ก่อนฝากต้องรู้!! ฝากเงินธนาคาร 1 ล้านบาท ผ่านไป 5 ปี เงินจะหายไป 1 แสน เพราะสาเหตุนี้.. กระจ่างชัด!!

0

ก่อนฝากต้องรู้!! ฝากเงินธนาคาร 1 ล้านบาท ผ่านไป 5 ปี เงินจะหายไป 1 แสน เพราะสาเหตุนี้.. กระจ่างชัด!!

เชื่อว่าหลากท่านมีวิธีการเก็บออมเงินด้วยการเปิดบัญชีเงินฝากไว้ในธนาคารเพื่อหวังกินดอกเบี้ย  แต่ก่อนจะฝากต้องทำความเข้าใจ และอ่านรายละเอียดให้ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งวันนี้เรามีตัวอย่างของเงินฝาก ที่ทางเพจ STOCKS.co.th ได้แชร์ไว้เห็นว่าเป็นประโยชน์เลยอยากแชร์มาให้ทุกท่านได้อ่านกัน

หากเราฝากเงินธนาคาร 1 ล้านบาท ผ่านไป 5 ปี เงินเราจะหายไปราว 1 แสนบาท

หายไปไหน? ใครเอาไป?

ตามมาดูกันครับ

ตัวอย่างใช้กรณีเงินฝากประจำ

ดอกเบี้ย 1% โดยประมาณนะครับ

– อัตราหักภาษี 15% ใช้กับบัญชีเงินฝากประจำ, เงินฝากกระแสรายวัน, เงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ , ตั๋วแลกเงิน , สลากออมทรัพย์ และ พันธบัตรรัฐบาล ยกเว้นประเภทบัญชีออมทรัพย์ต้อง ได้รับดอกเบี้ย > 20,000 บาท ถึงจะหัก 15%

– อัตราการหักภาษีจะมีความแตกต่างและรายละเอียดเงื่อนไขปลีกย่อย กรุณาตรวจสอบข้อมูลการหักภาษีกับธนาคารที่ท่านทำธุรกรรมอยู่

โห.. จะเหลือไหม ?

ค่อยๆ ทำความเข้าใจ

คำตอบก็คือ “เงินเฟ้อ” นั่นเอง

ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหาเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน

สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ

1. ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (เรียกว่า Demand – Pull Inflation) ประกอบกับสินค้าและบริการนันๆ ในตลาดมีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น

2. ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (เรียกว่า Cost – Push Inflation) กล่าวคือ หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย

ผลต่อประชาชน

– รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ

– อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง จะมีค่าลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง

ยกตัวอย่าง

กรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปีแต่หากอัตราเงินเฟ้อหรือราคาเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1 อาจกล่าวได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีเท่านั้น แต่หากปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังเท่าเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะกลายเป็นร้อยละ – 0.5 ต่อปี ซึ่งถือว่ากำลังซื้อของผู้ฝากเงินลดลง การฝากเงินทำให้ได้รับผลตอบแทนจริงๆ ติดลบ ทำให้ผู้ฝากไม่อยากออมเงิน และอาจหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์และหุ้น เป็นต้น ทำให้ต้อง
เผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย หากไม่มีความรู้เพียงพอในการบริหารจัดการก็อาจทำให้ขาดทุน และเกิดภาระหนี้สินได้

ผลต่อผู้ประกอบการ

– เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้น

– ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออก ของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอืนๆ

ผลต่อประเทศ

– ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้ การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทำให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตาม
ไปด้วย

– ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนานๆ ประชาชนก็จะหันไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพยต่างๆ (asset price bubble) และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้เช่น หนี้ครัวเรือน

เงินฝาก 1 ล้านบาทจะหายไปราว 1 แสนบาท ในปีที่ 5

และจะหายไปราว 2 แสนบาทในปีที่ 10

เงินฝาก 1 ล้านบาทจะมีการด้อยค่าลงเรื่อยๆจากภาวะเงินเฟ้อ  เราจึงจำเป็นต้องศึกษาหาวิธีการลงทุนที่ถูกต้องเพื่อปกป้องเงินออมของเราจากอำนาจการกัดกร่อนของเงินเฟ้อ

จากเรื่องนี้ก็คงเป็นประโยชน์ ให้กับหลายๆคนอย่างแน่นอน ถ้าอยากจะฝากเงินก็ควรศึกษาข้อมูลให้ดี รวมทั้งคิดวิเคราะห์ว่าจะคุ้มหรือไม่นะครับ

ขอขอบคุณที่มาจาก : STOCKS.co.th

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่