เก็บไว้ลองทำ เพาะเห็ดฟางในตะกร้า ดอกตุ้มใหญ่ออกเยอะ ง่ายๆรายได้ดี
วิธีการ เพาะเห็ดฟางในตะกร้า ถือว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งในการเพาะเห็ดฟาง สำหรับใครที่เป็นผู้เริ่มต้นและสนใจเพาะเห็ดฟางเพื่อเอาไว้บริโภคเองในครัวเรือน
หากใครกำลังศึกษาหาความรู้ต่อยอดเพื่อที่จะเพาะเห็ดฟางขาย บอกเลยว่าคุณมาถูกทางแล้ว เพราะในวันนี้เราจะมาเผยเคล็ดลับในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า โดยใช้ต้นทุนในการลงทุนเพาะเห็ดฟางต่ำ
ซึ่งการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก จะช่วยในเรื่องของการประหยัดพื้นที่ได้มาก เคลื่อนย้ายก็สะดวก อีกทั้งยังสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่าย
ทำแค่ 1-2 สัปดาห์เราก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว เทคนิควิธีการเพาะเห็ดฟางที่น่าสนใจแบบนี้ ขอแนะนำว่าให้เซฟข้อมูลเก็บเอาไว้ทำที่บ้านได้เลย
วัสดุและอุปกรณ์ สำหรับเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
1 ด้วยวัสดุหลักๆเราจะใช้ฟาง สามารถใช้ฟางได้ทุกชนิด ควรที่จะเป็นฟางแบบแห้งสนิทไม่เปียก ถ้าเป็นตะกร้าควรใช้ตะกร้าใหม่ หรือเป็นตะกร้าเก่าก็ได้ควรล้างทำความสะอาดให้แห้งไม่มีรา
2 อาหารเสริมจำเป็นต้องใช้ อย่างเช่น ผักตบชวาสดหรือแห้งก็ได้ เปลือกถั่วต่างๆ ผักบุ้ง มูลสัตว์วัวควาย รำ เศษฝ้าย กลอนเชื๊อนางรม นางฟ้าเก่า
3 อุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นต้องใช้ก็คือตะกร้าพลาสติก บัวรดน้ำ และก็เชื๊อเห็ดฟาง
วิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก
1 เริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดพื้นที่ ตะกร้าพลาสติกให้แห้ง หลังจากนั้นก็แช่ฟางโดยใช้น้ำสะอาด 1 คืน
2 ใช้หัวเชื๊อ 1 ก้อนแบ่งออกได้เป็น 3 กอง เพาะได้ 3 ตะกร้า
3 ทำการอัดฟางลงในก้นตะกร้าพลาสติก แล้วก็กดให้แน่น ให้มีความสูงประมาณ 1 ฝ่ามือ
4 เทอาหารเสริมต่างๆลงในภาชนะสำหรับแช่น้ำให้พอชื้น แล้วก็นำมาโรยให้เช็ดบริเวณขอบตะกร้าให้เป็นวงกลมตามตะกร้า
5 หลังจากนั้นก็โรยเชื๊อเห็ดฟาง 1 ส่วน ทับบนอาหารเสริมเราก็จะได้ชั้นที่ 1
6 หลังจากนั้นเราก็ทำแบบเดิมโดยการทำเพิ่มชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ให้เหมือนกับชั้นที่ 1
7 โดยชั้นบนสุดให้เราทำการโรยอาหารเสริมจำพวกผักบุ้ง มูลสัตว์ แล้วทำการโรยเชื๊อเห็ดให้ทั่วอีก 1 ครั้ง แล้วก็กลบด้วยอาหารเสริมอีก 1 ครั้ง
การดูแลรักษาสำหรับ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก
– บริเวณสถานที่ควรที่จะเป็นพื้นดิน ใต้ร่มไม้หรือว่าเป็นพื้นที่ร่มสนิทก็ยิ่งดี
– การซ้อนตะกร้าควรวางให้เป็นรูปสามเหลี่ยม แนวยาว 1 แถวหรือสองแถวก็ได้
– การลดน้ำในพื้นที่ควรลดให้เปียก ให้มีความชื้นมากที่สุด ควรที่จะเพิ่มความชื้นของดินในบริเวณนั้น เพื่อที่จะระเหยขึ้นมา
– คลุมด้วยพลาสติก แล้วทับด้วยฟางแห้ง หรือสแลนสีดำก็ได้ ปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน
– เมื่อครบกำหนด 3 คืนแล้วควรเปิดให้ระบายอากาศบ้างในส่วนของตรงกลาง แล้วคุ้มเอาไว้เหมือนเดิม ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 วันก็ได้ผลผลิต
– โดยผลผลิต 1 ตะกร้าจะได้ 1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับว่าอาหารเสริมที่เราใส่ไปมากน้อยแค่ไหน ยิ่งใส่มากผลผลิตเขายิ่งสูงตาม
– อาหารเสริมสำหรับการใส่ในเห็ดฟางนั้นเราจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรือจะใช้รวมกันหลายๆอย่างก็ได้
การดูแลตะกร้าและเพาะเห็ดและการให้ผลผลิต
1 ในช่วง 4 วันแรกสำหรับฤดูร้อนและฤดูฝนควรที่จะควบคุมอุณหภูมิให้ดี ควรให้อยู่ในระดับ 37 ถึง 45 องศาเซลเซียส สำหรับในช่วงฤดูหนาว ช่วง 7 วันแรก ต้องควบคุมให้ดีเช่นเดียวกัน เพื่อที่จะได้ผลผลิตที่แน่น
– แนะนำว่าให้ติดเทอร์โมมิเตอร์แขวนเอาไว้ในโรงเรือนหรือว่ากระโจม ให้มีระดับความสูงจากพื้นดินประมาณครึ่งนึงของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อเป็นการตรวจวัดอุณหภูมิให้ได้ตามที่กำหนดเอาไว้
– หากอุณหภูมิสูงเกินไปแนะนำว่าให้เปิดช่องระบายลมทางด้านบนของโรงเรือนซักพักนึง หรือเลือกใช้วัสดุสำหรับพรางแสง คุมเอาไว้และรดน้ำบริเวณรอบๆกระโจมเพื่อเป็นการลดอุณหภูมิได้
– หากอุณหภูมิต่ำกว่าที่กำหนด จะต้องปิดช่องระบายลมอากาศให้มิดชิด หลังจากนั้นใช้หลอดไฟ 100 วัตต์วางตั้งเอาไว้ตรงกลางโรงเรือน ห่างจากตะกร้าประมาณ 1 คืบ มิฉะนั้นแล้วอาจจะทำให้เกิดความร้อนและความเสียหายตามมาได้ ควรระมัดระวังเรื่องไฟ
หมายเหตุ : อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนนั้นควรให้อยู่ในระดับประมาณ 80เปอร์เซ็น ขึ้นไป
การเปิดพลาสติกคลุมหรือปิดประตูโรงเรียน
ควรทำอย่างน้อยในช่วงวันที่ 5 เปิดอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงให้อากาศได้ถ่ายเท ให้ใยเห็ดสร้างจุดกำเนิดดอกเห็ด เพราะถ้าแห้งเกินไปอาจจะทำให้ดอกเห็ดไม่โต
การตัดเส้นใยเชื๊อเห็ด จะเป็นการกระตุ้นทำให้เกิดการสร้างดอกเห็ดขึ้นมาใหม่ได้ โดยจะต้องใช้น้ำตาลกลูโคส 1 ช้อนกาแฟละลายกับน้ำ 1 ลิตร แล้วก็รดน้ำให้กับวัสดุเพาะ เปิดประตูเพื่อเป็นการถ่ายเทอากาศแล้วก็ปิดพลาสติกหรือปิดประตูเอาไว้แบบเดิม
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
เราสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงวันที่ 8-9 สำหรับในช่วงฤดูร้อน และวันที่ 12 ถึง 15 ในช่วงฤดูหนาว
เห็นกันแล้วใช่ไหมว่าการเพาะเห็ดไม่ได้ยากอย่างที่คิด คุณสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องรอคนอื่นมาทำพร้อมกับคุณเลย เมื่อทำแล้วเห็นผลก็สามารถนำเห็ดไปขายออกตามตลาดได้อีกด้วย ประโยชน์วิธีการทำดีๆแบบนี้ แนะนำว่าให้เซฟข้อมูลเก็บเอาไว้เพื่อที่จะนำไปทำตามได้
เขียน / เรียบเรียงโดย : Postsod
ไม่อนุญาตให้คัดลอก ทุกกรณี บทความมีลิขสิทธิ์