ขับรถเกียร์ออโต้ควรทราบ จอดรถหันล้อออก ปุ่ม shift ที่เกียร์

0

ขับรถเกียร์ออโต้ควรทราบ จอดรถหันล้อออก ปุ่ม shift ที่เกียร์

ผู้ใช้รถใช้ถนนควรทราบข้อมูลเหล่านี้ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ขับรถเกียร์ออโต้ ควรที่จะรู้วิธีการจอดรถที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุและปัญหาตามมาในทีหลัง อย่างเช่น การจอดรถซ้อนคัน จอดรถปิดคันคนอื่น จอดรถในทางลาดชัน ซึ่งข้อมูลที่เราจะนำมาฝากในวันนี้ จะช่วยให้คุณจอดรถได้ถูกต้อง และไม่มีปัญหาตามมาในภายหลังได้ รับรองเลยว่า ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลบางอย่างที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนด้วยซ้ำไป

1 อย่าเข้าเกียร์ P จอดรถบนเนิน

การจอดรถเกียร์ออโต้นั้น เวลาที่เราจอดรถแล้วดับเครื่อง แนะนำว่าจะต้องเข้าเกียร์ P เพื่อที่จะดับเครื่อง แต่นั่นก็คือในกรณีที่จอดรถบนทางปกติ แต่ถ้าหากเราจอดในทางลาดชัน มันจะต้องมีรายละเอียดในการจอดรถบนทางลาดชันมากกว่านั้นก็คือ

– ให้เราเหยียบเบรค และ เลื่อนเกียร์ไปที่เกียร์ N

– จากนั้นให้ดึงเบรคมือขึ้นจนสุด แล้วปล่อยเบรค (ในจังหวะนี้ เราจะรู้สึกว่ารถขยับเล็กน้อยก่อนที่เบรคมือจะล๊อคล้อ)

– แล้วค่อยเลื่อนเกียร์จากเกียร์ N ไปที่เกียร์ P เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

โดยสาเหตุที่เราจะต้องทำแบบนี้นั่นเป็นเพราะว่า เวลาที่เราจอดรถบนเนินชัน จะทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงมาดึงรถให้เราไปตามเนิน ถ้าเราเข้าเกียร์ P ไปเลย จะทำให้เกียร์ไปห้ามล้อไม่ให้รถขยับ ถ้าหากเราทำแบบนี้บ่อยๆ จะทำให้กลไกระบบภายในรถของเราโดยเฉพาะเกียร์เสื่อมสภาพเร็วมากกว่าปกติ

หากกลไกลในเกียร์ตรงนี้เสีย จะทำให้เกิดอาการเกียร์ค้าง เปลี่ยนเกียร์ไม่ได้ อีกทั้งเกียร์ P ไม่เหมาะสำหรับเป็นตัวหลักในการห้ามล้อ ดังนั้นการใช้เบรคมือมาเป็นตัวห้ามล้อเวลาจอดรถบนทางลาดชัน จึงจะถูกต้องตามหลักการการทำงานของรถมากว่า

2 จอดรถหันล้อเข้า

คุณลองคิดดู ถ้าหากเราจอดรถอยู่แล้ว แล้วอยู่ๆระบบเบรคของเรามีปัญหา แล้วรถของเราเกิดไถลลงเดินไปข้างหน้า รถเราอาจจะไหลไปชนกับรถคนอื่นเลยก็ได้ กรณีที่เราจอดรถหันล้อ ให้เราใช้กับการจอดรถในสถานการณ์ที่เป็นทางลาดชันมากๆ โดยให้เราจอดรถให้ชิดทางฝั่งฟุตบาทให้มากที่สุด แล้วก็หันล้อไปทางฟุตบาท

– หากจอดรถในกรณีรถลงเนิน ให้หันพวงมาลัยไปทางซ้าย เช่นเดียวกัน หากระบบเบรคมีปัญหา รถเกิดไหล ล้อหน้าก็จะไปติดอยู่ตรงฟุตบาท เป็นการห้ามล้อไปในตัว ไม่ไหลออกไปขวางทาง หรือไปโดนรถคันอื่นเช่นกัน

– หากจอดรถในกรณีรถขึ้นเนิน ให้หันพวงมาลัยไปทางขวา หากระบบเบรคมีปัญหา รถเกิดไหล ล้อหน้าก็จะไปติดอยู่ตรงฟุตบาท ไม่ไหลออกไปเกะกะรถคันอื่น หรือ ตกเนินไป

3 ปุ่ม Shift Lock ที่เกียร์

ถ้าหากเราจอดรถซ้อนคัน สิ่งที่เราควรกระทำนั่นก็คือ ควรปลดเบรคมือ แล้วก็ใส่เกียร์ว่าง เพื่อที่จะให้รถคันที่เราจอดติดอยู่ จะได้เลื่อนและดันรถของเราเพื่อที่จะเลื่อนออกไปได้ง่าย

แต่หลายคนที่ใช้รถมักเจอปัญหา พอใส่เกียร์ N (เกียร์ว่าง) แล้วดึงกุญแจไม่ออก ต้องดึงไปที่เกียร์ P จึงจะถอดกุญแจออก และ ด้วยความไม่รู้นี้ทำให้หลายๆคนที่จอดรถซ้อนคัน เผลอไปทำความเดือดร้อนให้คนอื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ

วิธีแก้ก็คือ เมื่อจอดรถเข้าเกียร์ P และ ดึงกุญแจออกแล้วกดปุ่ม Shift Lock (ที่อยู่ข้างๆกับคันเกียร์) เราก็จะสามารถขยับเกียร์ จาก P มาที่เกียร์ N ได้ ทำให้รถอยู่ในสภาพเกียร์ว่าง ผู้อื่นสามารถเข็นขยับรถออกได้ เพียงเท่านี้ก็สามารถแก้ปัญหาเรื่องจอดรถซ้อนคัน และ เกียร์ล๊อคได้แล้ว

4 จอดรถหันหน้าออก

สำหรับการจอดรถโดยหันหน้าออก เป็นสิ่งที่ใครหลายคนมักจะทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว นั่นก็เป็นเพราะว่า เวลาที่เราจะขยับรถออกในแต่ละครั้ง เราสามารถออกจากที่จอดได้โดยง่าย แต่ความจริงแล้วมีข้อดีมากกว่าที่คุณคิดเอาไว้ และเป็นข้อดีที่เป็นประโยชน์มากๆ

– การช่วยที่สะดวก ในกรณีที่รถของคุณเกิดแบตหมดกระทันหัน สตาร์ทไม่ติด แล้วขอให้คนอื่นช่วยจากรถคันอื่น โดยการช่วยพ่วงแบตเตอรี่ให้ ถ้าคุณจอดรถเอาหน้าเข้า ก็จะลำบากมากในการพ่วงแบต แต่ถ้าจอดรถโดยการเอาหน้าออกก็จะสะดวกกว่ามาก

– รวดเร็วในการเผชิญเหตุฉุกเฉิน หากเราจอดรถโดยเอาหน้ารถออก หากเกิดเหตุฉุกเฉิน แล้วเราต้องรีบขับรถออก ก็จะสามารถออกรถได้โดยทันที ต่างจากการเอาหน้าเข้าจอด ก็จะเสียเวลาในการถอยรถออก จึงเป็นสาเหตุที่เราควรจอดเอาหน้ารถออก เพื่อประหยัดเวลา และ ความสะดวกรวดเร็ว เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจริงๆ

– ความปลอด ภัย เวลาที่เราต้องจอดรถในที่แคบๆ การจอดรถโดยเอาหน้ารถเข้า จะมีโอกาสสูงมากที่จะไปเฉี่ยวชนรถคนอื่นได้ หรือถ้าหากคนเดินผ่านมา ก็อาจจะไปชนเขาได้ ดังนั้นการจอดรถโดยถอยหลังเข้า จะสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่ชัดเจนได้มากกว่า ทำให้ลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงได้

– ป้องกันการลักขโมย หากมีการขโมยของในรถของคุณ ด้วยกระจกหน้าที่บานใหญ่ และ ฟิล์มติดกระจกที่ไม่มืดทึบเหมือนกระจกด้านหลัง การหันหน้ารถออกช่วยให้คนเดินผ่านไปมา เห็นการกระทำที่น่าสงสัยจากกระจกรถด้านหน้าได้เป็นอย่างดี โจรก็ต้องมีคิดหรือลังเลที่จะลงมือบ้าง ซึ่งช่วยป้องกันทรัพย์สินภายในรถได้ระดับหนึ่ง

ภาพปก / เรียบเรียงโดย : Postsod

ขอขอบคุณ : bitcoretech

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่