“เวลาตื่นนอน” มีผลต่อร่างกายและสุขภาพอย่างไร ตื่นแบบไหนจะดีกับร่างกาย?

0

“เวลาตื่นนอน” มีผลต่อร่างกายและสุขภาพอย่างไร ตื่นแบบไหนจะดีกับร่างกาย?

การนอนถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดของร่างกายเรา เราควรนอนให้เป็นเวลาเพื่อทำให้ร่างกายของเราได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ วันนี้เราจะพาเพื่อนๆไปดูการทำงานของร่างกายเมื่อเวลาที่คุณหลับ ไปดูกันเลยค่ะ

นอนเวลาไหนดีสุดต้องมาเช็คเลยค่ะ

๐๑.๐๐ – ๐๓.๐๐ น. เราควรนอนหลับพักผ่อนให้สนิท เพราะช่วงนี้เป็นการทำงาน “ตับ” ซึ่งถ้าหลับสนิท ตับจะหลั่งสารมีราโทนินเพื่อฆ่าเชื้อโรคในร่างกาย แต่ถ้าใครไม่ยอมนอน แถมยังใช้ร่างกายหนักๆ ด้วยการกิน ตับจะต้องทำงานหนักด้วยการหลั่งน้ำย่อยออกมา โดยไม่ได้ทำหน้าที่ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ส่งผลให้สารพิษตกค้างในตับมาก

๐๓.๐๐ – ๐๕.๐๐ น. คนที่อยากผิวสวย หน้าใสควรตื่นนอนเวลานี้เพื่อมาสูดอากาศบริสุทธิ์ยามเช้า เพราะช่วงนี้เป็นเวลาทำงานของ “ปอด”

๐๕.๐๐ – ๐๗.๐๐ น. ฝึกการขับถ่ายอุจจาระให้เป็นนิสัยในช่วงนี้ เพราะเป็นเวลาการทำงานของ “ลำไส้ใหญ่” ถ้าใครถ่ายไม่ออกลองดื่มน้ำต้นอุ่นๆ สัก ๑ – ๒ แก้วดูนะคะ

๐๗.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. นอกจากจะตื่นเช้ามาสูดอากาศและขับถ่ายให้เป็นเวลาแล้ว เราควรกินอาหารมื้อเช้าในช่วงเวลานี้เพื่อให้ร่างกายมีพลังงาน และช่วยให้ “กระเพาะอาหาร” แข็งแรง

๐๙.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. ช่วงเวลานี้ “ม้าม” จะทำงานได้ดีซึ่งหน้าที่ของม้ามคือควบคุมไขมัน สร้างน้ำเหลืองและควบคุมเม็ดเลือด ใครที่มานอนเอาช่วงนี้ม้านจะอ่อนแอได้นะคะ

๑๑.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ใครไม่อยากหัวใจวายในช่วงนี้กรุณาหากิจกรรมที่ไม่เครียด ไม่ตื่นเต้นตกใจง่ายมาทำ เพราะเป็นช่วงที่ “หัวใจ” ต้องทำงานหนักถ้าใครทำงานเครียดๆ ลองผ่อนคลายอารมณ์ลง แล้วหันไปทำงานที่ไม่ต้องใช้หัวคิดให้มากนัก

๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. เวลานี้ควรละเว้นไม่กินอาหารทุกชนิด เพื่อให้ “ลำไส้เล็ก” ทำงานได้เต็มที่ ปกติแล้วลำไส้เล็กทำหน้าที่ดูดซึมอาหารที่เป็นน้ำทุกชนิด เช่น วินามินบี ซี โปรตีน ซึ่งทำหน้าที่สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

๑๕.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ถ้าบังเอิญวันไหนเลิกงานไวๆ เราสามารถเข้าฟิตเนส หรือไม่ก็ไปอบตัว หรือจะไปออกกำลังกายกลางแจ้งเพื่อให้เหงื่อออก เพราะเป็น เวลาการทำงานของ “กระเพาะปัสสาวะ” ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ธัยรอยด์ และระบบอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งหมด

๑๗.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. ใครชอบนั่งสัปหงกในเวลานี้อาจจะเป็นไปได้ว่า “ไต” ทำงานไม่ดี เพราะช่วงนี้ เป็นเวลาของไต ซึ่งคนทำงานควรทำจิตใจให้แจ่มใสอย่าเครียด คนที่เป็นโรคไตจะเป็นหวัดง่าย แถมยังปวดหลัง มีเสลดในคอ สมองเสื่อม ฯลฯ ฉะนั้นควรหมั่นดูแลตัวเองด้วยการอาบน้ำเย็นในตอนเช้า และอาบน้ำอุ่นในตอนเย็น

๑๙.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ช่วงเวลานี้ไปกับการสวดมนต์หรือนั่งสมาธิ เพราะเป็นเวลาของ “เยื่อหุ้มหัวใจ” คนไหนดูแลตัวเองไม่ดีในช่วงนี้มีสิทธิ์เสี่ยงเป็นโรคหัวใจโต หัวใจรั่ว ไม่ก็เป็นเส้นเลือดหัวใจตีบได้ ฉะนั้น ควรหลีกเลี่ยงการเจอกับเรื่องตื่นเต้น ตกใจ หรือดีใจสุดขีด

๒๑.๐๐ – ๒๓.๐๐ น. สาวทำงานที่เพิ่งกลับถึงบ้านในเวลานี้ อย่าเพิ่งกระโจนเข้าห้องน้ำอาบน้ำเพื่อผ่อนคลายในทันที เพราะเวลานี้ร่างกายต้องการความอบอุ่น ฉะนั้นไม่ควรอาบน้ำเย็น หรือไปยืนตากลมนอกบ้าน เพราะจะป่วยได้ง่ายมาก

๒๓.๐๐ – ๐๑.๐๐ น. ช่วงนี้เป็นเวลาของ “ถุงน้ำดี” ซึ่งทำหน้าที่เป็นถุงสำรองเก็บน้ำย่อยที่ออกมาจากตับ ถ้าร่างกายขาดน้ำ อวัยวะในร่างกายจะไปดึงน้ำจากถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น ส่งผลให้เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ หรือสะดุ้งตื่นกลางดึก

ขอบคุณข้อมูลจาก : samunpraibann

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่