ไอเดียดี ปลูกแตงโมไร้เมล็ด ส่งขายออกต่างประเทศ สร้างรายได้หลักล้าน

0

ไอเดียดี ปลูกแตงโมไร้เมล็ด ส่งขายออกต่างประเทศ สร้างรายได้หลักล้าน

การคิดค้นทำอาชีพต่างๆมักจะมีการต่อยอดจากสิ่งเดิมที่มีอยู่ การคิดใหม่ การดัดแปลง รวมไปถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสิ่งที่เรากำลังจะทำ เพื่อเป็นการสร้างความแตกต่างและเสริมรายได้ในอาชีพของเรา

โดยในวันนี้เราจะพาทุกคนนั้นไปชมกับสวนแตงโมไร้เมล็ด การช่วยบอกหน่อยว่าเป็นอีกหนึ่งผลผลิตให้น่าสนใจไม่น้อยโดยสวนแห่งนี้ มีชื่อว่า เกาะแก้วฟาร์ม ตั้งอยู่ในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายภัคพล ชีววัฒน์ เป็นเจ้าของสวน ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าของส่วนรายนี้เป็นสถานที่แห่งแรกที่ได้ทำการปลูกแตงโมรูปหัวใจแตงโมสี่เหลี่ยมก่อนที่จะมาประสบความสำเร็จในการผลิตผลผลิตแตงโมไร้เมล็ด นั่นเอง

โดยการปลูกแตงโมไร้เมล็ดในครั้งนี้ได้เกิดขึ้นมาจากโดยแต่เดิมนั้นได้กลายเป็นพ่อค้าแตงโมและรับแตงโมมาจากสวน ซึ่งเป็นแตงโมคุณภาพที่มีรสชาติดีมาจากจังหวัดนครพนมและแน่นอนว่าขายดีจนไม่พอขายและได้ความคิดอย่างหนึ่งว่าทำไมเราถึงไม่ลองปลูกเองล่ะจึงได้ลงมือปลูกเองโดยได้ทดลองไปซื้อเมล็ดพันธุ์แตงโมไร้เม็ดมาเพาะปลูกเองปรากฏว่าเมล็ดซื้อมานั้นไม่สามารถให้ผลผลิตได้เพราะทำผิดวิธีเลยขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการปรับปรุงเมล็ดพืชพันธุ์แตงโมจากสถานีวิจัย ซินเจนทา ซึ่งเป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ โดยได้รับคำปรึกษา ตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ดไปจนถึงได้ผลแตงโมออกจำหน่าย

โดยในพื้นที่ที่ได้ปลูกแตงโมนั้น ในแต่ก่อนนั้นเคยปลูกยางพารามาก่อนและได้ทำการตัดต้นยางออกทิ้งให้หมด โดยในตอนนั้นใครเห็นก็ต่างคัดค้าน เพราะว่าแตงโมนั้นสามารถทำให้ได้ราคาเพียงแค่ไม่กี่บาทเท่านั้น แล้วแตงโมจะทำเงินได้อย่างไรซึ่งใครหลายๆคนในแถวนั้นก็จะคิดว่าคนคนนี้บ้า ที่โค่นต้นยางทิ้งมาปลูกแตงโม แต่ทางตัวเขานั้นกลับมองว่าอีสานนั้นถือเป็นภาคที่ร้อนมาก ฉะนั้นการปลูกแตงโมนั้นก็เหมาะกับหน้าร้อนเป็นอย่างยิ่ง

การปลูกแตงโมไร้เมล็ดใช้พื้นที่ในการปลูก แบ่งเป็นปลูกในโรงเรือน 2 ไร่ โดยมี โรงเรือนละ 500 ต้น / 2 โรงเรือง ใน1โรงเรือง จะมีแตงโมประมาณ 1,000 ต้นซึ่งให้ผลผลิตประมาณ 2,500 กิโลกรัมต่อการปลูก 1 รอบ โดยในแต่ละรอบจะใช้เวลาปลูกในระยะเวลา 2-3 เดือน โดยใน 1 ปีจะให้ผลผลิตได้ถึงประมาณ 7,500 กก. โดยจะขายในกก.ละ 40 บาท คิดได้ว่าจะได้รายได้ต่อปีประมาณ 300,000 บาทนั้นเอง

แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ ทุกอย่างมีข้อเสีย คือแตงโมที่เลี้ยงในโรงเรือนนั้นจะไม่ได้รับแสงแดดเต็มที่จึงทำให้ไม่เติบโตได้เท่ากับการปลูกการแจ้ง จึงทำให้มีน้ำหนักน้อยกว่า แต่ข้ดีนั้นก็คือ สามารถป้องกันแมลงได้ และรูปทรงของแตงโมสวยงาม และมีรสหวาน

“การปลูกแตงโมในโรงเรือน ผมมาทำที่หลัง เพราะตอนผมเพิ่มปลูกแตงโมครั้งแรก ปลูกนอกโรงเรือน โดยมีการทำโรงเรือนปลูกเมล่อน ควบคู่กันไป แต่การปลูกเมล่อนผลผลิตขายยาก ก็เลยเลิกปลูกเมล่อน และเอาแตงโมมาปลูกในโรงเรือน แทน ซึ่งก็เป็นความคิดที่ถูก เพราะแตงโมขายง่าย และพอปลูกแบบปลอดสารทำให้ขายง่ายและได้ราคาสูง กว่าแตงโมปลูกแบบใช้ยากำจัดแมลง และที่ฟาร์ม เกาะแก้ว ของเรายังได้ร่วมกับกระทรวงเกษตร ฯ ทำมาตรฐาน GAP มีเกษตรกรเข้าร่วมเป็นเครือข่ายมาตรฐาน GAP จำนวน 20 ราย พื้นที่ปลูกแตงโมระบบปิดตามมาตรฐาน GAP ประมาณ 100 ไร่ และการได้มาตรฐาน GAP ช่วยยกระดับผลผลิตแตงโม ให้สามารถขยายตลาดเข้าไปขายในห้างสรรพสินค้า และส่งออกไปต่างประเทศได้ ซึ่งปัจจุบันผลผลิตแตงโม ของเราส่งขายใน ท็อปซุปเปอร์มาร์เก็ต”

โดยในขั้นตอนการปลูกแตงโมไร้เมล็ดนั้นจะเริ่มจากการเพาะเมล็ดบนถาดเพาะโดยใช้วัสดุเพาะกล้าบอกเอาไว้เป็นเวลา 3 วันจนกว่าจะมีรากงอกออกมาจากนั้นก็ทำการเปิดผ้าออกและรดน้ำให้รากงอกยาวขึ้นจนมีอายุประมาณ 15 วันจึงสามารถนำลงไปปลูกในแปลงได้ ซึ่งหลังจากนั้นเตรียมดินร่วนปนทราย ถ้าหากเป็นการปลูกในโรงเรือนก็ให้ปลูกในกระถาง โดยมีการวางระยะกระถางอยู่ที่ 50×50 ซม. ซึ่งจะได้แตงโมประมาณ 500 ต้น หากเป็นพื้นที่นอกโรงเรือน 1 ไร่ จะปลูกได้ 1,000 ต้น มีแตงโมตอร์ปิโด 300 : 700 ต้น เตรียมดินนอกโรงเรือน ไถปรับสภาพ ทิ้งไว้ 7 วัน ไถปั่นดินให้ละเอียด แล้วตีแปลงยกร่อง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นช่วยบำรุงธาตุอาหาร ไม่นิยมใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ เพราะมักมีเชื้อราเยอะ

ซึ่งในช่วงที่ย้ายมาปลูกในแปลงปลูกนั้นควรใช้ที่มีสารที่ช่วยกำจัดเพลี้ยไฟในระยะอนุบาลของแตงโมโดยทำการฉีดพ่นทุกๆ 5 วัน และทำการคอยดูแลและควบคุมโรคในส่วนของการให้น้ำก็ให้น้ำในแบบระบบหยดโดยให้น้ำในช่วงเช้าเที่ยงและเย็นครั้งละ 5 นาทีทำอย่างนี้ไปทุกๆวัน และในระยะเวลา 25-30 วันก็ให้ทำการผสมเกสรตัวผู้ จากแตงโมตอร์ปิโดทำตาข่ายเสริมแขวนลูก ตั้งแต่ลูกแตงโมขนาดเท่ากำปั้นเพื่อพยุงไม่ให้หล่น หากมีน้ำหนักมาก เก็บผลผลิตได้ ตอนแตงโมอายุ 45-55 วัน ก็จะได้แตงโมไร้เมล็ดซึ่งถ้าหากใครสนใจสามารถติดต่อสอบถามไปได้ที่ เกาะแก้วฟาร์มหรือโทรไปที่ เบอร์โทร 08-1661-5716

ขอบคุณข้อมูลจาก : นายภัคพล ชีววัฒน์

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่