รวม 40 แบบบ้านหลังน้อย สวยๆ น่าอยู่

1

รวม 40 แบบบ้านหลังน้อย สวยๆ น่าอยู่

สวัสดีครับเพื่อนๆ พบเจอกันอีกครั้ง กับแบบบ้านสวยๆ วันนี้ผมคัดสรรสิ่งดีๆ มาให้ได้ชมกัน เป็นแบบบ้านทั้งเล็ก ทั้งใหญ่ หวังว่าเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะ ลองไปชม 40 แบบบ้าน กันได้เลย

เรียบหรู รอบบ้านมีต้นไม้ เป็นธรรมชาติ

บ้านไม้งามๆ

บ้านไม้สวยๆ ไม่ใหญ่มาก เหมาะทำเป็นห้องพักผ่อนเล็กๆ

ไอเดียบ้านไม้ไผ่งามๆ

หลังเล็ก เคลื่อนย้ายได้

ชอบแบบนี้เลย บ้านหลังเล็กๆ

หลังนี้จะออกแนวป่าๆหน่อย สวย

โครงสร้างเป็นไม้ เคลือบปูน งามแท้

แบบบ้านยกสูง แต่ก่อนทรงแบบนี้ จะเป็นพวกบ้านพักราชการ

หลังนี้สวยมากจริงๆ ชอบกันไหมครับ คอมเม้นกันได้เลย

หลังนี้ก็ยกสูง แต่ไม่เท่าหลังราชการ

งามครับ บอกได้เลยว่ามีความสุขมากๆ ที่ได้มีบ้านแบบนี้

แบบบ้านโล่งๆ เอาไว้นั่งทำงานแบบชาวบ้าน

แบบบ้าน สวย งาม มากๆ ชอบเลยครับ

หลังนี้ปลูกโล่งๆเลยครับ

เอ้? เสาไม้นี้ สามารถค้ำได้จริงๆหรอครับ สอบถามหน่อย

สวยงามตามท้องเรื่อง

ใต้ถุนบ้านโล่งๆ เย็นๆ น่าเอาเปลมาแกว่ง

ชอบเลยครับ ไม่ใหญ่มาก

เปลี่ยนแนวกันบ้าง

สไตล์รีสอร์ท

ชอบเลย มีความเป็นตัวเองมากๆ ลงตัวจริงๆ

เช้าๆนั่งจิบกาแฟ บรรยากาศหมอกเขา

ข้างบ้านมีบ่อปลาเล็กๆด้วย เห็นไหมเอ่ย

สุดยอดจริงๆ ไอเดียบ้านหลังนี้

งามไหมครับเพื่อนๆ ผมชอบแบบนี้มากเลย

มีความเป็นธรรมชาติสุดๆ

คิดถึงบ้านนอกจัง

ชอบมากๆ

ออกแนวบ้านสวนหน่อยๆ ไอเดียดี

บ้านไม้ทั้งหลัง ปลวกจะกินไหมน้อ

สวยงามมาก แนวนี้ชื่ออะไร บอกหน่อยครับ

มุงหลังคาแบบนี้ เย็นมากๆครับ

งามแท้ ปลูกพืชผัก แบบพอเพียง

ไอเดียบ้าน

ไอเดียบ้านสวยๆ

ไอเดียแบบบ้านสวยๆ ฟรีๆ

งามแท้ๆ อยากได้สักหลังจริงๆ

4 ข้อควรรู้ก่อน กู้เงินซื้อบ้าน

1. “การ กู้เงิน เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย”

อันได้แก่ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน หรือซื้ออาคารชุดแล้วนั้น ผู้กู้สามารถขอกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยอื่นอีกหลายประการ ได้แก่เพื่อซื้อที่ดินเปล่า เพื่อการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยของตนในอนาคตเพื่อปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเองเพื่อต่อเติม หรือซ่อมแซมอาคารของตนเพื่อชำระหนี้ที่เกี่ยวพันกับที่อยู่อาศัยเพื่อไถ่ถอนหนี้ที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่นโดยทั่วไป “สินเชื่อที่อยู่อาศัย” ที่สถาบันการเงินต่างๆ ปล่อยให้กับผู้กู้รายย่อยมักจะครอบคลุมสินเชื่อต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้

2. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

มีผู้ซื้อบ้านจำนวนมากที่ทำการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินต่างๆ แล้วพบว่าบางแห่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากัน เหตุไฉนเงินงวดรายเดือนจึงแตกต่างกัน ข้อเท็จจริงคือว่า การกู้ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ ผู้กู้จะเสียเงินงวดน้อยลง แต่ก็จะมีความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาการชำระเงินงวดขึ้นได้ในภายหลังกรณีที่อัตราดอกเบี้ยต่อมาได้ปรับตัวสูงขึ้น จนทำให้เงินงวดต่อเดือนที่ผู้กู้ผ่อนชำระกับธนาคารไม่พอชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น ทำให้ธนาคารต้องคิดเงินงวดที่สูงขึ้นและแจ้งให้ลูกค้ามาชำระเงินงวดมากกว่าที่เคยชำระเดิม ซึ่งบางครั้งหากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก จะทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินงวดที่เพิ่มขึ้นได้ และเกิดอาการที่เรียกว่า “ความตกใจในเงินงวดที่เพิ่มขึ้น” (Payment Shock) ก่อปัญหาทั้งแก่ผู้กู้และสถาบันการเงินที่ต้องมีหนี้ค้างชำระเพิ่มขึ้นตามมา

ดังนั้น หากผู้กู้กู้เงินแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ จึงต้องระวังในกรณีนี้ด้วย อย่างไรก็ตามเพื่อช่วยลูกค้าและป้องกันปัญหาข้างต้นแม้ว่าธนาคารต่างๆ จะคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามประกาศจริง แต่มีบางธนาคารใช้วิธีการคำนวณเงินงวดเพื่อการชำระหนี้รายเดือน (Monthly Repayment) โดยคิดเพิ่มจากอัตราดอกเบี้ยจริงบวกด้วย 1-3% ดังนั้น จึงทำให้เงินงวดที่ผ่อนชำระของแต่ละธนาคารอาจแตกต่างกันได้ ทั้งที่อัตราดอกเบี้ยตามประกาศเท่ากัน สำหรับธนาคารอาคารสงเคราะห์ใช้วิธีการคำนวณเงินงวดเพื่อการชำระหนี้รายเดือน

กรณีเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยคิดเพิ่มจากอัตราดอกเบี้ยจริงบวกด้วย 1% การคิดเงินงวดเพิ่มดังกล่าวไม่เป็นผลเสียแก่ผู้กู้แต่ประการใด ตรงกันข้ามกลับจะเป็นประโยชน์ด้วยซ้ำ เพราะหากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มในภายหลัง ไม่ถึงกลับทำให้เงินงวดเดิมไม่พอตัดดอกเบี้ยธนาคารจะได้ไม่ต้องแจ้งลูกค้าให้มาชำระเงินงวดเพิ่ม ซึ่งจะก่อปัญหาการค้างชำระหนี้ตามมาได้ง่าย แต่หากอัตราดอกเบี้ยไม่เพิ่มขึ้นในภายหลัง หรือกลับลดลง เงินงวดที่ลูกค้าจ่ายเกินไว้ก็จะไปตัดเงินต้นมากขึ้น และส่งผลให้หนี้เงินกู้หมดเร็วขึ้นกว่าที่ระบุในสัญญากู้ เช่น กู้นาน 20 ปี อาจเหลือ 18-19 ปี เป็นต้น

3. ระยะไหนควรกู้

เมื่อผู้ซื้อบ้านคิดจะกู้เงิน มักตั้งคำถามกับตัวเองเสมอว่าจะกู้ในระยะไหนดีกว่ากัน ดังนั้นหากผู้กู้มีความสามารถที่จะชำระคืนเงินกู้ได้เร็วที่สุดก็ยิ่งดีเท่านั้นเพราะจะทำให้ผู้กู้เป็นอิสระ อย่างไรก็ตามผู้กู้บางท่านที่ต้องการวงเงินกู้ค่อนข้างสูง ในขณะที่ความสามารถในการผ่อนชำระที่ค่อนข้างต่ำ ถ้าเป็นเช่นนี้จำเป็นต้องขยายเวลากู้ออกไปให้นานที่สุดเป็น 25-30 ปีเพื่อที่จะให้เงินงวดลดลงจนถึงจุดที่สามารถผ่อนชำระได้

ทั้งนี้ เพราะในเงินกู้เท่ากัน อัตราดอกเบี้ยเท่ากันยิ่งใช้เวลาผ่อนนานมากขึ้น เงินงวดก็จะยิ่งลดลง แต่ถ้าหากเล็งเห็นว่าอนาคตอันใกล้นั้นตนเองอาจมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มภายในครอบครัว อาจทำให้การเงินฝืดเคืองเกิดปัญหาในการผ่อนชำระได้ หากรู้สึกเช่นนั้นเพื่อความสบายใจและปลอดภัยไว้ก่อน จึงอาจขอระยะเวลาการกู้ออกไปให้นานที่สุดก็เป็นได้

4. ต่างแหล่งก็ต่างราคา

ในปัจจุบันเงินกู้ที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินแตกต่างกัน โดยอัตราดอกเบี้ยลอยตัวมีตั้งแต่ 50-5.25% และอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีประมาณ 3.50-3.75% จะเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ห่างกันเพียง 1-2% นับว่ามีความหมายมากเพราะจะทำให้ผู้ผ่อนมีภาระเพิ่มขึ้น หรือเบาแรงค่าผ่อนชำระได้ไม่น้อยการหาสินเชื่อหรือแหล่งเงินกู้ผู้กู้ต้องพิจารณากับสถาบันการเงินที่มีดอกเบี้ยต่ำที่สุด เพื่อประหยัดค่าผ่อนชำระ อย่างไรก็ตาม นอกจากจะดูเรื่องดอกเบี้ยแล้ว ผู้กู้ต้องดูค่าใช้จ่ายอื่นๆจากการกู้ เช่น ค่าธรรมเนียมการประเมิน และค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ เป็นต้น

ปัจจุบันธนาคารต่างๆ คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัยแตกต่างกันออกไป ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจหรือไม่?อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัย ที่ธนาคารต่างๆเสนอในขณะนี้ จะมีทั้งแบบ “อัตราดอกเบี้ยลอยตัว” (Floating rate) และแบบ” อัตราดอกเบี้ยคงที่” (Fixed rate) อัตราดอกเบี้ยลอยตัว หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดมาแล้ว จะไม่อยู่คงที่ลอยตัวตลอดระยะเวลากู้ โดยธนาคารสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามที่เห็นสมควร ตามสถานการณ์สภาพคล่องในระบบการเงิน หรือตามต้นทุนการเงินของธนาคาร

ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต , FW Mail , moneyhub

เรียบเรียงโดย : Postsod

แสดงความคิดเห็น

1 ความคิดเห็น

  1. ชอบมากทฺกๆหลังเลยค่ะ ขอบพระคฺณมากค่ะที่นำมาให้ได้รับชม ไม่ทราบว่า ถ้าสนใจอยากเยี่ยมชมบ้าน จะต้องขออนฺญาติเจ้าของบ้าน และคฺณผู้นำเสนอ ได้อย่างไรคะ ขอบพระคฺณมากค่ะ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่