26 สมุนไพรจีน รักษาเบาหวาน ลดความดันเลือดเลือดได้ดี และสรรพคุณอื่นอีกมาก

0

26 สมุนไพรจีน รักษาเบาหวาน ลดความดันเลือดเลือดได้ดี และสรรพคุณอื่นอีกมาก

ปัจจุบันคนได้หันมาใส่ใจในเรื่องของสุขภาพและการดูแลตัวเองเพิ่มมากขึ้น และยาที่ช่วยรักษาได้ดีคือเครื่องยาจีน มีหลายหลากที่เรารู้จักกัน ส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุดิบง่ายๆ มีขั้นตอนในการปรุงรักษาไม่ยากนัก วันนี้เราได้นำ 26 สมุนไพรที่ไว้รักษาและบำรุงสุขภาพของเราให้แข็งแรงห่างไกลโรคร้าย

26 สมุนไพรจีน…บำรุงสุขภาพและบำบัดโรค

1. แปะจี้

เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยระงับประสาท และอาการปวดศรีษะ วิงเวียน โดยเฉพาะในสตรีอันเนื่องจากเลือดลมผิดปกติ

2. ขิงสด หรือ ขิงม่วง

ขิงอ่อนเรียกว่า จี่เกีย ส่วนขิงแก่เรียกว่า บอเกีย ขิงนำมาใช้หลายส่วน ตั้งแต่ต้นจรดราก ซึ่งมีสรรพคุณต่างกัน ได้แก่

1. ราก มีรสหวาน เผ็ด ร้อนและขม แก้แน่นท้อง แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิดช่วยเจริญอาหาร

2. เหง้า มีรสหวาน เผ็ด ร้อน ช่วยขับลม แก้บิด แก้ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน แก้อาการไอหอบ ขับเสมหะ

3. ต้น มีรสเผ็ด ร้อน ช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง

4. ใบ มีรสเผ็ด ร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ

5. ผล มีรสหวาน เผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ

3. ลูกพลับ

ในภาษาจีนเรียกว่า เก่าจ้อ หรือ บี้ก้วย ชาวจีนถือเป็นผลไม้มงคลสำหรับเทศกาลต่างๆ เพราะมีสีเหลืองทองคำ นิยมนำพลับมาแปรรูปเป็นพลับแห้ง ลูกพลับมีธาตุเย็นและรสหวาน มีสรรพคุณช่วยบำบัดโรคความดันโลหิตสูง แก้โรคบิดในเด็ก แก้ไอและเจ็บคอ

4. รากบัว

หรือเหง้าบัว ในภาษาจีนเรียกว่า กวงพั้ง หรือ หน่อยเก๋า รากบัวที่ดีต้องมีสีขาว อวบ และใหญ่ รับประทานได้ทั้งดิบและสุก มีคุณค่าทางอาหารสูง นิยมใช้เป็นยาชูกำลัง แก้ร้อนใน ลดไข้ แก้ไอ แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะและมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับ

5. ดอกไม้จีน

ในภาษาจีนเรียกว่า จำฉ่าย เป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับลิลลี่ นิยมนำมาตากแห้ง เวลาใช้จึงต้องนำมาแช่น้ำ มีฤทธิ์เย็น และอุดมไปด้วย แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส โปรตีน และวิตามินต่างๆ ช่วยให้สมองทำงานได้ดี เพิ่มความจำ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ

6. ฮ่วยซัว

หรือมันเทศจีนมีชื่อเรียกหลากหลาย ทั้ง ห่วยซัวเอี๊ยะ,ซังเอี๊ยะ หรือจื่อเอี๊ยะ เป็นไม้ตามธรรมชาติขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลี ชาวจีนนิยมนำรากมาอบแห้งและทำเป็นยา ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ตับ และม้าม รวมทั้งเสริมสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ ป้องกันหวัดและแก้ร้อนใน

7. ชะเอม

ในภาษาจีนเรียกว่า กำเช่า เป็นเครื่องยาจีนที่มีสรรพคุณรักษาโรคหลายชนิด นำรากและลำต้นใต้ดินมาตากแห้ง มีกลิ่นหอมและรสหวาน ช่วยบำรุงปอด แก้ไอ แก้เจ็บคอ ช่วยย่อยอาหาร และบำบัดโรคกระเพาะ

8. แปะก๊วย

มีชื่อเรียกอื่น เช่น เหล่งงั่ง หุกจีกา หรือหุกจี้กะ จัดเป็นยาอายุวัฒนะชนิดหนึ่ง จากหลักฐานทางวิทยาศาสสตร์กล่าวว่า แปะก๊วยเป็นไม้โบราณที่มีมาก่อนยุคไดโนเสาร์ แปะก๊วยมีฤทธิ์เป็นกลาง มีรสหวาน ฝาดและขมเล็กน้อย ช่วยบรรเทาโรคสมองเสื่อม ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ขับเสมหะ บำรุงปอด รักษาโรคหอบ ขับพยาธิ บรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน ลดการเกิดตกขาว และยังมีสารเควอร์ซิทิน(Quercetin)ช่วยป้องกันมะเร็ง

9. เพกา

หรือลิ้นฟ้า ในภาษาจีนเรียกว่า โซยเตียจั้ว พบได้ทางตอนใต้ของประเทศจีน อินเดีย คนไทยใช้เพกาเป็นทั้งผักและยา เพกามีฤทธิ์เย็นมากและรสขมอมฝาด ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ร้อนใน เจ็บคอ และวัณโรค

10. แบะตง

หรือ แบะเหมิ่งตง เป็นรากของต้นดวอร์ฟลิลลี่เทิร์ฟ(Dwarf Lilyturf) นิยมนำมาตากแห้ง มีกลิ่นหอมและรสหวานอมขมเล็กน้อย มีสรรพคุณแก้ร้อนใน แก้ไข้ แก้กระหาย ขับเสมหะ แก้อาเจียน ช่วยบำบัดอาการนอนไม่หลับ ท้องผูก หอบหืด บำรุงหัวใจ

11. โสม

มีต้นกำเนิดจากหลายพื้นที่แต่โสมจากจีนและเกาหลีเป็นที่รู้จักมากที่สุด นิยมนำรากและหัวของโสมมาตากแห้ง แล้วใช้ปรุงอาหารและปรุงยา ช่วยเผาผลาญอาหารในร่างกาย เสริมภูมิคุ้มกันโรค พร้อมทั้งมีสารที่ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้

12. แป๊ะฮ่ะ

มีชื่อเรียกอื่นว่า เหม่หะฮวย หรือ หม่อลัย เป็นไม้ล้มลุก กลีบแป๊ะฮ่ะแห้งมีกลิ่นอ่อนๆ และรสขมเล็กน้อย ช่วยบำรุงลำไส้และกระเพาะอาหาร บำรุงและระงับประสาท บำรุงปอด เสริมพละกำลัง และบำรุงผิวพรรณ

13. เก๋ากี้

จัดเป็นยาอายุวัฒนะและเป็นสมุนไพรส่งออกที่สำคัญของจีนและยังเป็นโอสถของฮ่องเต้ เป็นพืชไม้เลื้อย มีผลสุกสีแดงเรียกว่าผลโกจิ สรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ เจ็บคอ บรรเทาอาการปวดศรีษะ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ช่วยบำรุงปอด ไตและสายตา

14. ห่วงฮง

สรรพคุณช่วยขับลมเย็น เหมาะสำหรับคนไข้ระยะพักฟื้น และผู้เป็นหวัดง่าย ผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอ บรรเทาอาการวิงเวียนศรีษะและหูอื้อ

15. เคียมซิก

มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น โซวอึ๊งและโกยเถ่าซิก เป็นพืชในตระกูลบัว พบมากในประเทศจีน เกาหลีและอินเดีย โดยเลือกใช้เฉพาะแต่ส่วนเนื้อในเมล็ดมาตากแห้ง ชาวจีนนิยมนำมาปรุงอาหารคู่กับเม็ดบัว ช่วยบำรุงสมอง บำรุงประสาท บำรุงไต และใช้เป็นยาบำรุงเลือด บรรเทาอาการท้องร่วง

16. โตวต๋ง

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ พบมากในป่าทางตอนกลางของแม่น้ำแยงซีเกียงและภาคใต้ของจีน ใช้เปลือกตากแห้งมาทำยาโดยเลือกเปลือกที่หนา เมื่อหักเปลือกแล้วจะมีใยสีขาว มีสรรพคุณบำรุงครรภ์ ตับและไต ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล และแก้ปวดเมื่อย

17. ซัวจา

หรือ ซัวแจ มีผลคล้ายแอปเปิ้ล นิยมใช้ประกอบอาหารทั้งคาวหวาน ช่วยให้เจริญอาหาร และกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะ ขยายหลอดเลือด ลดความดัน บรรเทาอาการปวดท้องหลังคลอดบุตร รวมทั้งแก้อาการเมาค้าง

18. ตังเซียม

เป็นไม้เลื้อย มีรากเป็นหัวคล้ายโสม ช่วยปรับการทำงานของกระเพาะอาหาร บำรุงเลือดลม ลดความดัน ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดขาว บำบัดอาการหน้าซีด เป็นลม

19. อึ่งเจ็ง

คนจีนนิยมใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ม้าม หัวใจ และปอด ช่วยให้กระปรี้กระเปร่าและสดชื่น

20. ชวนป๋วย

ช่วยบำรุงปอด บรรเทาอาการไอ และช่วยลดเสมหะ

21. ตังกุย

คนไทยเรียกว่า โกษฐ์เชียง ได้มาจากรากไม้ของพืชตระกูลขึ้นฉ่าย มีกลิ่นหอมฉุนและรสหวานอ่อนๆ เป็นสมุนไพรจีนที่ดีที่สุดสำหรับสตรี เพราะช่วยบำรุงเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด บำบัดอาการประจำเดือนผิดปกติ ปวดประจำเดือน เลือดออกในมดลูก และโลหิตจาง นอกจากนี้น้ำมันในตังกุยยังช่วยหล่อลื่นลำไส้

22. อึ้งคี้

มีอีกหลายชื่อ เช่น ตงปัก ปั๊กคี้ เป็นพืชพื้นเมืองของจีน มีกลิ่นหอมและรสหวานเล็กน้อย นำส่วนรากมาทำยา ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ขับปัสสาวะ บำบัดอาการอ่อนล้า มดลูกหลุด บวมน้ำ เบาหวาน ไตอักเสบ

23. เง็กเต็ก

เป็นรากของสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ก่อนใช้นำมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ช่วยขับพิษ แก้ไข้ แก้เจ็บคอและไอ ลดไขมันในเลือด

25. ซัวเซียม

มีสองประเภทคือ ปักซัวเซียมและหน่ำวัวเซียม นำรากตากแห้งมาใช้ประกอบอาหาร มีฤทธิ์เย็นและรสหวานอมขม ช่วยบำรุงปอด ลดอาการไอ ขับเสมหะ แก้ร้อนใน

26. โป๊ยกั๊ก

เป็นเครื่องเทศเก่าแก่ของจีนที่ใช้มานานกว่า 1,000 ปี คนไทยเรียกว่า จันทร์แปดกลีบ โป๊ยกั๊ก คือผลที่แห้งแล้วแตกออกเป็น 8 แฉก ช่วยบำบัดอาการท้องผูก ปวดท้อง ท้องเฟ้อ ถ่ายปัสสาวะยาก และบรรเทาอาการปวดหลัง

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : บ้านกับฮวงจุ้ย

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่