4 หลักการ “วิธีคิดของคนรวย” ความลับที่เป็นเหตุผลว่าทำไมคนรวยถึงมีแค่ 1% ของประชากรทั้งโลก

0

4 หลักการ “วิธีคิดของคนรวย” ความลับที่เป็นเหตุผลว่าทำไมคนรวยถึงมีแค่ 1% ของประชากรทั้งโลก

เคยคิดสงสัยไหมเหตุใดคนรวยจึงมีน้อยกว่าคนจน และคนรวยก็ยังรวยขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเขามีวิธีการคิดที่ไม่เหมือนคนอื่นทั่ว ๆ ไปนั่นเองจึงทำให้เขารวย

วิธีคิดนั้นก็ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เคยสงสัยหรือไม่ว่า

ทำไมคนรวย ๆ เค้าถึงทำอะไรไม่ค่อยเหมือนกับเรา นั่นเป็นเพราะพวกเขาได้ค้นพบหลักวิธีคิดแบบคนรวยแล้ว

ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีสอนในโรงเรียน เป็นความลับที่เป็นเหตุผลว่าทำไมคนรวยถึงมีแค่ 1%

ของประชากรทั้งหมดบนโลกนี้

4 หลักการวิธีคิดของคนรวย อยากรวยบ้างต้องคิดให้ได้แบบนี้

1. คนรวยเน้นพัฒนาจุดแข็ง มากกว่าอุดจุดอ่อน

หมายความว่า คนเราควรเก่งด้านใดด้านหนึ่งให้สุด ๆ ลองมองหาจุดแข็งของตัวเองให้ได้

ค้นหาตัวเองให้เจอแล้วทำมันให้ดีที่สุด

เราไม่จำเป็นต้องเก่งทุกอย่าง แค่เก่งจริงด้านเดียวก็หากินได้จนตาย

ศิลปินนักร้องซุปเปอร์สตาร์ ร้องเพลงออกคอนเสิร์ตหนัก ๆ แค่ช่วงวัยรุ่น แต่ก็มีกินมีใช้ไปจนเกษียณ

นักเขียนนิยาย ตั้งใจทุ่มเทเขียนให้เป็นที่นิยมแค่เรื่องเดียว ก็หากินได้ทั้งชีวิต

เจ. เค. โรว์ลิง นักเขียนนิยายชาวอังกฤษ ผู้แต่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์

ทำรายได้จากนิยายเรื่องเดียวของเธอ 2 หมื่นล้านบาท

2. หาเงินมากกว่าการหาวิธีประหยัด หรือการออมเงิน

ความจริงข้อหนึ่งคือ ไม่มีเศรษฐีท่านใดร่ำรวยจากการประหยัดรายจ่าย

เพราะความร่ำรวยทั้งหมดเกิดจากการลงทุน ลงแรง และใช้เวลาทั้งสิ้น

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้เอาเงินไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจนไม่มีเงินเหลือไว้ลงทุน

จริงอยู่ที่เศรษฐีส่วนใหญ่มักมีนิสัยประหยัด นั่นเป็นเพราะพวกเขามักคิดเสมอว่า

เงินที่เขาประหยัดได้นั้นสามารถนำไปสร้างรายได้ให้งอกเงยได้

การออมเป็นสิ่งสำคัญแต่อย่าลืมว่าเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ในถุงไม่มีวันเติบโต

อย่าหวังรวยจากการฝากเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์

ดอกเบี้ยเงินฝากในบัญชีธนาคารนั้นไม่มีวันเอาชนะค่าเงินเฟ้อได้ เพราะอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ราว 3% ต่อปี

ในขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากนั้นได้ไม่ถึง 1%

แค่ฝากเงินไว้ธนาคารเฉย ๆ โดยที่ไม่ยอมเอาไปลงทุน คุณก็จนลงแล้ว

อย่ามัวประหยัดจนไม่กล้าลงทุน

ให้ถามตัวเองเสมอว่า การประหยัดครั้งนี้ทำให้เราเสียผลประโยชน์อะไรบ้าง

ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตหากลงทุนสำเร็จ

เรื่องใดที่พัฒนาชีวิตของเราได้ อย่าเสียดาย เช่น จ่ายสมัครคอร์สเรียนหาความรู้ฝึกทักษะอาชีพ

สละเวลาส่วนตัวที่เอาไปใช้กับความบันเทิงหารายได้พิเศษเพิ่มเติม

ถ้าค่าคอร์สแค่ไม่กี่ร้อยบาท แต่ถ้าฝึกแล้วสามารถสร้างรายได้เพิ่มหลักหมื่นบาทต่อเดือน

คุณจะยังเสียดายเงินอีกหรือ ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร เปิดคอร์สอน

ซ่อมโทรศัพท์มือถือ, นวดแผนไทย, ทำอาหาร ขนม เสริมสวย ฯลฯ

ถ้าฝึกแล้วคุณทำได้ดี ทำให้คนชอบได้อาจจะกลายเป็นอาชีพหลักแทนอาชีพที่ทำอยู่ปัจจุบันก็เป็นได้

บ่อยครั้งการประหยัดก็เสียประโยชน์ เช่น การเดินเลือกซื้อของ 1 ชั่วโมง โดยไล่ถามเทียบราคาทั่วทั้งตลาด

เพื่อประหยัดเงินแค่ 20 บาท ไม่คุ้มกันเลย

1 ชั่วโมงนั้นคุณสามารถนำไปอ่านหนังสือหาความรู้เพิ่มเติมได้

บางคนใช้เวลาทั้งวันเทียบราคาสินค้าเพื่อซื้อราคาถูกกว่าแค่ไม่กี่สิบบาท

สิ่งที่เราให้ความสนใจจะขยายใหญ่เสมอ

หากเราโฟกัสไม่ให้เงินหายเงินก็จะหาย ที่หายเพราะไม่มีเวลาไปสร้างเงินเพิ่ม

โฟกัสที่ได้รูรั่วก็ได้รูรั่ว โฟกัสที่ประตูก็ได้ประตู

มัวแต่หาทางไม่ให้เงินเล็ด เงินก็เลยยิ่งเล็ด

เพราะคิดแต่คำว่า หาย ตาย จน แย่ หนี้ ไม่มี ประหยัด…

แต่คนรวยจะคิดแต่คำว่า หา ลงทุน เยอะ งอก รวย เจ๋ง เศรษฐี โอกาส

คนรวยจึงไม่ได้โฟกัสที่เงิน แต่โฟกัสที่เนื้องาน

คำในสมองที่ต่างกันก็ทำให้ชีวิตคนเราต่างกัน

ไม่อยากให้ฟุ่มเฟือยให้โฟกัสในการหามากกว่าการหวง

เงินหมดบัญชี หัวใจแทบสลาย

ไม่มีเศรษฐีร่ำรวยจากการประหยัดรายจ่าย แต่เขาร่ำรวยจากการสร้างรายได้เพิ่ม

ไม่มีเศรษฐีร่ำรวยจากการทำงานง่าย แต่เขาร่ำรวยจากการทำงานยาก

ไม่มีเศรษฐีร่ำรวยจากการทำงานหนัก แต่เขาร่ำรวยจากการทำงานฉลาด

ไม่มีเศรษฐีร่ำรวยจากการขายแรงงาน แต่เขาร่ำรวยจากการขายไอเดีย

3. เวลาเป็นของมีค่า อย่าใช้ฟุ่มเฟือย

คนรวยไม่เสียเวลาไปกับเรื่องไร้สาระเบาสมอง ติดตามข่าวสารบ้านเมืองบ้างเพื่อปรับตัวให้ทันสมัย

แต่อย่าสนใจแต่เรื่องของชาวบ้านจนเกินพอดี หรือมัวแต่แสวงหาความบันเทิงจนลืมพัฒนาตัวเอง

เวลาเป็นของมีค่า อย่าฆ่าเวลาไปเปล่า ๆ โดยไม่ได้อะไรกลับคืนมา

แต่อย่าหักโหมจนไม่ได้พักผ่อน เพราะการพักผ่อนอย่างเพียงพอ

ตามที่ร่างกายต้องการก็ถือเป็นการใช้เวลาอย่างคุ้มค่าเช่นกัน

หากสุขภาพพังเพราะขาดการพักผ่อนก็ทำงานต่อไม่ได้

อย่ามัวเสียเวลากับการกดมือถือ หลับพักผ่อนให้เพียงพอ คุ้มค่าทุกนาที

4. คนรวยปฏิเสธเก่งพอพอกับตอบตกลง

หมายความว่า คนเราควรปฏิเสธ หากมีใครมาชวนทำอะไรที่ไม่อยู่ในเป้าหมายของเราเราก็ควรปฏิเสธ

การตอบปฏิเสธคนอื่นบางครั้งเป็นการตอบตกลงกับตัวเอง

คนไทยมีนิสัยขี้เกรงใจ ทำให้ตกเป็นเหยื่อต่อผู้ที่หวังผลประโยชน์ได้ง่าย

ปฏิเสธไม่เป็น ชีวิตลำเค็ญแน่นอน!

หากเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน การปฏิเสธสิ่งที่อยู่นอกเหนือเป้าหมายของเราก็จะง่ายขึ้น

ถ้ามีใครชักชวนไปขายอะไรสักอย่าง แล้วเทตามไปลงทุนด้วยหมด

โดยไม่ได้วิเคราะห์ว่ามันตรงกับเป้าหมายของเราไหม ปล่อยให้ความโลภครอบงำ

ก็อาจทำให้เราเสียหลักจนไปไม่ถึงเป้าหมาย

ถ้าคุณทำอะไรได้ดี อย่าทำสิ่งนั้นฟรี ๆ ให้กับใคร เช่น มักมีญาติสนิทมิตรสหายขอให้ทำให้ฟรี ๆ

เมื่อคุณให้เขาฟรีหนึ่งครั้งแล้ว ครั้งต่อไปจะคิดเงินก็คงยาก

ทุกอย่างมีค่าใช้จ่าย คนที่ไม่ได้ทำอาชีพเดียวกับคุณเขาไม่เข้าใจหรอกว่าคุณต้องลงทุนอะไรบ้าง

น้ำใจมีให้กันได้ แต่จงมีให้อย่างพอดี ๆ และมีน้ำใจให้ถูกคนด้วย มิเช่นนั้นคุณจะถูกเอาเปรียบ

เวลาและความสามารถ เป็นต้นทุนที่ประเมินค่ามิได้

การจะเอาตัวเองเข้าไปอยู่ใน 1% นั้นได้ คุณก็ต้องเปลี่ยนความคิดของตัวเองให้เหมือนคนรวยเสียก่อน

ขอขอบคุณ : Training center

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่