พืชชนิดนี้กินแล้ว “ยับยั้งเซลล์มะเร็ง” ได้ในเวลาเพียง 16 ชั่วโมง ดีเยี่ยมเลยทีเดียว!

0

พืชชนิดนี้กินแล้ว “ยับยั้งเซลล์มะเร็ง” ได้ในเวลาเพียง 16 ชั่วโมง ดีเยี่ยมเลยทีเดียว!

ชาวจีนได้ค้นพบว่า ต้นชิงเฮา ( Artemisinin หรือ qinghao su ) มีสารอาร์เทมิซินิน (Artemisinin) สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งเต้านมได้ถึง 98 % และยังสามารถต่อสู้กับมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้อีกเช่นกัน

โดย “วิทยาศาสตร์ชีวภาพ” ได้บอกรายละเอียดเพิ่มเติมว่า พืชชนิดนี้มีสารอาร์เทมิซินินถึง 28% ซึ่งมันสามารถจัดการกับเซลล์มะเร็งเต้านมและยังช่วยยับยั่งการเกิดโรคมะเร็งได้อย่างดีเยี่ยม และสิ่งที่สำคัญมากคือสารในต้นชิงเฮาไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ กับเซลล์อื่นๆ ในร่างกายของเรา

การแพทย์แผนจีนนิยมใช้ต้นชิงเฮามานานนับพันๆ ปี เนื่องจากมันอุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่ใช้รักษาโรคมาลาเรียและฆ่าปรสิตได้เป็นอย่างดี

ต้นชิงเฮา (Artemisinin) ช่วยยับยั่งกระบวนการสร้างโมเลกุล E2F1 ซึ่งช่วยหยุดเซลล์มะเร็งเต้านมและยังช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวโดย นักวิจัยโรคมะเร็งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ธาตุเหล็กที่เข้าไปสะสมในเซลล์มะเร็งจะช่วยรักษาเสถียรภาพของเซลล์ ทำให้เซลล์กลับมาอยู่ในสภาพปกติ นอกจากนี้การรวมตัวของเหล็กและสารอาร์เทมิซินินเป็นสิ่งที่ดีมากในการยับยั่งเซลล์มะเร็ง

จวบจนทุกวันนี้ยังยากที่จะประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของสารสกัดชนิดนี้ได้ นอกเสียจากจะเพิ่มปริมาณการเพาะปลูกพืชชนิดนี้ให้มากขึ้นเพื่อให้มีราคาที่เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น

สรรพคุณของชิงเฮา

  1. ทั้งต้นมีรสขม มีกลิ่นหอม เผ็ดเล็กน้อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับ ดี ม้าม และกระเพาะใช้เป็นยาแก้ร้อนใน ลดไข้ ทำให้เลือดเย็น แก้ร่างกายอ่อนแอ มีไข้ กระสับกระส่าย (ทั้งต้น)
  2. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่นมาลาเรีย แก้ไข้เนื่องจากวัณโรค ไข้ต่ำเป็นเวลานานแต่ไม่มีเหงื่อ ไข้อันเกิดความร้อนในฤดูร้อน (ทั้งต้น)
  3. ใช้เป็นยาแก้ไข้ เพื่อลดเสมหะ แก้เจลียงหรือไข้ที่มีอาการจับวันเว้นวันซึ่งเป็นไข้จับสั่นประเภทหนึ่ง (ทั้งต้น)
  1. ใช้เป็นยาแก้หืด แก้หอบ แก้ไอ และใช้เป็นยาขับเหงื่อ (ทั้งต้น)
  2. ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร (ทั้งต้น)
  3. ใช้เป็นยาแก้ดีซ่าน (ทั้งต้น)
  4. ในบัญชียาสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้เดิม มีปรากฏการใช้โกฐจุฬาลัมพา (ชิงเฮา) ในตำรับยารักษาอาการโรคในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย รวม 4 ตำรับ คือ ตำรับยาหอมเทพจิตร ตำรับยาหอมนวโกฐ (สองตำรับนี้มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง), ตำรับยาจันทน์ลีลา และตำรับยาแก้ไขห้าราก (สองตำรับนี้เป็นตำรับยาแก้ไข้ ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู)
  5. นอกจากนี้ยังได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โดยโกฐจุฬาลัมพา (ชิงเฮา) จัดอยู่ใน พิกัดโกฐทั้งห้า (เบญจโกฐ), พิกัดโกฐทั้งเจ็ด (สัตตโกฐ) และพิกัดโกฐทั้งเก้า (เนาวโกฐ) ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ช่วยขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก และเป็นยาชูกำลัง (ทั้งต้น)

ขนาดและวิธีใช้ : ให้ใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนต้นสดให้ใช้ภายนอกนำมาตำแล้วพอก

หมายเหตุ : ในระยะการเจริญเติบโตต้นชิงเฮาจะค่อย ๆ สร้างสารอาติมิซินิน (Artemisinin) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย และจะสร้างสารชนิดนี้เพิ่มขึ้นจนสูงสุดในระยะก่อนออกดอก ในระยะนี้จึงเป็นช่วงที่เหมาะสมแก่การเก็บเกี่ยวมาใช้เป็นยา ส่วนของพืชที่สะสมสารชนิดนี้มากที่สุดคือส่วนของใบ ก้าน และดอก ตามลำดับ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในการปลูกก็มีผลต่อปริมาณการสร้างสารอาติมิซินินด้วย โดยชิงเฮาสายพันธุ์ของจีนและเวียดนามจะมีปริมาณของสารอาติมิซินินมากที่สุดคือประมาณ 1% ซึ่งมากกว่าสายพันธุ์ที่พบในทวีปยุโรปและอเมริกาถึง 5-200 เท่า

เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “ชิงเฮา”.  หน้า 204.
  2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “ชิงเฮา Qinghao”.  หน้า 56.
  3. องค์การเภสัชกรรม.  (ดร.ประภัสสร สุรวัฒนาวรรณ).  “ชิงเฮา…สมุนไพรต้านมาลาเรีย”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.gpo.or.th.  [05 ม.ค. 2015].
  4. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “โกฐจุฬาลัมพา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com.  [05 ม.ค. 2015].

เรียบเรียงโดย : Postsod

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่