วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดน ตะขาบกัด ได้ผลดีจริงๆ หายเร็วด้วย แชร์เก็บไว้เลย.. เผื่อได้ใช้

0

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดน ตะขาบกัด ได้ผลดีจริงๆ หายเร็วด้วย แชร์เก็บไว้เลย.. เผื่อได้ใช้

ตะขาบ เป็นสัตว์ที่หลายๆ คนกลัว แต่หลายๆคนก็หลงใหลในความสวยงามของสีสันและความลี้ลับของมัน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักมัน วันนี้เรามาลองทำความรู้จักกับตะขาบกันเถอะ

ตะขาบ (Centipede) จัดอยู่ในไฟลั่มอาร์โธพอด หรือสัตว์ขาข้อ อยู่ในชั้น Chilopoda เป็นสัตว์บกพบว่ามีถิ่นอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายทั้งในเขตป่าร้อนชื้น, ทะเลทราย จนถึงเขตขั้วโลก

Centipede มาจากภาษาละตินคำว่า Centi ที่แปลว่า 100 กับคำว่า pes, pedis ที่แปลว่า เท้า เมื่อรวมกันจึงหมายถึง “100 เท้า”หรือเรียกให้สุภาพไปอีก คือ “100 บาทา”นั่นเอง

ลักษณะโดยทั่วไป

ตะขาบเป็นสัตว์ที่มีลำตัวเป็นปล้องๆ แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ จำนวนปล้องมีตั้งแต่ 15-150 ปล้อง จำนวนขาจึงมีถึง 30-300 ขา ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า Centipede จำนวนคู่ของขาตะขาบจะเป็นจำนวนคี่ เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการจำแนกชนิดของตะขาบ ตะขาบมีส่วนหัวที่กลมและแบน มีหนวด 1 คู่ทำหน้าที่เป็นเหมือนเสาอากาศตรวจจับความเคลื่อนไหวและแรงสั่นสะเทือน ตะขาบมีการมองเห็นที่ไม่ดีนักบางชนิดมองไม่เห็นเลย มีขากรรไกรล่าง 1 คู่ และมีส่วนขากรรไกรบนหรือเขี้ยว 1 คู่ยื่นพ้นปากออกมา เขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ เมื่อกัดเหยื่อจะปล่อยพิษออกมา ทำให้เหยื่อเจ็บปวด เป็นอัมพาตหรือตายได้ ต่อจากส่วนหัวเป็นส่วนปล้องของลำตัว 15 ปล้องหรือมากกว่านั้น แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ 2ปล้องสุดท้ายจะมีขนาดเล็กและมีขาที่เล็กด้วย ถึงแม้มันจะมีขาเยอะแต่การเคลื่อนที่ของขาก็สัมพันธ์กัน ทำให้ตะขาบมีการเคลื่อนที่และเปลี่ยนทิศทางได้รวดเร็วมาก ด้านข้างของลำตัวในแต่ละปล้องจะมีรูเปิดใช้ในการตรวจจับความสั่นสะเทือนและตรวจจับความเคลื่อนไหวรอบๆตัว ปล้องสุดท้ายประกอบด้วยหางซึ่งเปลี่ยนรูปมาจากขาคู่สุดท้าย บางครั้งก็เรียกว่า “ขาคู่สุดท้าย”ยื่นออกไปทางด้านหลัง ในตะขาบบางชนิดจะมีส่วนของอวัยวะตรวจจับความสั่นสะเทือนอยู่ด้วย ปล้องสุดท้ายนี้ยังมีส่วนของอวัยวะเพศของตะขาบอยู่ด้วย

อาการเบื้องต้นหากโดนพิษของตะขาบ

  • พิษของตะขาบมีสารที่ทำให้เกิดการอักเสบรุนแรง จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน บวมแดง อักเสบ ซึ่งหากมีอาการอักเสบมากๆจะทำให้เลือดไม่ไปหล่อเลี้ยงบริเวณนั้น ส่งผลให้เนื้อตาย อาจต้องตัดทิ้ง
  • โดยปกติตะขาบจะหนีคนมากกว่า จะกัดคนก็เพราะตกใจหรือป้องกันตัว เมื่อถูกกัดจะพบรอยเขี้ยว 2 รอย ลักษณะเป็นจุดเลือดออกตรงบริเวณที่ถูกกัด พิษของตะขาบทำให้มีการอักเสบ ปวดบวม แดงร้อน ชา เกิดอัมพาตตรงบริเวณที่ถูกกัด อาจเป็นแผลไหม้อยู่ 2-3 วัน

วิธีแก้พิษจากตะขาบกัดด้วยสมุนไพร

เริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดบาดแผลให้สะอาด จากนั้นจึงทานยาแก้ปวดตามเพื่อระงับอาการปวด แล้วจึงทำการรักษาด้วยสมุนไพร ซึ่งสมุนไพรที่นิยมนำมารักษามีดังนี้

1. ตะขาบบิน นำใบสดมาตำให้ละเอียด ผสมกับเหล้าหรือน้ำซาวข้าว จากนั้นกรองแยกน้ำกับกาก แล้วจึงนำน้ำมาทาบริเวณแผล นำกากที่เหลือมาพอกแผลทิ้งไว้ จะช่วยแก้พิษตะขาบและช่วยลดอาการบวมได้อีกด้วย

2. ตำลึง นำใบตำลึงมาตำให้ละเอียด แล้วนำไปผสมเหล้าขาว จากนั้นนำไปพอกแผลทิ้งไว้จะช่วยถอนพิษตะขาบได้อย่างดีเลยทีเดียว

3. ขิงแก่ นำขิงแก่มาตำให้ละเอียด จากนั้นนำไปผสมกับเหล้าขาว แล้วนำไปพอกทิ้งไว้บริเวณที่ถูกตะขาบกัด สามารถถอนพิษตะขาบและช่วยบรรเทาอาการปวดได้

วิธีการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น

1. ทำการล้างแผลด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำยาล้างแผล และประคบด้วยน้ำแข็ง

2. อาจใช้แก้ปวดรับประทาน โดยควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ในการกดประสาทรุนแรง

3. หากได้รับพิษมากหรือมีอาการปวดรุนแรง ให้รีบนำส่งแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

นอกจากนั้น มีรายงานการใช้สมุนไพรบางชนิดในการลดพิษ เช่น รางจืด น้ำมะนาว และยางมะละกอดิบที่สามารถลดพิษ และอาการปวดของพิษตะขาบได้

– สำหรับรางจืดอาจใช้ใบหรือลำต้นบดหรือฝนให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยประคบบาดแผล รวมถึงการต้มน้ำด่ืม ส่วนน้ำมะนาวควรใช้มะนาวพันธุ์ที่ให้รสเปรี้ยวจัด เพราะฤทธิ์ของกรดจะสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะของสารพิษได้

– ส่วนยางมะละกอเป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นเอนไซม์สามารถทำปฏิกิริยากับพิษได้เช่นกันจึงนิยมนำมาถอน และบรรเทาอาการของพิษต่างๆ สำหรับการใช้ทั้งน้ำมะนาว และน้ำยางมะละกอให้ใช้ทาบริเวณแผลโดยตรงเท่านั้น

– การป้องกันพิษตะขาบ หลักการป้องกันพิษจากตะขาบที่สำคัญก็คือการระมัดระวังตัวจากตะขายนั่นเอง โดยเฉพาะการหยิบจับสิ่งของที่อยู่ในที่มิดมืด ในร่องในรูต่างๆ ที่อาจมีตะขาบอาศัยอยู่ รวมไปถึงการสวมใส่เสื้อผ้า รองเท้า หมวกหรือเครื่องสวมใส่ร่างกายต่างๆ ซึ่งต้องตรวจสอบก่อนทุกครั้งหากจะสวมใส่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์สวมใส่ที่เก็บทิ้งไว้นานๆ

ในช่วงหน้าฝนหรือพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรต้องระวังในเรื่องสัตว์ที่มีพิษเป็นพิเศษ เพราะหากฝนตกหนักมักจะทำให้สัตว์มีพิษเหล่านี้หนีน้ำขึ้นหาที่สูงเพื่อหลบอาศัย โดยเฉพาะตามบ้านเรือนไกล้น้ำ ซึ่งจำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวัง และสอดส่องเป็นพิเศษ

พิษแมงป่อง และการแก้พิษ

แมงป่อง (Scorpion ) จัดเป็นสัตว์มีพิษ ที่มีมากกว่า 1,000 ชนิด (species) สามารถพบได้ในทุกประเทศทั่วโลก แมงป่องเป็นสัตว์ที่หากินในตอนกลางคืน ส่วนกลางวันมักจะหลบซ่อนในที่มิดชิด เช่น ใต้กองไม้หรือตามรูในดิน การล่าของแมงป่องจะใช้ก้ามทั้งสองข้างในการจับเหยื่อ และคอยต่อสู้กับศัตรู โดยมีส่วนปลายของหางมีลักษณะคล้ายเข็ม ภายในจะมีรูเชื่อมต่อกับต่อมพิษไว้ป้องกันตนเองและล่าเหยื่อ โดยพิษจะถูกขับออกมาสู่เหยื่อขณะที่มีการใช้ปลายหางทิ่มแทงเหยื่อ การต่อยของแมงป่องในคนเราโดยส่วนมากจะมีแค่อาการปวดบริเวณที่ถูกต่อยเท่า นั้นไม่ถือเป็นพิษอันตรายมาก

อาการของพิษ

พิษของแมงป่องมีทั้งแบบที่เป็นเอนไซม์ เช่น phospholipase A2, phosphoesterases, hyaluronidase มีผลในการทำในการทำลายเนื้อเยื่อ พิษแบบ neurotoxin มีฤทธิ์ต่อระบบประสาททำให้รู้สึกปวดชาในบริเวณที่ถูกต่อย แต่อาจมีอาการปวดมากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของพิษ โดยมีอาการโดยทั่วไป แบ่งตามระดับความรุนแรง ดังนี้

1. เกิดแผล บวมพองหรือเป็นตุ่มแดงบริเวณที่ถูกต่อย พร้อมกับอาการคัน ปวดตามมาหลังการต่อยครึ่งถึง1 ชั่วโมง

2. บางชนิดมีพิษที่รุนแรงเพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดอาการปวดแสบไปทั่วอวัยวะข้าง เคียงบริเวณจุดที่ต่อย ร่วมด้วยมีชีพจรเต้นเร็ว และความดันโลหิตสูงขึ้น

3. มีอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น กระกระตุก การชา เป็นต้น

4. ในส่วนของพิษแมงป่องชนิดร้ายแรงจะมีลักษณะแผลที่ถูกต่อยเหมือนข้างต้น ตามมาด้วยระบบการทำงานของร่างกายมีความผิดปกติ อาจมีอาการชัก และเสียชีวิตตามมาหากรักษาไม่ทัน เช่น ในสายพันธุ์ Centruroides exilicauda ในสหรัฐอเมริก

การรักษาเบื้องต้น

– สำหรับผู้ป่วยที่ถูกต่อยด้วยพิษในระดับ 1 และ2 จะสามารถหายเองในเวลาไม่กี่ชั่วโมงแต่มักมีอาการปวดที่ต้องรักษา โดยการใช้น้ำแข็งประคบ การกินยาแก้ปวด โดยหลีกเลี่ยงยาชนิด morphinederivatives ที่มีผลกดระบบประสาทส่วนกลาง

– สำหรับผู้ที่ได้รับพิษรุนแรงในระดับ 3-4 ซึ่งจะมีอาการอย่างเห็นได้ชัดใน 5-6 ชั่วโมงหลังถูกต่อย โดยให้ทำการประถมพยาบาลที่แผลโดยทั่วไป และให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

– ในบางท้องที่มีการใช้สมุนไพรเพื่อระงับอาการปวดได้ด้วย อาทิภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้น้ำมะนาวทาแผลเพื่อลดอาการปวด การใช้ใบมะละกอขยี้ทาประคบแผล รวมถึงการใช้รางจืดบดขี้หรือตำผสมน้ำประคบรอยแผล ซึ่งพบว่ามีผู้ได้รับพิษที่ใช้สมุนไพรดังกล่าวมีอาการปวดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

เพิ่มเติมสำหรับสมุนไพรแก้พิษ

ใช้ผงชูรสผสมน้ำมะนาว
หากคุณโดนตะขาบกัดให้เอาน้ำมะนาวกับผงชูรสมาผสมกัน แล้วเอามาทาตรงแผลที่โดนกัดเลยครับ ซักพักอาการปวดที่เป็นอยู่ก็จะหายไปอย่างง่ายดาย และวิธีนี้ยังสามารถใช้ได้ในกรณีที่โดนผึ้งต่อย ต่อต่อย และแตนต่อยได้อีกด้วย

ลดความปวดด้วยน้ำส้มสายชู
น้ำส้มสายชูธรรมดาที่เราใช้กันในครัว สามารถช่วยแก้ตะขาบกัดได้ โดยให้เทน้ำส้มสายชูใส่ในถ้วยหรือแก้ว แล้วจุ่มแผลที่โดนตะขาบกัดลงไปแช่ หรือหากโดนกัดเท้าหรือส่วนอื่นที่ไม่สามารถเอาไปแช่ได้ ก็เอาน้ำส้มสายชูเทราดลงไปที่รอยโดนกัดเลยครับ ก็จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้เช่นกัน

ใช้พริกขี้หนูแห้ง + น้ำมะนาว
เราสามารถบรรเทาอาการปวดจากพิษของตะขาบได้ โดยให้เอาพริกขี้หนูแห้งมาบดหรือตำให้ละเอียด แล้วเอาไปผสมกับน้ำมะนาว จากนั้นเอาไปทาตรงรอยที่โดนตะขาบกัดได้เลย วิธีนี้สามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากพิษตะขาบให้กับคุณได้

ใช้ใบตำลึง
ให้เอาใบตำลึงที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป เอามาล้างให้สะอาด แล้วเอามาขยี้ให้ละเอียดนิดหน่อย นำไปพอกไว้ตรงจุดที่โดนตะขาบกัดได้เลย คุณจะรู้สึกเย็นมากขึ้น และอาการปวดบวมที่เป็นอยู่ก็จะลดลงด้วย ให้เปลี่ยนใบตำลึงที่พอกใหม่ทุกๆ 15 นาทีนะ

ว่านโลดทะนงแดงรักษาตะขาบกัด
ให้เพื่อนๆ เอาว่านโลดทะนงแดงมาฝนกับก้อนหินฝนยา เมื่อได้แล้วก็เอามาทาตรงรอยตะขาบกัดได้เลย ว่านโลดทะนงแดงจะสามารถช่วยรักษาตะขาบกัดให้หายอย่างได้ผล

ใช้ขิงแก่ผสมเหล้าขาว
วิธีการทำก็คือให้เพื่อนๆ เอาขิงแก่มาปอกเปลือกและล้างให้สะอาด จากนั้นก็เอามาบดให้ละเอียด นำมาผสมกับเหล้าขาวแล้วเอาไปพอกไว้ตรงแผลตะขาบกัดได้เลย จะเป็นการช่วยรักษาอาการของพิษตะขาบ และลดความเจ็บปวดลงได้มาก

ใช้ว่านตะขาบบิน
ให้เอาใบสดหรือลำต้นของว่านตะขาบบินมาล้างให้สะอาด จากนั้นเอาไปตำผสมกันเหล้าขาวหรือน้ำซาวข้าวก็ได้ เมื่อตำจนละเอียดดีแล้วก็เอามาคั้นเอาน้ำออกมา แล้วเอามาทาตรงจุดที่ตะขาบกัดได้เลย กากที่เหลือจากการคั้นอย่าเพิ่งเอาทิ้งนะ ให้เอามาพอกแผลตะขาบกัดด้วยก็ได้ จะช่วยแก้พิษตะขาบได้เป็นอย่างดี

ทาแผลด้วยน้ำมะนาว
วิธีนี้ก็ง่ายๆ คือให้เอาน้ำมะนาวสดๆ มาทาลงไปบนรอยที่โดนตะขาบกัด ก็จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดลงได้ หรืออาจจะเอาผลมะนาวสดๆ มาผ่าครึ่ง เอาเมล็ดมะนาวออกให้หมดแล้วเอาปูนที่กินกับหมาก ทาลงไปที่หน้ารอยผ่าของมะนาว แล้วเอามะนาวนี้ไปปิดปากแผลเอาไว้ เพียงไม่นานคุณจะรู้สึกว่าความเจ็บปวด และอาการจากพิษจะเริ่มลดลงและหายไป

ใช้หอมแดง
ต้องบอกเอาไว้ก่อนว่าวิธีนี้บางคนใช้ได้ผล บางคนใช้ไม่ได้ผล อันนี้ก็แล้วแต่สภาพร่างกายของแต่ละบุคคลอีกที ส่วนวิธีการนั้นก็แค่เอาหัวหอมแดงมาผ่าครึ่ง แล้วเอาไปวางไว้ตรงรอยตะขาบกัดได้เลย วางไว้อย่างนั้นสัก 15 – 20 นาที ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นก็จะลดลง

ยางมะละกอก็ช่วยได้
หลังจากที่โดนตะขาบกัดแล้ว ให้เอายางมะละกอสดๆ มาทาลงไปที่รอยกัดเลย วิธีนี้จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และลดอาการที่เกิดจากพิษตะขาบลงได้เหมือนกัน เป็นภูมิปัญญาโบราณที่มีการใช้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันในหลายๆ ท้องถิ่น

สูตรมะขามเปียก + หัวหอมแดง
ให้เอามะขามเปียกกับหัวหอมแดงมาตำให้เข้ากันจนละเอียด จากนั้นก็เอาไปทาตรงรอยตะขาบกัด อาการปวดก็จะหายไปอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่มีหัวหอมแดงก็เอาเฉพาะมะขามเปียกก็ได้

เสลดพังพอน + เหล้าขาว
เพียงแค่เพื่อนๆ เอาใบเสลดพังพอนสดๆ มาล้างให้สะอาด แล้วเอามาตำผสมกับเหล้าขาวให้ละเอียด เมื่อได้แล้วก็เอามาพอกตรงที่ถูกตะขาบกัดได้เลย อาการปวดจะหายไปภายในไม่กี่ชั่วโมง

ใช้ว่านรางจืด
ให้เอารางจืดมาเคี้ยวกินน้ำเข้าไป แล้วคายกากรางจืดเอามาพอกไว้ตรงรอยโดนกัด แค่ไม่กี่ชั่วโมงอาการปวดก็จะหาย วิธีนี้ยังสามารถใช้ได้ในกรณีที่โดนแมงป่องต่อยได้อีกด้วย

หากเพื่อนๆ ใช้รักษาด้วยสมุนไพร หรือวิธีข้างต้นที่กล่าวไปแล้วไม่ได้ผล อาการเริ่มรุนแรงขึ้น มีอาการแพ้ เริ่มมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ให้รีบพาไปโรงพยาบาลเลยนะ เพราะว่าคนเรามีความต้านทานที่ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะแพ้พิษตะขาบอย่างรุนแรงก็ได้ แม้ว่าส่วนมากพิษของตะขาบจะไม่รุนแรงเท่าไหร่นัก แต่ยกเว้นกับคนที่แพ้พิษ ยังไงก็ควรดูแลอย่างใกล้ชิด อันที่จริงแล้วมีวิธีแก้พิษตะขาบอีกหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยางพิษของคางคกมาทา ใช้น้ำลายไก่ หรือใช้ขี้ของตะขาบ ว่ากันว่าชาวเขาหรือคนเดินป่าเค้าใช้กัน แต่ดูแล้วมันเป็นวิธีที่ไม่ค่อยสะอาด และเสี่ยงต่อการแทรกซ้อนจากเชื้อโรคได้ เราเลยไม่อยากจะแนะนำ ฉะนั้นอันดับแรกหากถูกตะขาบกัด ให้ตั้งสติเอาไว้อย่ากลัวเกินไป รีบล้างแผลให้สะอาด แล้วปฐมพยาบาลจากวัตถุดิบที่อยู่ใกล้ตัว แรกๆ อาจจะปวดบ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วคนที่โดนตะขาบกัดก็จะหายจากอาการภายในไม่กี่วัน ใครที่โดนตะขาบกัดแอดมินก็ขอให้หายไวๆครับ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : thaihealthlife.com/พิษแมงป่อง/ , www.tipsza.com/ตะขาบกัด/

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่