ดีมากๆ สูตรน้ำชาจากกิ่งหม่อนนี้ รักษาปวดข้อ เส้นตึง เหน็บชา เพียงทำแบบนี้

0

ดีมากๆ สูตรน้ำชาจากกิ่งหม่อนนี้ รักษาปวดข้อ เส้นตึง เหน็บชา เพียงทำแบบนี้

หม่อน (mulberry) หรือมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus alba มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน มีอายุนานได้มากกว่า 100 ปี หากไม่มีปัจจัยด้านโรคมารบกวน สำหรับประเทศไทยพบมีการปลุกมากในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อการผลิตเส้นใยไหม และผ้าไหม มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคอีสานเรียก มอน ภาษาจีนเรียก ซังเยี่ย เป็นต้นลักษณะเด่นของหม่อนเป็นไม้ทรงพุ่ม สูงประมาณ 2-5 ม. ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-15 ซม. ด้านขอบใบมีรอยหยัก ใบมีลักษณะสาก ส่วนดอกมีสีขาวหม่นหรือแกมเขียว ออกเป็นช่อ ผลมีลักษณะเป็นผลรวม เมื่อสุกจะมีแดง สีม่วงแดง สุกมากจะมีสีดำ ตามลำดับ มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว

กิ่งหม่อนมีรสขมเป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาช่วยการไหลเวียน แก้ข้ออักเสบเนื่องจากภาวะเสมหะในข้อเหนียว หรือลมร้อนที่ทำให้ปวดแขน ปวดขา ขาบวม หรือมือเท้าแข็งเกร็ง เส้นตึง ลมเข้าเส้น ช่วยรักษาอาการปวดข้อมือ ข้อเท้า เป็นตะคริว และเหน็บชา การปลูกหม่อนเพื่อเก็บใบ จำเป็นต้องตัดกิ่งเพื่อให้แตกออกใหม่ จะได้ใบที่สวยและดกมาก กิ่งที่ตัดออกส่วนใหญ่ก็จะนำไปปักชำ ที่เหลือก็ทิ้ง ต่อไปนี้ต้องเก็บไว้ทำชานะครับ ประโยชน์มากกว่าใบในรูปแบบของยารักษาภาวะปวดข้อ ข้ออักเสบ

วิธีปรุงชากิ่งหม่อน

ใช้กิ่งหม่อนแห้ง 20-30 กรัม ต้มกับใบเตย 2-3 ใบ ดื่มได้ทั้งร้อนและเย็นครับ แต่ถ้าปวดหลังปวดเอวจะใช้สูตรนี้ไม่ค่อยได้ผลครับ ยาออกฤทธิ์ที่แขนและขามากกว่ากลางลำตัวครับ

ประโยชน์หม่อน

1. ใบสดเมื่อนำใบมาเคี้ยวสดๆจะมีรสหวานอมขมเย็นเล็กน้อย บางท้องถิ่นนำมากินสด

2. ปัจจุบันนิยมนำใบมาตากแห้ง และชงดื่มเป็นน้ำชาใบหม่อน ซึ่งจะให้กลิ่นหอมมีเอกลักษณ์ และรสชาติเหมือนชา แต่อมหวานเล็กน้อย

3. บางท้องถิ่น เช่น ภาคอีสาน ภาคเหนือ นิยมใบมาปรุงอาหารในเมนูจำพวกต้มต่าง ซึ่งจะเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น

4. ในส่วนของผลสุก สามารถกินเป็นผลไม้หรือเป็นอาหารนกได้

5. บางท้องที่ที่มีการปลูกหม่อนมากจะนำผลหม่อนมาหมักเป็นไวน์จำหน่าย ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามสถาน Otop ต่างๆ ลักษณะไวจากผลหม่อนจะเป็นสีม่วงอมแดง หรือนำผลสุกมารับประทานสดซึ่งจะให้รสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย ในบางท้องที่มีการจำหน่ายลูกหม่อนสุกสามารถเป็นรายได้เสริมอีกทาง

ข้อแนะนำการนำไปใช้

1. การเลือกใบหม่อนเพื่อทำยา ควรเลือกใบเขียวสด ดูอวบทั่วทั้งใบ และไม่มีรอยกัดกินของแมลง

2. การนำใบหม่อนมาทำยาสามารถทำด้วยวิธีการตากแห้งใบ แล้วบดอัดใส่แคปซูลรับประทานหรือการนำใบแห้งมาต้มดื่มเป็นชาใบหม่อน

3. ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่อง และในปริมาณที่มากๆ เพราะอาจได้รับสารแทนนินที่มีผลต่อระบบการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดท้องอืด อาหารไม่ย่อยได้

4. หากพบมีอาการแพ้หรือมีผลผิดปกติในร่างกาย ให้หยุดการใช้ทันที

แหล่งที่มา : puechkaset

เรียบเรียง : Postsod

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่