รู้แล้วเลี่ยง!! คน 3 กลุ่มนี้ไม่ควรกินน้ำผึ้ง เสี่ยงป่วยหนัก อันตรายต่อร่างกาย
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า น้ำผึ้ง นั้นเป็นผลผลิตที่เกิดจากธรรมชาติและมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นยาอายุวัฒนะเลยก็ว่าได้ แต่รู้กันหรือไม่ว่าทุกคนจะสามารถกินได้นะ แต่ใครบ้างล่ะที่ไม่ควรกิน กินแล้วจะเป็นโทษต่อร่างกายของเรา มาดูกันเลยค่ะ
ผู้ที่ไม่ควรใช้น้ำผึ้ง
1. เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ
เนื่องจากกระเพาะอาหารและลำไส้ของเด็กทารกยังอ่อนแอ และการขับสารพิษของตับยังทำงานได้ไม่เต็มที่ หากทารกดื่มน้ำผึ้งที่มีการปนเปื้อนสเปอร์ของเชื้อแบคทีเรียคลอสทริเดียม (Clostridium Botulinum) ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส และสามารถสร้างสารพิษโบทูลินัม (Botulinum Toxin) ในลำไส้ ซึ่งจะทำให้ทารกเกิดอาการท้องผูก อ่อนแรง หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงไม่แนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบดื่มน้ำผึ้ง
2. ผู้ป่วยเบาหวาน
น้ำผึ้ง 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำตาลฟรักโทสร้อยละ 40 น้ำตาลกลูโคสร้อยละ 35 น้ำตาลมอลโทสร้อยละ 1 น้ำตาลซูโครสร้อยละ 2 โดยน้ำตาลฟรักโทสและกลูโคสที่เป็นส่วนประกอบหลักของน้ำผึ้ง ล้วนเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว จึงสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย ดังนั้นเมื่อกินน้ำผึ้งย่อมทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และหากกินปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
3. ผู้ที่มีอาการหวัดจากปัจจัยภายนอก
น้ำผึ้งมีฤทธิ์บำรุง ช่วยให้ปอดชุ่มชื้น บรรเทาอาการไอแบบแห้งๆ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะปอดแห้ง ไม่มีเสมหะหรือเสมหะน้อยและเหนียว ผู้ป่วยหวัดที่มีอาการเช่นนี้ ดื่มน้ำผึ้งแก้ไอได้ แต่หากเป็นหวัดที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น เปียกฝน ตากแดด ตากลม แล้วอาการไม่ดีขึ้น ไม่ควรดื่มน้ำผึ้ง เพราะจะยิ่งทำให้อาการหวัดไม่หายและกลับเป็นหนักขึ้นกว่าเดิม
น้ำผึ้งมีคุณอนันต์ แต่ก็มีโทษมหันต์ หากใช้ไม่เป็น ข้อมูลที่นำมาฝากกันจึงน่าจะช่วยให้ผู้อ่านใช้น้ำผึ้งได้อย่างปลอดภัยและได้สุขภาพ
4 วิธีกินน้ำผึ้งตามหลักแพทย์แผนจีน มีดังนี้
1. ควรปรุงน้ำผึ้งโดยใช้อุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันไม่ให้สารอาหารในน้ำผึ้งสลายไป
2. ไม่ควรกินร่วมกับอาหารฤทธิ์เย็น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องเสีย
3. ควรกินก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หลังอาหาร 2 ชั่วโมง
4. ไม่ควรกินคู่กับเต้าหู้ หน่อไม้ หัวหอม กระเทียม กุยช่าย ปลาดิบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ขอบคุณข้อมูลจาก : แพทย์จีนนภษร แสงศิวะฤทธิ์ , meesara