก็เป็นอันเสร็จวิธีการจัดการกับบ่อปูนซีเมนต์

ขั้นตอนที่ 3 การทำน้ำ หมักสูตรเลี้ยงปลา

1 ถังพลาสติกที่เป็นภาชนะมีฝาปิดจำนวน 1 ถัง

2 น้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม จะใช้แบบไหนก็ได้

3 ฟักทองแก่ 3 กิโลกรัม

4 กล้วยน้ำว้าสุก 3 กิโลกรัม

5 มะละกอสุก 3 กิโลกรัม

วิธีทำ

ให้เรานำมะละกอ กล้วยน้ำว้า และฟักทองแบบไม่ต้องปอกเปลือก นำมาสับให้ละเอียดแต่ไม่ต้องละเอียดมาก ใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด ผสมน้ำตาลทรายแดงลงไป คนให้เข้ากันปิดฝาให้แน่นหมักทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อผ่านไป 1 สัปดาห์ให้เติมน้ำลงไปประมาณ 10 ลิตร ปิดฝาให้แน่นแล้วมากต่ออีกประมาณ 2 สัปดาห์

ประโยชน์

– วิธีนี้จะช่วยเป็นฮอรโมนพืชช่วยเร่งดอกเร่งผล ทำให้รสชาติดี

– ช่วยให้ปลาแข็งแรงไม่เป็นโรคง่าย

– ช่วยให้ปลาไม่มีกลิ่นสาบ

– ช่วยให้ปลาไม่มีมันในท้อง

– ช่วยให้ปลายมีเนื้อรสชาติสัมผัสหวานอร่อย

ขั้นตอนที่ 4 การเลี้ยง

1 เริ่มต้นจากการนำท่อปูน มาใส่น้ำมีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วก็เติมน้ำหมักลงไปประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ

2 นำปลาดุกมาแช่ในน้ำบ่อปูนทั้งถุง ค่อยๆเปิดปากถุงออกให้ปลาว่ายออกมาเอง

3 ในช่วงวันแรกที่ปล่อยปลาไม่ควรให้อาหารใดๆทั้งสิ้น

4 นำพืชผักที่ปลากินอย่างเช่นผักบุ้งและผักตบชวามาใส่ไว้ในบ่อแทน

5 การให้อาหารปลา 1 ตัวเราจะให้ห่างประมาณ 5 เม็ดต่อมื้อ ช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 ครั้งเช้ากับเย็น พอปลาอายุได้ 1 เดือนให้อาหารปลาขนาดกลางโดยให้วันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น

ปล ก่อนที่จะให้อาหารควรนำอาหารมาแช่ในน้ำก่อนเสมอประมาณ 10 นาที

เหตุผลที่ต้องแช่น้ำก่อนก็เพื่อ ปลาจะได้กินอาหารทุกตัว ปลาจะแข็งแรงไม่ท้องอืด ปลาไม่ป่วยง่าย การเจริญเติบโตใกล้เคียงกันทุกตัว อาหารไม่เบื่อได้บ่น้ำก็ไม่เสี่ยง่าย

วิธีการถ่ายน้ำ

ควรถ่ายน้ำทิ้งทุกๆ 7-10 วัน โดยการถ่ายน้ำประมาณ 50-70 เปอร์เซ็นต์ โดยทุกๆการถ่ายน้ำจะต้องใส่น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะเสมอ และการถ่ายน้ำจะต้องเป็นน้ำที่พักน้ำเอาไว้อย่างน้อย 3 วัน และจะต้องตรวจเช็คเสมอว่าน้ำนั้นไม่มีคลอรีน ความเป็นกรดความเป็นด่างอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับการเลี้ยงปลา

ขั้นตอนที่ 5 การจำหน่าย

1 ก่อนที่จะนำไปขายนำไปจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกนั้นมีสีเหลืองสวยน่ารับประทาน ขายได้ราคาดีนั่นเอง

2 ปลาดุกที่มีอายุ 3 เดือนถึง 4 เดือน จำนวน 70 ตัวจะมีน้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม จะขายได้กิโลกรัมละประมาณ 60-70 บาทแล้วแต่ราคาตลาด

3 ต้นทุนอาหารเลี้ยงปลาดุกกิโลกรัมละประมาณ 18-20 บาท ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุดจะใช้เงินประมาณ 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งเททิ้งนั้นสามารถนำมารดน้ำต้นไม้พืชผักสวนครัว จะทำให้พืชผักสวนครัวของคุณได้รับปุ๋ยอย่างดี

ความรู้ดีๆเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุกในท่อวงซีเมนต์นั้น เพื่อนๆสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย รับรองเลยว่าประโยชน์ที่ได้รับวันนี้ได้ไปเต็มเปี่ยมอย่างแน่นอน ว่างแล้วก็เริ่มต้นทำกันได้เลยนะครับ

เขียน / เรียบเรียงโดย : Postsod

ไม่อนุญาตให้คัดลอก ทุกกรณี บทความมีลิขสิทธิ์

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่