เทวดาเขารู้กัน! พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ช้างคู่พระบารมี ในหลวง ร.9 กับเรื่องราวสุดมหัศจรรย์ จากนี้ไม่มีอีกแล้ว

0

เทวดาเขารู้กัน! พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ช้างคู่พระบารมี ในหลวง ร.9 กับเรื่องราวสุดมหัศจรรย์ จากนี้ไม่มีอีกแล้ว

นี่เป็นเรื่องราวสุดประทับใจและมหัศจรรย์ที่สุด เมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พบกับ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นครั้งแรก และ ลุงแก้ว ผู้เผยข้อมูลเล่าว่า เทวดาเขารู้กัน

โดย ลุงแก้ว เผยว่าเมื่อครั้งแรกที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เดินทางมาพบกับ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯช้างเผือกประจำรัชกาล โดย พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างที่แตกต่างจากช้างอื่น เพราะมีนิสัยที่แปลก ลุงแก้ว บอกว่า

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯเหมือนกับเทวดา ถือตัว และจะไม่รวมกลุ่มกับช้างอื่น แถมยังมีนิสัยดุร้าย และเข้าถึงตัวไม่ได้เลย แต่ครั้งแรกที่ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ได้พบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กลับกลายเป็นช้างที่ว่านอนสอนง่ายมาก แบบนี้แหละ ลุงแก้ว ถึงกล่าวว่า เทวดาเขารู้กัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชโรงช้างต้น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2547 ทรงพระราชทานอ้อยแก่ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ

กล่าวกันมาช้านานแล้วว่า”ช้างเผือก” แสดงถึงบุญบารมีของพระมหากษัตริย์
แม้กระทั่งในประวัติศาสตร์ “ช้างเผือก”ก็เคยเป็นสาเหตุของ “สงคราม” มาแล้ว เช่นกรณีพม่ายกทัพมาตีอยุธยา ก็เป็นเพราะพระเจ้าบุเรงนองทางอ้างเหตุขอ”ช้างเผือก”จากอยุธยา 2 เชือก แต่พระมหาจักรพรรดิ์ พระเจ้าแผ่นดินอยุธยาทรงเห็นว่า”ช้างเผือก”เป็นของคู่บารมีของพระองค์

สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน พระองค์ทรงมี”ช้างเผือก”มากถึง 10 เชือก
เพลินพิศ กำราญ นักอักษรศาสตร์ 6 ฝ่ายวัฒนธรรมและจารีตประเพณี กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ บันทึกเกี่ยวกับ”ช้างเผือก”ไว้ว่า…

“…ช้างเผือกเป็นราชพาหนะคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ มีฐานะเทียบเท่าเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า ดังจะเห็นได้จากพระกรรม์ภิรมย์ คือฉัตร ๕ ชั้น ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์ มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสนาธิปัต พระฉัตรชัย และพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูงที่ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้พระกรรม์ภิรมย์สวมถุงเข้ากระบวนพระอิสริยยศแห่นำเสด็จพระราชวงศ์ชั้นเจ้าฟ้าในพระราชพิธีโสกันต์ เป็นต้น ในพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญก็ใช้พระกรรม์ภิรมย์สวมถุงแห่นำเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังเห็นได้จากที่พราหมณ์อ่านคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างและกาพย์ขับไม้ ซึ่งถือว่าเป็นของสูงจะมีเฉพาะพระราชพิธีสำคัญ ๆ ได้แก่ การสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ และพระราชพิธีที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษ เช่น คำฉันท์ดุษฎีสังเวยและกาพย์ขับไม้สมโภชพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เนื่องในพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี เป็นต้น…”

ทราบหรือไม่ว่า”ช้างเผือก” เชือกแรกในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือองค์ไหน

คำตอบก็คือ “พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ” ซึ่งเป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อ กมุท สีกายดังดอกกมุท หรือบัวสายแดง ได้รับพระราชทานนามเต็มว่า “พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนามนาคบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกทลาสนวิศุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาต สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรบพิตรสารศักดิเลิศฟ้า ๚

สำหรับพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างพลายเผือกโท เกิดในป่าเขตจังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2494 ถูกคล้องได้ที่ บ้านหนองจูด ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ เมื่อปี 2499 โดยนายแปลก ฟุ้งเฟื่อง และนายปลื้ม สุทธิเกิด(หมอเฒ่า) เป็นลูกช้างติดแม่อยู่ในโขลงช้างป่า พร้อมกับช้างอื่นๆ อีก 5 เชือกคือ พังสาคร พลายทอง พังเพียร พังวิไล และพังน้อย โดยในตอนนั้น พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ได้ชื่อว่า “พลายแก้ว” มีความสูง 1.60 เมตร เมื่อพระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ)ได้ตรวจสอบคชลักษณ์ แล้วพบว่าเป็นช้างสำคัญ จึงนำมาเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์ดุสิต เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2500

ต่อมา พล.ต.บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ได้นำขึ้นทูลเกล้าถวาย เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2501 เพื่อประกอบพิธีขึ้นระวางเป็นช้างต้น และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กำหนดพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกประจำรัชกาล ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2502 เป็นปีที่ 13 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เติบโตขึ้นโดยการดูแลขององค์การสวนสัตว์ ที่สวนสัตว์ดุสิต และมีอาการดุร้ายมากขึ้น จนควาญช้างควบคุมไม่ได้ จึงต้องจับยืนมัดขาทั้งสี่ไว้กับเสา จนกระทั่ง สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนารถ มีพระราชเสาวณีย์ โปรดเกล้าฯให้นำพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เข้าไปยืนโรงในโรงช้างต้น ภายในพระราชวังสวนจิตรลดา เมื่อ พ.ศ. 2519

การนำพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ไปยังโรงในโรงช้างต้น พระราชวังสวนจิตรลดา ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้บันทึกคอลัมน์ ข้าวไกลนา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2519 ไว้ว่า

“…ในขณะที่นำคุณพระจากสวนสัตว์ดุสิตไปยังสวนจิตรลดา ซึ่งเพียงแต่มีถนนคั่นอยู่สายเดียวนั้น คุณพระก็อาละวาดอย่างหนัก ไม่ยอมออกเดิน เอางวงยึดต้นไม้จนต้นไม้ล้ม จนแทบจะหมดปัญญาเจ้าหน้าที่ กว่าจะนำคุณพระจากเขาดินไปถึงประตูสวนจิตรลดา ซึ่งมองเห็นกันแค่นั้น ก็กินเวลาหลายชั่วโมง ต้องใช้คนเป็นจำนวนมากถือปลายเชือกที่ผูกไว้กับขาคุณพระทั้งสี่ขา คอยลากคอยดึง และดูเหมือนจะต้องใช้รถแทรกเตอร์เข้าช่วยขนาบข้าง เสี่ยงอันตรายกันมากอยู่ แต่ในที่สุดก็นำคุณพระไปยังประตูพระราชวังได้

พอได้ก้าวเท้าเข้าไปในบริเวณพระราชวัง คุณพระก็เปลี่ยนไปทันที จากความดุร้ายก็กลายเป็นความสงบเสงี่ยม เดินอย่างเรียบร้อยไปสู่โรงช้างต้น และเข้าอยู่อย่างสงบเรื่อยมา..”

ปัจจุบัน พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ย้ายไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระราชวังไกลกังวล หัวหิน โดยเคลื่อนย้ายคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เมื่อวันที่ 17-18 มีนาคม 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชโรงช้างต้น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2547

ขอขอบคุณ : รายการเจาะใจ, JSL Global Media, welovethaiking

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่