โรคเกาต์รักษาหายได้ ด้วยมะเฟืองเปรี้ยวสุก จริงหรือ?

0

โรคเกาต์รักษาหายได้ ด้วยมะเฟืองเปรี้ยวสุก จริงหรือ?

เกาต์ หรือ เก๊าท์ (Gout) เป็นโรคปวดข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง (พบได้ประมาณ 2-4 คน ใน 1,000 คน) จัดเป็นโรคของผู้ใหญ่ในวัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยอายุ 40-60 ปี จะพบโรคนี้ได้ประมาณ 2% และอายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบได้ประมาณ 4% สังเกตได้ว่ายิ่งอายุมากขึ้นโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็มากขึ้นตามไปด้วย มักพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนในผู้หญิงจะพบได้น้อย หรือถ้าพบก็มักจะเป็นผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว (มักเริ่มเป็นเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป) โดยทั่วไปมักเกิดกับข้อเพียงข้อเดียว ในบางครั้งอาจเกิดกับหลายข้อได้พร้อมๆ กันก็ได้ แต่ข้อที่พบได้บ่อยมากที่สุดคือ นิ้วหัวแม่เท้า (อ่านให้จบ เพราะมีคนเข้าใจผิดหลายคน)

เมื่อเป็นแล้วจะทรมานมาก เวลากินอาหารแสลงเข้าไป ข้อเท้าจะบวมฉึ่งเจ็บปวดมากจนเดินไม่ได้ ในทางสมุนไพรมีสูตรรักษาหลายสูตร เคยแนะนำไปบ้างแล้ว สามารถบรรเทาได้ระดับหนึ่ง (อ่านให้จบ เพราะมีคนเข้าใจผิดหลายคน)

สำหรับมะเฟืองเปรี้ยวสุก เป็นอีกสูตรหนึ่งที่นิยมใช้กันมาแต่โบราณ เป็นสูตรเฉพาะกลุ่ม ได้รับการบอกเล่าจากผู้ใจดีว่าสามารถทำให้โรคเกาต์หายขาดได้ จึงรีบแนะนำผู้อ่านให้นำไปใช้ (มีคนแชร์เยอะ และบอกมาว่ารักษาได้จริง?)

แต่ความจริงไม่ใช่เลยนะครับ อ่านต่อครับ

X โดยมีวิธีทำง่าย ๆ คือ (อ่านให้จบ เพราะมีคนเข้าใจผิดหลายคน อันนี้คือวิธีที่มีคนแชร์ต่อไปเยอะมาก)

  1. ให้เอาผลมะเฟืองเปรี้ยวสุก จำนวน 1 ผล
  2. ใส่เกลือป่นเล็กน้อย
  3. น้ำผึ้งแท้ 1 ช้อนโต๊ะ
  4. น้ำต้มสุกกะให้ได้ 2 แก้วต่อวัน
  5. ปั่นให้เข้ากันจนละเอียด
  6. กินครั้งละเกือบเต็มแก้วเช้าเย็นก่อนอาหาร
  7. ทำกินติดต่อกัน 6 วัน

วิธีที่กล่าวมาข้างต้น เป็นวิธีที่ไม่สามารถรักษาได้ เนื่องจากมีหลายคนเข้าใจผิด และทำการเขียนบทความ ทำให้สื่อต่างๆ พากันแชร์ไปเยอะมาก ทางเราเลยอยากนำเสนอในส่วนนี้ ดูที่ยูทูปได้เลยครับ

สรุปอยู่ตรงนี้นะครับ (อ่านให้จบ เพราะมีคนเข้าใจผิดหลายคน)

คำแนะนำเกี่ยวกับโรคเกาต์

  • เมื่อมีอาการผิดปกติของข้อเกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรคว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ส่วนผู้ที่เป็นโรคเกาต์หรือเคยเป็นโรคเกาต์มาก่อน ควรไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ และควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรืออาการต่าง ๆ เลวร้ายลง หรือเมื่อมีความกังวลใจในอาการที่เกิดขึ้น
  • โรคเกาต์แม้จะเป็นโรคเรื้อรัง แต่ก็ไม่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต (ถ้าไม่ปล่อยให้เป็นเรื้อรังจนเกิดไตวาย) และหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรเข้ารับการรักษาอย่าได้ขาด กินยาตามที่แพทย์สั่งไปตลอดชีวิต ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และหมั่นตรวจเลือดอยู่เป็นระยะ ๆ
  • ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคเกาต์ ควรตรวจหาระดับของกรดยูริกในเลือดเป็นระยะ ๆ
  • โรคเกาต์เป็นโรคที่ไม่ค่อยเกิดในสัตว์ชนิดอื่น ๆ เนื่องจากพวกมันสามารถผลิตยูริเคสที่ช่วยย่อยสลายกรดยูริกได้เอง ส่วนมนุษย์และวงศ์ลิงใหญ่อื่น ๆ จะไม่มีความสามารถนี้ จึงมักพบโรคนี้ได้อยู่บ่อย ๆ

เอกสารอ้างอิง

  1. หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2.  “โรคเกาต์ (Gout)”.  (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ).  หน้า 823-826.
  2. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.  “โรคเกาต์”.  (ผศ.นพ.สุรศักดิ์  นิลกานุวงศ์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th.  [22มี.ค. 2016].
  3. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 310 คอลัมน์ : เรื่องน่ารู้.  “กินอย่างไรเมื่อเป็นโรคเกาต์”.  (ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th.  [22มี.ค. 2016].

อ้างอิง พระอธิการ นพดล กันตสีโล วัดหนองรั้ว

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่