แพทย์เตือน!! โรคร่าเริง กลางคืนสดใสไม่นอน กลางวันง่วงนอนไม่ตื่น โรคร้ายที่เร่งสุขภาพให้แย่ลงทุกวัน!
วันนี้จะพาไปรู้จักกับโรคที่หนุ่มสาววัยมหาลัยและคนวัยทำงานจำนวนไม่น้อย มักจะเป็น เนื่องจากเคยชินกับการทำงานตอนดึกๆ หามรุ่งหามค่ำ เพราะเหตุผลที่ว่า ตอนกลางคืนเป็นเวลาที่เงียบสงบ ทำให้มีสมาธิสมองลื่นไหลกว่าตอนกลางวันเป็นไหน ๆ คิดอะไรก็คิดออกได้อย่างรวดเร็ว ไม่เหนื่อยแถมไม่ง่วงอีกด้วย แต่รู้ไหมว่า การทำงานตอนกลางคืนโดยไม่หลับไม่นอน ทำให้ชีวิตตอนกลางวันของคุณ “พัง” ถึงคุณจะได้งาน ได้เงิน แต่ระวังเถอะ จะได้ “โรค” แถมไปด้วย การร่าเริงตอนกลางคืนแบบนี้ อาจทำให้ร่างกายของคุณก่อ “โรคร่าเริง” ขึ้นมาได้ มาเช็คกันว่า คุณกำลังสุ่มเสี่ยงเป็นโรคนี้อยู่หรือเปล่า การใช้ชีวิตของคุณที่เสี่ยงเป็น “โรคร่าเริง”
กลางวัน > อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ คิดอะไรก็คิดไม่ออก
ถึงชื่อโรคจะดูร่าเริงสนุกสนาน แต่ร่างกายของเราไม่ได้จะเริงร่าตามชื่อแม้แต่น้อย ซึ่งนอกจากจะทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน รอบเดือนไม่ปกติ ขี้เหวี่ยงขี้วีน อาจทำให้สุ่มเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และโรคเบาหวาน ได้
โรคร่าเริง กลางคืนตื่นกลางวันหลับสุขภาพเสื่อม
โรคร่าเริง พฤติกรรมใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ กลางคืนตื่น กลางวันหลับ ภัยร้ายใกล้ตัวทำสุขภาพเสื่อมโทรม
การใช้ชีวิตของคนปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ยิ่งในยุคชีวิตติดโซเชียลด้วยแล้ว พฤติกรรมการดำเนินชีวิตยิ่งแปรปรวน กลาวงันไม่อยากจะตื่น กลางคืนไม่อยากจะหลับ กลับวงจรชีวิตให้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย โรคอุบัติใหม่ที่ไม่แน่ใจว่าใครบัญญัติไว้อย่าง “โรคร่าเริง” จึงเกิดขึ้นมา หลายคนอาจจะงงในตอนแรกว่า อะไรคือโรคร่าเริง มีคำตอบมาฝากค่ะ
โรคร่าเริง กับชีวิตที่ไม่เริงร่าตามชื่อ
โรคร่าเริง ชื่อโรคที่ตั้งขึ้นปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งในทางการแพทย์จริงๆ แล้ว ไม่ได้มีปรากฏชื่อโรคนี้มาก่อน แต่ว่าถ้าดูตามลักษณะพฤติกรรมแล้ว โรคนี้จะเกี่ยวข้องกับคนที่ชอบเปลี่ยนพฤติกรรมไปทำงานในช่วงเวลากลางคืน พอถึงช่วงเวลากลางวันก็จะเกิดอาการง่วงเหงาหาวนอน คือ การใช้เวลาวงจรชีวิตผิด ซึ่งวงจรชีวิตของคนโดยปกติทั่วไป ต้องตื่นกลางวัน นอนหลับในเวลากลางคืน
ปัจจุบันพบว่าคนมีพฤติกรรมที่เข้าบ่ายในกลุ่มโรคร่าเริงกันมากขึ้น เนื่องจากในช่วงเวลากลางคืน เป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างเงียบ เหมาะกับการคิดงานหรือทำงาน บางคนก็เลือกที่จะทำงานในช่วงเวลากลางคืนแทน แต่ปัญหาคือเมื่อทำงานในช่วงเวลากลางคืน วงจรชีวิตแบบปกติก็จะเปลี่ยนไป เพราะร่างกายของคนเรามีการหลั่งฮอร์โมนตามนาฬิกาชีวิต คือ เมื่อถึงเวลานอนอวัยวะบางอย่างที่ต้องทำงานตามช่วงเวลา และหลั่งฮอร์โมนออกมาเพื่อฟื้นฟูร่างกาย หรือช่วงเวลาที่ร่างกายควรจะได้รับการพักผ่อน จะมีการหลั่งฮอร์โมนกลุ่มหนึ่งออกมา เพื่อช่วยซ่อมแซมและชาร์จพลังให้กับร่างกาย เตรียมพร้อมรับมือกับวันต่อไป แต่หากเราใช้ช่วงเวลาวงจรชีวิตที่ผิดไปจากปกติ ก็จะทำให้ฮอร์โมนผิดเพี้ยนไปด้วย นั่นจึงเป็นสาเหตุให้มนุษย์ร่าเริง มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของมนุษย์ร่าเริง
1.ตื่นเช้าไม่ค่อยไหว เมื่อต้องทำงานในตอนกลางคืน ก็จะตื่นเช้าไม่ค่อยไหว
2.ลำไส้มีการทำงานที่ผิดเพี้ยนไป ร่างกายของคนเรา ถ้าตื่นมาในตอนเช้าลำไส้จะต้องมีการทำงาน แต่หากตื่นสายผิดช่วงเวลาไป ช่วงเวลาที่ต้องมีการกระตุ้นลำไส้ ก็จะไม่ได้ทำ แถมมนุษย์ร่าเริงก็จะข้ามอาหารในมื้อเช้าไปรวมเป็นมื้อเที่ยง ร่างกายคนเราจะมีผลสะท้อนกลับ เพราะการรับประทานอาหารในมื้อเช้าจะเป็นการไปกระตุ้นลำไส้ให้เกิดการขับถ่าย ถ้าผ่านช่วงเวลาที่ลำไส้ควรได้รับการกระตุ้นไปแล้ว และไม่ได้รับประทานอาหารมื้อเช้า ก็จะส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก มีปัญหาในเรื่องของการขับถ่าย
3.โกรทฮอร์โมนไม่หลั่งส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว ช่วงเวลา 22.00-02.00 น. เป็นช่วงเวลาที่โกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในขณะที่เราหลับ เพื่อฟื้นฟูร่างกายมนุษย์ร่าเริง ที่อดหลับอดนอนในช่วงเวลาที่โกรทฮอร์โมนจะต้องทำงาน จะทำให้โกรทฮอร์โมนไม่หลั่ง เพราะโกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยซ่อมเซลล์ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
นอกจากนี้ยังพบอีกด้วยว่า ฮอร์โมนที่หลั่งในช่วงเวลานี้ จะช่วยควบคุมในเรื่องของความเครียด หากนอนดึกหรืออดนอนในช่วงเวลาดังกล่าว ก็จะทำให้ผิวพรรณดูโทรมไม่สดใส การเผาผลาญพลังงานน้อยลง เพราะฮอร์โมนทำงานได้ไม่เต็มที่ เกิดความอยากในการรับประทานของหวานเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้อ้วนง่ายขึ้นตามไปด้วย
4.กลางคืนหลับไม่สนิท กลางวันง่วงเหงาหาวนอน ไม่สดชื่น เมื่อไม่นอนในช่วงเวลาของการนอนหลับตามปกติ ฮอร์โมนที่ควรจะหลั่งออกมาก็หลั่งได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดอาการนอนหลับไม่สนิท หรือบางคนอาจจะได้นอนหลับบ้าง แต่ก็นอนหลับไม่สินทเหมือนในช่วงเวลาปกติ เมื่อตื่นมาก็จะยังรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนอยู่ และอาจจะรู้สึกง่วงนอนไปตลอดทั้งวัน ยิ่งเหมือนทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง และร่างกายไม่สดชื่น กระปรี้กระเปร่า
5.กลายเป็นคนติดกาแฟไปโดยอัตโนมัติ เมื่อรู้สึกง่วงในตอนกลางวัน มนุษย์ร่าเริงก็จะหันหน้าไปพึ่งกาแฟ เพื่อต้องการกระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัว ซึ่งในระยะยาวนั้น ก็จะยิ่งทำให้กลายเป็นคนเสพติดกาแฟไปอีก
6.ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมเกิดผลกระทบกับร่างกายในระยะยาว ถ้าปล่อยไปแบบนี้ในระยะยาว มีผลกับการเกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้ เพราะฮอร์โมนมันเพี้ยน ไม่ว่าปัญหาจากเรื่องประจำเดือน เรื่องของสมดุลฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไป น้ำหนักตัว รวมไปถึงกลุ่มโรคในการเผาผลาญอาหาร (Metabolic Disorders) เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ก็สามารถเกิดตามมาจากผลพวงของอาการร่าเริงไม่ถูกเวลาได้
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : infographic.in.th, ch7.com