สูตรสมุนไพรล้างพิษในเส้นเลือดฝอย แค่มี 2 อย่างนี้ พร้อมวิธีกินที่ถูกต้อง
หลายคนคงไม่รู้ว่าในหนึ่งวันอาหารที่เรารับประทานเข้าควรอยู่ในระดับปริมาณเท่าไหร่ หรือความต้องการของร่างกายที่ควรจะได้รับเท่าไหร่ ยากเกินไปใช่ไหมคะ ที่จะกำหนดได้ในแต่ละมื้อแต่ละวัน? อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญเมื่อเรารับอาหาร สารอาหารเข้าไปในปริมาณไม่เหมาะสมมากเกินไปอาจจะทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบ และในอย่างวันนี้เราจะมาพูดถึงไขมันที่อยู่ในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ถ้ารับประทานมากเกินไป ไขมันพวกนี้จะไปสะสมอยู่ในเส้นเลือดได้
เส้นเลือดฝอยตีบตันนั้นต้นเหตุจริงๆ เกิดจากการกินอาหารประเภทไขมัน ของหวาน การสะสมสารพิษต่างๆ แบบไม่รู้ตัวกลายเป็นขยะพิษในร่างกาย หากเรายังกินอยู่ใช้ชีวิตแบบประมาท อาจทำให้เกิดโรคต่างๆ อย่างเฉียบพลันได้แบบคาดไม่ถึง มาป้องกันไว้ก่อนดีกว่า ด้วยวิธีล้างเส้นเลือดฝอยให้สะอาดแบบธรรมชาติบำบัดที่เรานำมาฝากค่ะ เลิกทรมาร กับอาการปวดท้องประจำเดือนซะที
ส่วนผสมที่ต้องเตรียม
1. อ้อยดำ หรืออ้อยแดง 7 ข้อ (นับตามข้อที่นูนออกมา)
2. ใบเตย 3 ใบ
หมายเหตุ : อ้อยดำ หรือ อ้อยแดง ไม่ใช่อ้อยที่นำมาหีบน้ำตาล หรืออ้อยลำเขียวๆ ที่คั้นน้ำอ้อยขายทั่วไป อ้อยดำ หรือ อ้อยแดง เป็นลำต้นสีแดงเข้มจนดำ ที่นิยมกินกันแบบอ้อยควั่นกันในอดีต ปัจจุบันชาวบ้านนิยมปลูกไว้หน้าบ้านเป็นไม้มงคล หามาปลูกไว้ที่บ้านได้ง่ายๆ ไม่เปลืองเนื้อที่
ขั้นตอนการทำ
1. นำอ้อยดำมาล้างให้สะอาด ไม่ต้องปลอกเปลือก สับเป็นท่อนๆ ใช้ทั้งปล้องรวมข้อ 7 ข้อ ผ่าเป็นชิ้นเล็กๆ หรือจะทุบ ตำให้ข้อแตกแล้วแต่สะดวก
2. เติมน้ำสะอาดพอท่วมอ้อย ใบเตย 3 ใบล้างบิดขยำให้ช้ำ
3. แล้วใช้กรรไกรหรือมีดซอยเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงไป พอน้ำเดือด ลดไฟลงปานกลาง เคี่ยวต่ออีกประมาณ 30 นาที ห้ามใส่น้ำตาลโดยเด็ดขาด สูตรนี้ป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ดีเยี่ยม
(อ.สุทธิวัสส์ คำภา บอกว่า ขนาดปล้องอ้อยที่ได้มาทำแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน ปริมาณน้ำจึงไม่เท่ากัน ให้ใส่น้ำพอท่วมอ้อย)
4. เมื่อทำเสร็จแล้ว น้ำที่ได้จะมีรสหวานเล็กน้อยจากอ้อย มีกลิ่นหอมจากใบเตย จะดื่มแบบอุ่นหรือเย็นแล้วแต่ชอบ ดื่มได้เรื่อยๆ ทั้งร้อน ทั้งเย็น ตามชอบ ให้ดื่มบ่อยๆ ติดต่อกัน ประมาณ 7-10 วัน หรือจนกว่าจะรู้สึกตัวเบาโล่งสบาย หรือความดันโลหิตลดลง เมื่อรู้สึกอึดอัดให้ทำกินใหม่อีกไม่มีโทษใดๆ
สรรพคุณทางยาของ อ้อยแดง
เปลือกต้น : รสหวานขม แก้ตานขโมย แก้แผลเน่าเปื่อย ลำต้น กับ น้ำอ้อย รสหวานขมชุ่ม แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้หืดไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไข้ แก้ปัสสาวะพิการ ขับนิ่ว แก้ช้ำรั่ว แก้ท้องผูก บำรุงกระเพาะอาหาร แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ แก้สะอึก
ใบเตย หรือ เตยหอม
ใบเตย : รสหวานหอมเย็น บำรุงหัวใจ ดับพิษไข้ ชูกำลัง กลิ่นของใบเตยทำให้สดชื่นแจ่มใส…
เห็นประโยชน์มากมายขนาดนี้ เพื่อนอย่าลืมนำเอาสูตรที่บอกมานี้ไปรับประทานกันนะคะ
เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราและอย่าลืมออกกำลังกายกันด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : khaodungs , share-si