สมัยนี้เด็กๆ เยาวชนเติบโตเร็ว การศึกษาก้าวไกลกว่าสมัยก่อน ครอบครัวพ่อแม่บางท่านก็ต้องเตรียมการวางแผน สร้างรากฐานชีวิตให้แก่บุตรหลาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การศึกษา ซึ่งบางครั้งมันก็กลายเป็นปัญหาอาจจะแก่ตัวเด็ก สังคม และลุกลามไปเป็นปัญหาระดับปะรเทศเลยทีเดียว เราลองมาอ่านบทความ การเปรียบเทียบการศึกษาของกับประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ จาก เพจ นิ้วโป้งกัน
ชวนให้คิดและสะท้อนถึงปัญหาของประเทศไทยในด้านการเลี้ยงลูก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
พ่อแม่ชาวไทย ค่อนข้างเคร่งเครียดและหมดเงินไปกับการศึกษาเป็นจำนวนมาก
พ่อแม่ชาวไทย รักและเป็นห่วงลูก ซึ่งบางครั้งมากเกินเหตุ
พ่อแม่ที่มีกำลังทรัพย์ จะใช้เงินเพื่อลูก ตั้งแต่แรกตั้งครรภ์ ฝากท้องต้องโรงพยาบาลชื่อดัง คลอดอย่างดี หมอที่พ่อแม่ไว้ใจ
และพ่อแม่ชาวไทยมักจะ “ตีราคาการศึกษาลูก” สูงจนเกินเหตุ
> เด็ก 2 ขวบเพิ่งเดินแข็ง
ก็เริ่มส่งเข้าเนอสเซอรี่ ปีละหลายหมื่น วิตกกังวลกลัวลูกไม่ทันลูกคนอื่น ไม่ทันโลก … กลายเป็นส่งลูกน้อยไปติดหวัดจากเพื่อนที่โรงเรียน เพราะเด็กยังไม่มีภูมิต้านทาน
> อนุบาล – ชั้นประถม
อัดแน่นด้วยวิชาเรียนนอกหลักสูตร กำหนดให้ลูกเยอะแยะไปหมดว่าต้องแบบนั้นแบบนี้ เรียนโน่นเรียนนี่ เรียนเสริมด้วย กลัวลูกไม่เก่ง กลัวถูกแขวะ กลัวลูกคนอื่นเก่งกว่า คิดแทนเด็กไปหมด วันๆ หนึ่งเด็กไม่ได้พัก เครียด ถ้าให้เรียนเสริม ไม่ควรอัดแน่น เรียนได้เป็นบางอย่าง บางเวลา ให้เด็กมีชีวิตเป็นเด็กอย่างที่ควรเป็นด้วย
> มัธยม วัยเปลี่ยนผ่าน
พ่อแม่บางคนบังคับลูกเรียนพิเศษตอนเย็นที่สยาม เสาร์อาทิตย์ ยังไปเจอครูอุ๊ครูลิลลี่ พ่อแม่ยอมเสียเงิน เสียเวลาไปนั่งรอลูกรัก ปิดเทอมไม่มีพัก ส่งลูกเรียนซัมเมอร์ต่างประเทศ โดนไม่ถามความสมัครใจ บางทีเด็กไม่อยากไป พ่อแม่นี่แหละตัวดี เอาปมด้อยตัวเองมายัดใส่ลูก ถ้าลูกอยากเรียนก็ส่งเสริมไป ไม่ใช่บังคับ
บางบ้านคาดหวังกับเด็กมาก หมดเงินให้ลูกเรียนปีละ 6-7 แสน ยังไม่ทันเข้ามหาวิทยาลัย หมดไปเป็นล้าน!!
พ่อแม่บางคนคาดหวังว่าลูกที่เลี้ยงดูมาอย่างแพง เรียนจบแล้วต้องเงินเดือนสูงตามไปด้วย
“ปัญหาคือ คุณค่าของใบปริญญา … พ่อแม่ กับ นายจ้าง มองไม่เท่ากัน”
พ่อแม่ชาวไทย มองใบปริญญาเป็นของสูงส่ง มีค่ามหาศาล เพราะหวังว่ากระดาษ 1 ใบนั้นจะช่วยเชิดหน้าชูตา
นายจ้าง ไม่มองใบปริญญา เขาวัดกันที่ความสามารถ และประสิทธิภาพในการทำงาน
คำถามใหญ่ของเขามี 3 คำถาม คือ
1. ลูกคุณทำอะไรเป็นบ้าง
2. ลูกคุณเคยทำอะไรสำเร็จมาบ้าง
3. ลูกคุณจะมาสร้างความสำเร็จอะไรให้ที่นี่
อย่าลืมว่านี่คือปี 2018 ตลาดแรงงานเปิดกว้างไปทั่วอาเซียน
> เด็กอินเดีย ปากีสถาน เก่งเทคโนโลยี เขียนโค้ด เขียนโปรแกรม ภาษาอังกฤษเป๊ะ แถมขยันขันแข็ง พร้อมบินมาทำงานในเมืองไทย
> เด็กฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เข้ามาทำงานที่กรุงเทพฯ เยอะ เพราะพวกเขามีพื้นฐานภาษาดีมาก แนวคิดดี คุมโปรเจคต์ พรีเซนต์งานดีไม่แพ้ฝรั่ง
> เด็กจีน มีความขยันสูง บางคนพูดไทยได้ ความขยันอ่าน ขยันขายของ ขยันพบลูกค้า ใจสู้ ไม่ยอมแพ้ โดนด่าไม่ท้อ อดทนต่อแรงกดดัน
ใบปริญญา จากคณะดัง มหาวิทยาลัยชื่อก้องเมือง มันเริ่มไร้ประโยชน์ ไม่ได้ศักดิ์สิทธิ์คนได้ยินแล้วร้องว้าวเหมือนเมื่อก่อน แน่นอนว่ามีบ้างบางคนที่ประสบความสำเร็จจากสิ่งเหล่านั้น แต่อีกส่วนก็หาประโยชน์ไม่เจอเช่นกัน
> อาชีพดังอาชีพเด่นเดิมๆ กำลังต้องการคนลดลง จาก Disruptive Technology
> เมื่อองค์กรกำลังปรับตัวให้มีสภาพคล่อง ใช้ประสิทธิภาพด้วยดิจิตอล Digital Transformation
> เมื่องานที่ดีที่มั่นคง เงินดี เต็มไปด้วยการแข่งขันที่สูงลิ่ว ด้วยตลาดเคลื่อนย้ายเสรีแรงงานเสรี Globalizaion
พ่อแม่ต้องเลิกใช้ความคิดแบบสมัยเก่า มันยัดเข้ามาให้สภาพแวดล้อมสมัยใหม่ไม่ได้แล้ว
ความเห็นส่วนตัว
ถ้าพ่อแม่ชาวไทย(ส่วนหนึ่ง)ที่คิดจะลงทุนกับการศึกษาลูกด้วยเงินจำนวนมากๆ
น่าจะลองประหยัดเงินบางส่วน แล้วเตรียมให้ลูกไว้ใช้ในอนาคต อาจจะเป็นการลงทุนทำธุรกิจ ได้ใช้ความพยายามลองผิดลองถูก ริเริ่ม สร้างสรรใช้สมองตัวเอง ในยุคอนาคตที่อาจไม่ต้องการแรงงาน
ลองโละเวลาที่เสียไปกับการศึกษาลง ให้ลูกได้ลองเรียนรู้ในสิ่งที่เขาชอบหรือสนใจหัดเขียนหนังสือ ลองออกแบบ ดีไซน์ ลองรับเป็นไกด์ ลองขายของ ลองลงทุน ฯลฯ
ลองหาเงินด้วยตัวเองให้ได้ ก่อนที่เขาจะจบมหาวิทยาลัย
สิ่งเหล่านี้อาจเป็นการสร้างเนื้อสร้างของเขา นำมาต่อยอดได้ในอนาคต และเป็นประโยชน์ ไม่แพ้การศึกษาแสนแพงที่พ่อแม่อยากมอบให้
พ่อแม่ได้ภูมิใจ
ลูกได้ภูมิต้านทานและความแกร่งไปสู้กับคนอื่นในสังคม
ขอบคุณที่มา : นิ้วโป้ง