เพียงดื่มน้ำกระเจี๊ยบสูตรนี้.. เบาหวาน คอเลสเตอรอล และโรคไต ก็หายได้
สมุนไพรกระเจี๊ยบเขียว ยังมีชื่อท้องถิ่นอีก เช่น กระต้าด (สมุทรปราการ), กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือ มะเขือมอญ มะเขือทะวาย ทวาย (ภาคกลาง), มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ มะเขือขื่น มะเขือมื่น (ภาคเหนือ), ถั่วเละ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น และสำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่มีการปลูกกระเจี๊ยบเขียวกันมากที่สุดส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในภาคกลาง เช่น นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี นครนายก ราชบุรี ระยอง พิจิตร สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และกาญจนบุรี
การบริโภคกระเจี๊ยบเขียวให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย รวมถึง
– ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
– ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
– ช่วยลดระดับน้ำตาลโดยผ่านการบริโภคโดยตรง
– บรรเทาอาการโรคหอบหืด
– ป้องกันการเกิดโรคไต
เราจะนำเสนอสูตรน้ำกระเจี๊ยบซึ่งจะช่วยให้เกิดความสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างเป็นธรรมชาติ
ส่วนผสม
1. กระเจี๊ยบเขียวสด 4 ฝัก
2. น้ำหนึ่งถ้วย
วิธีทำ
คุณควรตัดหัวและหางของกระเจี๊ยบและใส่ลงไปในน้ำ แช่ทิ้งไว้ตลอดทั้งคืน
วิธีใช้
คุณควรดื่มเครื่องดื่มนี้ในขณะท้องว่าง ก่อนมื้อเช้า 30 นาที มันจะให้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็วจนทำให้คุณประหลาดใจ
สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว
- ฝักกระเจี๊ยบเขียวมีเส้นใยอยู่มาก จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้ โดยช่วยรักษาระดับการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ใหญ่ให้คงที่ กระเจี๊ยบเขียวจึงเป็นผักที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ผล)
- ใช้เป็นยาบำรุงสมอง (ผล)
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต รักษาความดันให้เป็นปกติ (ผล)
- ผลช่วยแก้อาการหวัด รักษาหวัด (ผล)
- ช่วยป้องกันอาการหลอดเลือดตีบตัน (ผล)
- ใบช่วยขับเหงื่อ (ใบ)
- ใบกระเจี๊ยบช่วยแก้โรคปากนกกระจอก (ใบ)
- เส้นใยของกระเจี๊ยบยังช่วยกำจัดไขมันปริมาณสูงที่น้ำดี ซึ่งจะช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลได้ คล้ายกับการกินยาลดไขมันและคอเลสเตอรอล (สแตติน) (ผล)
- ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายและช่วยลดคอเลสเตอรอล โดยเส้นใยของกระเจี๊ยบเป็นตัวช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ โดยการจับกับน้ำดี ซึ่งมักจับสารพิษที่ร่างกายต้องการขับถ่ายที่ถูกส่งมาจากตับ และสารเมือกในฝักยังช่วยจับสารพิษเหล่านี้ ซึ่งการจับกับน้ำดีนี้จะเกิดในลำไส้และขับออกมาทางอุจจาระ ทำให้ไม่เหลือสารพิษตกค้างอยู่ในลำไส้ (ผล)
- ผักกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ผล)
- การรับประทานฝักกระเจี๊ยบเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร เยื่อบุกระเพาะและลำไส้อักเสบ ช่วยในการทำงานของระบบขับถ่าย จึงช่วยในการขับถ่าย ทำให้ถ่ายอุจจาระได้คล่อง ช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี และช่วยในการทำงานของระบบดูดซีมสารอาหาร ช่วยสนับสนุนการขยายพันธุ์ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (โพรไบโอติกแบคทีเรีย) ช่วยลดความเสี่ยงของโรคแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่ (ผล)
- ในฝักกระเจี๊ยบเขียวจะมีสารที่เป็นเมือกจำพวกเพกทิน (Pectin) และกัม (Gum) ที่มีคุณสมบัติช่วยในการเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ โดยป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลามของแผลได้เป็นอย่างดี (ได้ผลดีเท่า ๆ กับยา Misoprotol) และยังช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (ผล)
- เมือกลื่นในฝักกระเจี๊ยบ ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะไม่เกิดการระคายเคือง ช่วยทำให้อาหารถูกย่อยในลำไส้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น (ผล)
- ช่วยแก้บิด ด้วยการใช้ผลแก่นำมาบดเป็นผงใช้ผสมกับน้ำดื่มแก้อาการ (ผล)
- ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องของโรคกระเพาะ หรือในผู้ป่วยที่เยื่อบุกระเพาะและลำไส้อักเสบ (ผล)
- ช่วยแก้อาการกรดไหลย้อนกลับ ด้วยการนำฝักกระเจี๊ยบมาต้มในน้ำเกลือแล้วใช้กินแก้อาการ (ผล)
- ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด (สาเหตุมาจากการได้รับตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ในเนื้อดิบ เช่น หมู เป็ด ไก่ กบ กุ้ง เนื้อปลา เป็นต้น) ด้วยการรับประทานฝักกระเจี๊ยบติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วัน แต่สำหรับบางรายต้องรับประทานเป็นเดือนจึงจะหาย (ผล)
- ช่วยแก้อาการขัดเบา (ในอินเดีย) (ผล)
- ในตำรายาแผนโบราณของจีน มีการนำราก เมล็ด และดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนในประเทศอินเดียนั้นจะใช้ฝักนำมาต้มกับน้ำดื่มเพื่อช่วยขับปัสสาวะเมื่อมีอาการกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือเมื่อปัสสาวะขัด (ผล, ราก, เมล็ด, ดอก)
- ในอินเดียใช้ผลกระเจี๊ยบเป็นยารักษาโรคหนองใน (ผล)
- รากนำมาต้มน้ำเพื่อใช้รักษาโรคซิฟิลิส (Syphilis) (ราก)
- การรับประทานฝักกระเจี๊ยบเป็นประจำสามารถช่วยบำรุงตับได้ (ผล)
- ดอกกระเจี๊ยบสามารถนำมาตำใช้พอกรักษาฝีได้ (ดอก)
- ในเนปาลนำน้ำคั้นจากรากมาใช้เพื่อล้างแผลและแผลพุพอง (ราก)
- ยางจากผลสดใช้เป็นยารักษาแผลสดเมื่อถูกของมีคมบาด หรือใช้ยางกระเจี๊ยบทาแผล จะช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น และไม่ทำให้เกิดแผลเป็น (ยางจากผล)
- ในอินเดียมีการใช้เมล็ดนำมาบดผสมกับนม ใช้ทาผิวหนังเพื่อแก้อาการคัน (เมล็ด)
- ใบกระเจี๊ยบใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น นำมาประคบเพื่อลดอาการอักเสบปวดบวมได้ และช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นไม่แตกแห้ง (ใบ)
- ใช้เป็นยาบำรุงข้อกระดูก โดยมีการเล่ากันว่าชาวชุมชนมุสลิมทางภาคใต้สมัยก่อน จะนิยมกินผักที่เป็นเมือก เช่น ผักกูด และกระเจี๊ยบเขียว เพื่อช่วยเพิ่มไขมันหรือเมือกให้ข้อกระดูก โดยเชื่อว่าจะทำให้หัวเข่าหรือข้อต่อกระดูกมีน้ำเมือกมากขึ้น ทำให้ไม่เกิดการบาดเจ็บและช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น เสมือนเป็นน้ำหล่อเลี้ยง (ผล)
- ผลกระเจี๊ยบมีเมือกลื่นที่ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นไม่แห้งแตก บางคนจึงนิยมนำผลอ่อนมาพอกผิวเมื่อมีอาการแสบร้อน (ผล)
- การรับประทานกระเจี๊ยบเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์และช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง เนื่องจากมีโฟเลตสูง โดยฝักแห้ง 40 ฝักจะเทียบเท่ากับปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (ผล)
แหล่งอ้างอิง : นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 232 (เดชา ศิริภัทร) และเล่มที่ 347 (รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ), เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, รายการสาระความรู้ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, healthyfoodhouse