วิธีปลูกทุเรียน พร้อมระยะใส่ปุ๋ยโตไวๆ เก็บผลผลิตเร็ว
สำหรับในวันนี้ เราจะมาแจกสูตรการปลูกทุเรียน ให้เพื่อนได้นำความรู้และประโยชน์ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กันนะครับ ดูสภาพดินที่ทุเรียนชอบนั้น สภาพดินควรที่จะเป็นดินร่วน มีความเป็นดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทรายที่สามารถระบายอากาศและน้ำได้ดี และมีหน้าดินที่ลึก เพราะว่าทุเรียนนั้นเป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อสภาพน้ำขังเป็นอย่างมาก
อีกทั้งยังมีความเป็นกรดด่างของดินที่จะต้องอยู่ระหว่าง 5.5 – 6.5 หากจำเป็นที่จะต้องปลูกทุเรียนในสภาพของดินทราย จำเป็นที่จะต้องดูหน้าดินจากแหล่งอื่นมาเสริมควรที่จะต้องใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย และมีการดูแลเป็นพิเศษ เรื่องการให้น้ำมากเป็นพิเศษ และแหล่งน้ำจะต้องเพียงพอ วัดปริมาณค่า pH ให้เหมาะสม จะต้องมีแหล่งน้ำจืดให้กับทุเรียนเพียงพอตลอดทั้งปี ต้นกล้าที่ควรนำมาปลูกจะอยู่ในช่วงอายุ 1 เดือนขึ้นไป
สำหรับการเตรียมพื้นที่
จะต้องปรับพื้นที่ก่อน จะต้องกำหนดว่าผังการปลูกระบบการติดตั้งน้ำ ระบบเดินน้ำ โดยปรับพื้นที่ราบให้ไม่มีแอ่งน้ำท่วมขังได้ เวลาฝนตกระบายน้ำได้ดี ถ้าเป็นไปได้ควรที่จะปรับพื้นที่ให้เป็นเนินลูกฟูก เพื่อที่จะปลูกทุเรียนบนสันเนิน ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถวด้านหน้าควรอยู่ประมาณ 9 เมตร ปลูกได้ไร่ละประมาณ 20 ต้น หรืออาจปรับเปลี่ยนได้อยู่ที่ประมาณ 16-25 ต้นต่อไร่
การทำสวนขนาดใหญ่ ควรที่จะขยายระยะแนวแถวให้กว้างขึ้นเพื่อที่จะสะดวกต่อการนำเครื่องจักรกลไปช่วยในการผ่อนแรง ช่วยให้ทำงานสะดวกมากขึ้นในอนาคต ควรที่จะคำนึงถึงแนวการปลูกและความลาดเทของพื้นที่ หรืออาจกำหนดให้แนวตั้งฉากกับถนน หรือกำหนดแถวปู่ให้เป็นไปตามแนวทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก ควรที่จะดูทิศด้วยสำคัญมาก ถ้าหากมีการวางระบบน้ำ จะต้องพิจารณาแนวการจัดวางท่อในสวนให้ดี จากนั้นจึงปักไม้ตามแนวเพื่อที่จะกำหนดจุด เพื่อที่จะขุดหลุมต่อไป
วิธีการปลูก
การปลูกทุเรียนสามารถทำได้ทั้งการขุดหลุมปลูก ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่ค่อนข้างแล้งและยังไม่มีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก ซึ่งวิธีนี้ดินในหลุมจะช่วยเก็บความชื้นได้ดีขึ้น แต่หากมีฝนตกชุก มีน้ำขังจะทำให้รากเสียและต้นทุเรียนเสียได้ง่าย ส่วนการปลูกโดยไม่ต้องขุดหลุม (ปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก) เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก วิธีนี้ทำให้มีการระบายน้ำดี น้ำไม่ขังบริเวณโคนต้น แต่ต้องวางระบบน้ำให้ดีก่อนปลูก ซึ่งต้นทุเรียนจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการขุดหลุม ทั้งนี้จุดเน้นที่สำคัญ คือ ควรใช้ต้นกล้าที่มีขนาดเล็ก มีระบบรากดี ไม่ขดงอ แต่หากจะปลูกด้วยต้นกล้าขนาดใหญ่ควรตัดแต่งรากที่ขดงอทั้งที่ก้นถุงและด้านข้าง รวมทั้งควรมีการพรางแสงให้กับต้นทุเรียนที่ปลูกใหม่ด้วยตาข่ายพรางแสงหรือ(ทาง) ใบมะพร้าว หรือปลูกไม้ที่ให้ร่มเงา เช่น กล้วย เป็นต้น
ฤดูปลูก
หากมีการจัดระบบการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลให้น้ำกับต้นทุเรียนได้สม่ำเสมอช่วงหลังปลูก และควรปลูกตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน แต่ถ้าหากจัดระบบน้ำไม่ทันหรือยังไม่อาจดูแลเรื่องน้ำได้ ควรจะปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
การให้น้ำ
การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีและต่อเนื่อง
การตัดแต่งกิ่ง
เริ่มตัดแต่งกิ่งหลังจากปลูกแล้วประมาณ 1 ถึง 1.5 ปี เพื่อให้ต้นทุเรียนมีโครงสร้างและทรงพุ่มที่ดี และการตัดแต่งกิ่งจะต้องเว้นลำต้นเดี่ยว และเว้นกิ่งประธานกิ่งแรกสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร และไว้กิ่งให้เรียงเป็นระเบียบ เหมาะแก่การไว้ผลและไม่บดบังแสงแดดซึ่งกันและกัน และจะต้องควบคุมความสูงของลำต้นไว้ที่ประมาณ 7 เมตร
การใส่ปุ๋ย
ในปีแรกหลังปลูก ควรใส่ปุ๋ยและทำโคน จำนวน 4 ครั้ง (การทำโคน หมายถึง การจัดการวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ถากดินรอบนอกทรงพุ่มมาพูนกลบใต้ทรงพุ่มในลักษณะลาดเอียงจากต้นพันธุ์ออกไปโดยรอบ และหลีกเลี่ยงการถากดินบริเวณโคนต้นเพราะระบบรากทุเรียนที่อยู่ค่อนข้างตื้นใกล้ผิวดินจะได้รับผลไม่ดี และชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้โรครากเสียโคนเสียเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น) โดยควรใส่ปุ๋ยและทำโคนครั้งที่ 1 หลังจากปลูกแล้วประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นก็ทำต่อเนื่องกันจนถึงสิ้นปี และควรใส่ปุ๋ยและทำโคนเดือนเว้นเดือน
โดยในแต่ละครั้งควรใส่ปุ๋ยในปริมาณ ดังต่อไปนี้ ครั้งที่ 1 ถึง 3 ใส่ปุ๋ยคอก จำนวน 5 กิโลกรัมต่อต้น
ครั้งที่ 4 ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 150-200 กรัมต่อต้น ปีต่อๆ ไป (ระยะที่ต้นทุเรียนยังไม่ให้ผลผลิต) ควรใส่ปุ๋ยและทำโคนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝนและหลังฤดูฝน โดยควรใส่ปุ๋ยในปริมาณ ดังต่อไปนี้
ปุ๋ยคอก อัตราเป็นบุ้งกี๋ต่อต้นต่อปี เท่ากับ 2 เท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร) แบ่งใส่ 2 ครั้งต่อปี ยกตัวอย่าง เช่น ต้นทุเรียนมีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร ควรใส่ปุ๋ยคอกปีละ 6 บุ้งกี๋ หรือ 13.5 กิโลกรัม แบ่งใส่ 2 ครั้ง (2.25 กิโลกรัม = 1 บุ้งกี๋)
ปุ๋ยเค มี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้นต่อปี เท่ากับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร) แบ่งใส่ 2 ถึง 4 ครั้งต่อปี ยกตัวอย่าง เช่น ต้นทุเรียนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ทรงพุ่ม 3 เมตร ควรใส่ปุ๋ยเค มีปีละ 3 กิโลกรัม แบ่งใส่ 2 ถึง 4 ครั้งต่อปี
การตัดแต่งดอก
ทำการตัดแต่งดอกหลังจากออกดอก 5 สัปดาห์ ควรตัดแต่งช่อดอกบนกิ่งขนาดเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางกิ่งน้อยกว่า 2 เซนติเมตร) หรือดอกที่อยู่ปลายกิ่งทิ้งให้เหลือเฉพาะดอกรุ่นเดียวกันในกิ่งเดียวกัน ให้มีจำนวนช่อดอกประมาณ 3 ถึง 6 ช่อดอกต่อความยาวกิ่ง 1 เมตร แต่ละช่อดอกห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร
การตัดแต่งผล
ครั้งที่ 1 เมื่อผลอายุ 4 ถึง 5 สัปดาห์หลังดอกบาน ตัดแต่งผลที่มีขนาดเล็ก รูปทรงบิดเบี้ยว และไม่อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการออก เหลือผลไว้ประมาณ 2 ถึง 3 เท่าของจำนวนผลที่ต้องการไว้จริง ครั้งที่ 2 เมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์หลังดอกบาน ระยะนี้ผลที่ปกติจะมีการขยายตัวด้านยาว สีผิวเขียวสดใส หนามมีขนาดปกติเรียวเล็ก ถ้าตรวจพบผลที่มีพัฒนาการผิดปกติ มีขนาดเล็ก หนามแดง หรือมีโรคแมงเข้าทำลาย ให้ตัดทิ้ง (กรมวิชาการเกษตร)
การดูแลในช่วงติดผลแล้ว มีนาคม- เมษายน
1 ตัดแต่งผลครั้งที่ 1 หลังดอกบาน 3-4 สัปดาห์ ตัดแต่งผลที่มีรูปทรง บิดเบี้ยว ผลขนาดเล็กหรือผลต่างรุ่น ผลที่อยู่ใน ตำแหน่งไม่เหมาะสม เช่น ปลายกิ่ง ด้านข้างของ กิ่ง และผลที่ติดเป็นกระจุกใหญ่ ๆ ออกเหลือผล ที่ดีไว้มากกว่าที่ต้องการจริง 50 %ครั้งที่ 2 หลังดอกบาน 6-8 สัปดาห์ ตัดผลที่มีขนาดเล็กกว่า ผลอื่นในรุ่นเดียวกัน ผลบิดเบี้ยว ผลที่มีอาการ หนามแดงครั้งที่ 3 ตัดแต่งครั้งสุดท้ายตัดผลขนาดเล็ก ผลบิดเบี้ยว ผลก้นจีบออก จะเหลือผลที่มีขนาดและรูปทรง สม่ำเสมอ ในปริมาณเท่ากับที่ต้องการจริง เมื่อตัดแต่งผลครั้งสุดท้ายเสร็จ ควรโยงกิ่งหรือใช้ไม้ไผ่ค้ำ เพื่อป้องกันกิ่ง หักจากน้ำหนักผลที่มากขึ้น ป้องกันผลร่วงในพื้นที่มีลมแรง
2 การใส่ปุ๋ย หลังจากติดผลแล้ว 5-6 สัปดาห์ ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเร่งการเจริญของผล เพื่อเพิ่มคุณภาพเนื้อ ถ้าต้นทุเรียนขาดความสมบูรณ์ ใบเล็ก ใบซีด ไม่เขียวเข้ม ควรให้ปุ๋ยทางใบเสริมในช่วงสัปดาห์ที่ 5-10 หลังดอกบาน เพื่อช่วยให้ผลทุเรียนเจริญดีขึ้น
3 การควบคุมไม่ให้ทุเรียนแตกใบอ่อนถ้าทุเรียนแตกใบอ่อนในช่วงติดผล ใบอ่อนและผทุเรียน จะแย่งอาหารกันและเกิดผลที่เสีย ผลอ่อนร่วง รูปทรงลูกบิดเบี้ยว เนื้อคุณภาพ ด้อย เนื้อแกน ถ้าพบว่าทุเรียนจะแตกใบอ่อน โดยสังเกตเห็นเยื่อหุ้มตา เริ่มเจริญหรือเรียกระยะหางปลา
4 การรดน้ำ ดูแลรดน้ำสม่ำเสมอ ตลอดช่วงที่กำลังติดผล 5. จดบันทึกวันดอกบาน ของแต่ละรุ่น แต่ละต้นไว้ พร้อมกับทำเครื่องหมายไว้โดยใช้เชือกสีที่แตกต่างกันในการค้ำกิ่งที่ติดผล แต่ละรุ่นเพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยว
5 การป้องกันโรคแมง ตรวจสอบและป้องกันจัดการ โรคผลที่เสีย หนอนเจาะผล ทุเรียน ไรแดง เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย
6 การป้องกันห นูหรือกระรอก เข้าทำลายกัดกินทุเรียน ถ้าสวนมีสัตว์รบกวนควรหาวิธีป้องกันดังต่อไปนี้
– ทำความสะอาดเก็บ สิ่งของที่รกร้างกิ่งไม้รอบสวน เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัย ของห นูกระรอก
– ตัดกิ่งไม้บริเวณรอบต้นทุเรียนของต้นไม้อื่นๆเพื่อตัดเส้นทางห นูได้
– นำสังกะสีแผ่นเรียบกว้าง 30 เซนติเมตร ยาวตามขนาดของต้นพันรอบโค่นต้นทุเรียน เป็นการป้องได้เฉพาะห นู
– การป้องอีกวิธีหนึ่งคือการห่อ ให้ใช้ถุงพลาสติกใส่ขนาด 40×60 เซนติเมตร ตัดก้น ถุงและตัดข้างยาว 30 เซนติเมตร นำมาห่อทุเรียน ควรห่อให้คลุมตั้งแต่กิ่งที่ลูกทุเรียน นั้นติดอยู่ปล่อยชายถุงให้อากาศถ่ายเท่ได้สะดวก ป้องกันได้ทั้งห นู กระรอก นก
ระยะทุเรียนเริ่มแตกใบอ่อน
มีเพื่อนๆหลายท่านได้สอบถามการดูแลรักษาใบในแต่ละช่วงผมตอบลำบากครับเพราะไม่เห็นภาพ ก็เลยทำแบบนี้ สวนที่ผมดูแลอยู่ก็ไม่ได้สวยมากมายอะไรหรอกครับสวนสวยๆกว่านี้ยังมีอีกหลายสวนครับ ผมไม่ได้มีเทคนิคหรือว่าใช้ปุ๋ยมากมายอะไร และไม่ใช้ของแพง เริ่มเลยครับ กรณีแรก เป็นระยะทุเรียนแริ่มแตกใบอ่อน เราจะเห็นสภาพดังรูป หากใบสวนของเพื่อนๆ เป็นแบบนี้แสดงว่าทุเรียนกำลังเริ่มจะแตกใบอ่อน วิธีการบำรุงหรือเสริมสร้างใบของผมใช้
– ทางดิน 16-16-16 โกรฮาร์ว + 15-0-0 อัตรา 2:1 ตามลำดับ(หากใส่ก่อนนี้สัก 7-10 วันจะดีมาก) ใส่ชายทรงพุ่มเท่านั้น
– ทางใบผมใช้ ปุ๋ยทางใบ 21-7-7 (ผมเลือกไฮเพาเวอร์) + ธาตูรวม (ซองละ 20 บาท ) + ยา (แล้วแต่สภาพแต่ช่วงนี้ ผมเลือกใช้ แอฟโฟเรีย)+ยาคุมเชื้อรา(ผมเลือกใช้แมนโคแซปใหม่ สารตัวนี้ไม่ควรซื้อเก็บนานเพราะมันจะเสื่อมตามเวลา) +แคลเซี่ยมโบรอน +สารจับใบดีๆ(ผมเลือกแอ็ปซ่าของแอมเวร์) + (สูตรลับแต่สวนอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้และแต่คนชอบ แต่ของผมมี)
– การพ่น บอกคนงานใจเย็นๆ พ่นตั้งแต่ยอดลงล่าง ใบ กิ่ง ลำต้น โคน และดินใต้ทรงพุ่ม
ผมทำแค่นี้ครับตอนใบอ่อน
ต้องขอย้ำก่อนนะครับว่า อย่าคิดว่าสูตรนี้เป็นสูตรที่ดีที่สุด ท่านอาจจะมีเทคนิควิธีที่ดีอยู่แล้ว ลองปรับเปลี่ยน นำไปใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่และพันธุ์ของทุเรียนคุณกันดู ผมแค่นำความรู้ที่ผมมี แนะนำมาบอกบุญให้กับใครหลายๆคนได้เป็นแนวทางและลองพิจารณากันดู ทำแรกๆอาจจะยังไม่เห็นผลว่าดี เราจะต้องใช้ประสบการณ์ในการสั่งสมและระยะเวลาไปเรื่อยๆ แล้วจะได้ไปเริ่มต้นที่ดี
เขียน / เรียบเรียงส่วนหนึ่งโดย : Postsod
ขอขอบคุณ : เทคนิคสวนทุเรียน, farmlandthai