ผักแพว เกิดมาเพื่อกำจัดมะเร็งโดยเฉาะ (อ่านสรรพคุณ 34 ข้อ)
คนส่วนใหญ่นิยมนำยอดอ่อนและใบอ่อนมาบริโภคเป็นผักสด รวมทั้งนิยมนำมาแกงกับปลา เพื่อดับกลิ่นคาว เป็นพืชที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก และเป็นสมุนไพรที่มีส่วนช่วยในการลดความอ้วน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ
นอกจากนี้ผักแพวยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใช้รักษาโรคและอาการต่างๆ ได้แก่ ป้องกันและต่อต้านมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ บำรุงประสาท ช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ รักษาปอด แก้ไอ แก้หอบหืด ช่วยในการขับถ่าย รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย รักษาริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ เป็นต้น
สรรพคุณของผักแพว
1. ผักแพวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย และช่วยในการชะลอวัย (ใบ)
2. ช่วยป้องกันและต่อต้านมะเร็ง (ใบ)
3. ช่วยป้องกันโรคหัวใจ (ใบ)
4. ใบใช้รับประทานช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)
5. ช่วยบำรุงประสาท (ราก)
6. รสเผ็ดของผักแพวช่วยทำให้เลือดลมในร่างกายเดินสะดวกมากขึ้น (ใบ)
7. ช่วยรักษาโรคหวัด (ใบ)
8. ช่วยขับเหงื่อ (ดอก)
9. ช่วยรักษาโรคปอด (ดอก)
10. ช่วยรักษาหอบหืด (ราก)
11. ช่วยแก้อาการไอ (ราก)
12. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะเป็นผักที่มีไฟเบอร์สูงถึง 9.7 กรัม ซึ่งจัดอยู่ในผักที่มีเส้นใยอาหารมากที่สุด 10 อันดับของผักพื้นบ้านไทย (ใบ)
13. ผักแพวมีรสเผ็ดร้อน จึงช่วยแก้ลม ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ (ใบ, ยอดผักแพว) ใช้เป็นยาขับ
14. ลมขึ้นเบื้องบน ช่วยให้เรอระบายลมออกมาเวลาท้องขึ้น ท้องเฟ้อ (ใบ, ดอก, ต้นราก)
15. รากผักแพวช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร (ราก) แก้กระเพาะอาหารพิการหรือกระเพาะอักเสบ (ใบ, ดอก, ต้นราก)
16. ช่วยแก้ท้องเสีย อุจจาระพิการ (ใบ, ดอก, ต้นราก)
17. ช่วยแก้อาการเจ็บท้อง (ใบ, ดอก, ต้นราก)
18. ช่วยแก้อาการท้องรุ้งพุงมาน (ใบ, ดอก, ต้นราก)
19. ใบผักแพวช่วยรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด แต่ต้องรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน
20. ลำต้นผักแพวใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
21. ราก ต้น ใบ และดอก นำมาปรุงเป็นยาได้ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร (ใบ, ดอก, ต้น, ราก)
22. ช่วยรักษาโรคตับแข็ง (ใบ)
23. ช่วยลดอาการอักเสบ (ใบ)
24. ใบผักแพวใช้แก้ตุ่มคัน ผดผื่นคันจากเชื้อรา เป็นกลากเกลื้อน ด้วยการใช้ใบหรือทั้งต้นนำมาคั้นหรือตำผสมกับเหล้าขาว แล้วใช้เป็นยาทา (ใบ, ทั้งต้น)
25. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ราก)
26. ช่วยรักษาอาการปวดข้อ ปวดกระดูก (ราก)
27. ช่วยแก้เส้นประสาทพิการ แก้เหน็บชาตามปลายนิ้วมือ ปลายเท้า และอาการมือสั่น (ใบ, ดอก, ต้นราก)
28. ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงเลือดลมของสตรี (ใบ, ดอก, ต้นราก)
ข้อควรรู้ !
ผักแพวหลัก ๆ แล้วจะมีอยู่สองชนิดที่ต่างกันแค่สีต้น คือ ผักแพวแดงและผักแพวขาว เป็นสมุนไพรคู่แฝดที่นำมาประกอบเป็นจุลพิกัดหรือใช้คู่กันเป็นยาสมุนไพรจะมีฤทธิ์ยาแรงขึ้น และมีประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้นด้วย
ประโยชน์ของผักแพว
– รสเผ็ดของผักแพวช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในเลือด เหมาะเป็นผักสมุนไพรลดความอ้วนได้โดยไม่ขาดสารอาหาร เพราะอุดมไปด้วยเส้นใยและวิตามิน แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่มากพอหรือวันละไม่น้อยกว่า 3 ขีด
– ผักแพวมีวิตามินเอสูง จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี โดยมีวิตามินเอสูงถึง 8,112 หน่วยสากล ในขณะที่อีกข้อมูลระบุว่ามีมากถึง 13,750 มิลลิกรัม
– ผักแพวเป็นผักที่ติดอันดับ 8 ของผักที่มีวิตามินซีสูงสุด โดยมีวิตามินซี 115 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
– ผักแพวมีแคลเซียมสูงถึง 390 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม จึงช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้เป็นอย่างดี
– ผักแพวมีธาตุเหล็กสูงสุดติด 1 ใน 5 อันดับของผักที่มีธาตุเหล็กสูง
– ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้ประกอบอาหาร ใช้รับประทานเป็นผักสด หรือใช้แกล้มกับอาหารที่มีรสจัด ใช้เป็นเครื่องเคียงของอาหารอีสาน อาหารเหนือ อาหารเวียดนาม หรือนำมาหั่นเป็นฝอย ใช้คลุกเป็นเครื่องปรุงสดประกอบอาหารประเภทลาบ ลู่ ตำซั่ว ก้อยกุ้งสด ข้าวยำ แกงส้ม เป็นต้น
– ใบผักแพวนำมาใช้แกงประเภทปลา เพื่อช่วยดับกลิ่นของเนื้อสัตว์หรือกลิ่นคาวปลาได้
Tip : การเลือกซื้อผักแพว ควรเลือกซื้อผักแผวสด หรือดูที่ความสดของใบเป็นหลัก ไม่เหี่ยวและเหลือง แต่ถ้ามีรอยกัดแทะของหนอนและแมลงบ้างก็ไม่เป็นไร ส่วนการเก็บรักษาผักแพวก็เหมือนกับผักทั่ว ๆไป คือเก็บใส่ในถุงพลาสติกแล้วปิดให้สนิท หรือจะเก็บใส่กล่องพลาสติกสำหรับเก็บผักก็ได้ แล้วนำไปแช่ตู้เย็นในช่องผัก
อ้างอิง : หนังสือตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.foodnetwork.com. [12 ต.ค. 2013].
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (th)
ไทยรัฐออนไลน์. “ผลวิจัยพบผักพื้นบ้านไทยคุณค่าเพียบ“. (นพ.สมยศ ดีรัศมี). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [12 ต.ค. 2013].
หนังสือผักพื้นบ้านต้านโรค. (พญ.ลลิตา ธีระสิริ).