ลองดู! วิธีการสวดมนต์ที่ถูกต้อง ส่งผลานิสงส์ในทันทีที่ท่านสวดเสร็จ

0

ลองดู! วิธีการสวดมนต์ที่ถูกต้อง ส่งผลานิสงส์ในทันทีที่ท่านสวดเสร็จ

การสวดมนต์ที่ถูกต้อง‬” จะส่งผลานิสงส์ในทันทีที่ท่านสวดเสร็จ‬ ไม่ต้อง‪‎รอผล‬ ในวันอื่นเลย และขออธิบายอาการ‬ ทำไมสวดมนต์แล้วหาวจังเลย ทำไมเสียงแหบแห้ง ขนลุกขนพอง ทำไมมีลมตีขึ้นออกมาเป็นอาการคล้าย ๆ เรอ สำรอก

ซึ่งขอบอกกันเลยตรงนี้ว่า ท่านไม่ได้ผิดปกติอะไรหรอกค่ะ แค่เพียงเวลาท่านออกเสียงสวดมนต์ไปนั้น เสียงของท่านมันจะเป็นแสงเล็ก ๆ แล้วบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วเขาได้ยินเขาก็จะตามเสียงมาแล้วเข้ามาอาศัยร่างของท่าน ซึ่งเป็นลูกเป็นหลานได้ ‎โมทนาบุญจากการสวดมนต์‬ และยังมีเทพ พรหม เทวดา นางฟ้า รุกขเทวดา เจ้าที่ ฯลฯ เขามานั่งอยู่ข้าง ๆ ‎โมทนาบุญกับเรา‬ กายหยาบของเรามันกระทบกับกายละเอียดของเขา มันจึงเกิดอาการสารพัดที่บอกมา แต่อย่ากลัวนะคะ ‪ท่านทำดีพวกเขาจึงมาขอมีส่วนในบุญด้วย‬ …‪การสวดมนต์นั้น‬ ‪ไม่มีมนต์บทใดที่สามารถขจัดทุกข์ได้‬ คนเข้าใจผิดเรื่องนี้มาก‎ทุกข์ยังตั้งอยู่‬ แต่ใจเรามันจะสามารถยอมรับความจริงได้แล้ว ใจก็จะเบาลงเอง

…อย่างแรก “‪‎ต้องสมาทานศีลห้าทุกวัน‬ เวลาไหนก็ได้‎เพราะศีลจะครอบคลุมเป็นเกราะให้เราตลอดทั้งวันทั้งคืนที่เราไม่ได้ไปเบียดเบียนใคร‬ ถึงศีลขาดไปหนึ่งข้อ แต่อีกสี่ข้อก็ยังค้ำจุนให้เรามีศีลอยู่ และ ‎พุทธคุณของศีลนี้จะส่งผลให้เราเจอแต่สิ่งดีงามตลอดทั้งวัน‬

…‪หลักการสวดมนต์‬ เราต้องสมาทานศีลห้าก่อนสวดบทอื่นใดในโลกนี้ เพราะการสมาทานศีลห้า จะเป็นการกรองเสียงให้เป็นทิพย์ก่อน แล้วเราจึงสวดบทอื่นได้หมดทุกบท

….‪‎หลักการอีกอย่างคือการ‬ สวดด้วยความตั้งใจ เสียงดังฟังชัด การสวดมนต์ไม่ใช่การภาวนา เราจึงต้อง ให้เทวดา นางไม้ เจ้าที่ ฯลฯ ได้ยิน ‪‎มาร่วมโมทนาบุญกับเรา‬ เราต้องมั่นใจในพลังที่ออกจากน้ำเสียงของเรา ว่าเสียงที่เปล่งไปนั้น สามารถดังไปทั่วสวรรค์ และ ‪‎ต้องเกิดจากความศรัทธา‬ กราบไหว้พระ ก็ต้องเบญจางคประดิษฐ์ให้สวยงามนิ้วโป้งแตะหว่างคิ้ว พอก้ม หน้าผากให้แตะถึงพื้นไม่ใช่ทิ่มหัวลงไป เหมือนเป็นคนไม่มีศรัทธา อย่างนี้บุญที่ได้ จะไม่ละเอียดเท่าคนที่เขาทำอย่างประณีตค่ะ

…‪การสวดมนต์ก่อนนอนที่ถูกต้อง‬ เรียงลำดับบทสวดดังนี้ค่ะ

( เราจะลงคำเริ่มต้นของบทสวดของแต่ละบท ให้นะคะ ) เริ่มจาก

คำบูชาพระ‬ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ (สวดคนเดียวลงด้วย “มิ” แต่สวดหลายคนเปลี่ยนเป็น “มะ”) ฯลฯ

……‪‎คำนมัสการพระรัตนตรัย‬

อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา

พุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ ฯลฯ

…..‪‎คำอาราธนาศีล 5‬

อะหัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ (ถ้าสวดหลายคนเปลี่ยนจาก อะหัง เป็น มะยัง) ฯลฯ

…..‪‎คำนมัสการพระพุทธเจ้า‬

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) ฯลฯ

…..‪‎ไตรสรณคมณ์‬

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯลฯ

…..‪‎ศีล‬ 5

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯลฯ

…..‪คำขอขมาพระรัตนตรัย‬

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตเยนะ กะตัง ฯลฯ

…..‪‎คำแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง‬ (การที่เราจะแผ่เมตตาให้ใคร ให้จดจำเสมอว่า เราต้องให้เราก่อน เมื่อเรามีบุญเราจึงให้คนอื่นได้ค่ะ)

อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข

อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากทุกข์ ฯลฯ

…..‪‎คำแผ่เมตตาให้แก่ผู้อื่น‬ (พอขึ้นสัพเพ สัตตา วิญญาณของสัตว์ที่เรากินไปในแต่ละวันก็จะไปเกิดในทันทีไม่เกาะตามเนื้อตัวเราแล้วค่ะ)

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ฯลฯ อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (สวด 3 จบ บทนี้ขอให้ปัญญาทางธรรมจงเกิดกับเรา ขาดไม่ได้เช่นกันค่ะ)

หากท่านอยากสวดมนต์บทใดๆ นอกเหนือจากนี้ ให้สวดแทรกไปก่อนที่จะ “แผ่เมตตาให้ตัวเอง” จากนั้นหากใครประสงค์จะนั่งสมาธิ ก็ให้ ‪‎ขอพระกรรมฐานก่อนทุกครั้ง‬ แล้ว นั่งสมาธิเป็นเวลาสั้นๆ

( การเริ่มต้นฝึกการนั่งสมาธิ อย่านั่งนานเพราะระยะเวลาไม่ช่วยให้ท่านได้บุญมากเท่ากับการนั่งแล้วกำหนดสติของเราได้ตลอดต่อเนื่อง อยู่กับลมหายใจ ) ***ในช่วงทำวิปัสสนาสมาธินั้น หากเราเผลอส่งจิตไหลออกนอกแล้วไม่ดึงกลับ ไปคิดถึงคนที่เราชิงชัง เผลอไปคิดถึงลูกถึงสามี คิดถึงงาน ฯลฯ มันไปสวนคำสอนที่พระพุทธเจ้า ท่านทรงสอนให้เรากำหนดรู้อยู่กับลมเท่านั้น สรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจก่อนว่า พระพุทธเจ้าไม่สอนให้เรานั่งแล้วคิดส่งจิตไปหาใคร เราต้องทำเพียงให้รู้กายใจในตัวเราเท่านั้น

โดยการตามดูสภาวะธรรม ความจริงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น เช่น ท้องมันพอง เราก็ตามรู้ว่าพอง ท้องมันยุบเราก็ตามรู้ว่ามันยุบ เมื่อปวดข้อ ปวดขาก็ให้ตามรู้ว่าปวดหนอๆๆ อย่าขยับตัวเด็ดขาด คนที่เริ่มต้นฝึกใหม่ๆ ขอให้นั่งเพียงระยะสั้น (10-15 นาที)

ขอขอบคุณที่มา : rak-sukapap

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่